ปาปัว นิวกินี......ผมว่าหลาย ๆ ท่านคงคุ้นหูกันมาบ้างกับชื่อประเทศนี้...ซึ่งฟังดูแปลกดี....ในดินแดนที่มี ความหลากหลายซึ่งเผ่าพันธุ์ ประชากร ภาษาพูดและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์จากเทือกเขาสูงป่าดงดิบถึงชายหาด และทรัพยากรใต้ทะเลที่ทรงคุณค่า....นี่คือความเต็มเปี่ยมซึ่ง...ปาปัว นิวกินีได้รับการจัดสรรมาจากบรรพกาล.....สู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน....
.....ปาปัว นิวกินี มีชื่อจริงอย่างเป็นทางการว่า.....รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี ( Independent State of Papua New Guinea ) ตั้งอยู่บนแผ่นดินฝั่งขวาของเกาะนิวกินี ทางด้านตะวันตกของภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ด้านซ้ายของประเทศติดกับส่วนเวสเทิร์น ปาปัว หรืออิเรียน จายา ของประเทศอินโดนีเซียครับ ห่างจากประเทศออสเตรเลียทางด้านใต้มาประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร....
.....ปาปัว นิวกินี เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะเล็ก เกาะน้อย เกาะใหญ่มากมายกว่า ๖๐๐ เกาะ มีพื้นที่รวม ๔ แสน ๕ หมื่นตารางกิโลเมตรเศษ...ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง และชายฝั่งทะเล...สภาพภูมิอากาศแถบนี้เป็นแบบเขตร้อนและอยู่ในเขตลม มรสุม.....
......ประชากรของประเทศประมาณ ๖ ล้านคน หลากหลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาวเมลานีเชียน ปาปัว เนกริด ไมโครนีเซียน และโปลินีเซียน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของทางราชการ แต่ก็มีภาษาอื่น ๆ อีกมากมายใช้กระจายตามทั่วทุกภูมิภาคกว่า ๘๐๐ ภาษาพูดที่สำคัญ ๆ เช่น อังกฤษพิดจินและภาษาโมตู....ศาสนานับถือคริสต์นิกายโรมันแคทอริกเป็นหลัก ที่เหลือลูเธอรัน โปรเตสแตนซ์ ที่เหลืออีกมากก็นับถือความเชื่อพื้นเมือง...
สภาพเศรษฐกิจ....
....ปาปัว นิวกินีเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ทรัพยากรทางทะเล ทองคำ ทองแดง น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ รายได้หลักของประเทศขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการประมง เหมืองทองแดง เหมืองทองคำ และการท่องเที่ยว ส่วนด้านเกษตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูกกาแฟ โกโก้ และมะพร้าว ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศนิวซีแลนด์ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ กาแฟ ทองแดง ซุง กาแฟ และสัตว์ทะเล ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนประกอบรถยนต์ อาหาร และเชื้อเพลิง
.....รัฐบาล ควบคุมสถานะการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจได้รับผลดีจากผลผลิตเหมืองแร่ที่เพิ่มขึ้น และราคาสินค้าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ ทอง น้ำมันดิบ ทองแท่ง เป็นผลให้การส่งออกในช่วงไตรมาสของปีขยายตัวร้อยละ ๑๔ เมื่อเทียบกับปีก่อน และคาดว่าในปีนี้ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลและเศรษฐกิจโดยรวมจะเติบโตในทิศ ทางที่ดี อย่างไรก็ตาม ในเดือน มี.ค. ๒๕๔๙ UN ได้เสนอปรับสถานะการพัฒนาของปาปัวนิวกินีจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศ พัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ซึ่งนายกรัฐมนตรี เซอร์ ไมเคิล โซมาเลปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว.....
.......รัฐบาลพยายามดึงดูดการลง ทุนจากต่างประเทศ ขยายการส่งออก (Export-led economy) แสวงหาความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย (look north) และมีบทบาทนำในกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก (Work Pacific) การลงนามความตกลงทางการค้ากับนิวซีแลนด์เมื่อเดือนมิ.ย. ๒๕๔๙ ทำให้ปาปัวนิวกินีส่งออกสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว เผือก ขิง ไปยังตลาดนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ ปาปัวนิวกินียังได้รับโควตาการส่งออกปลาทูน่าไปยังตลาด EU เพิ่มขึ้น ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าของเอเปคครั้งที่ ๑๒ ปาปัวนิวกินีตอบรับที่จะยกเลิกการอุดหนุนสินค้าส่งออกทั้งหมดภายในปี ๒๕๕๖....
ในภาพคือลักษณะของหน่วยเงินคีน่า....
การเมืองการปกครอง.....
....ระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยระบบรัฐสภาเดียว เรียกว่า “รัฐสภาแห่งชาติ” (National Parliament) ปัจจุบันมีสมาชิก ๑๐๙ คน โดย ๘๙ คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป (open electorates) และที่เหลืออีก ๒๐ คน มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด (provincial electorates) วาระ ๕ ปี...
....ประธานรัฐสภาคนปัจจุบันชื่อ ฯพณฯ เจฟฟรี นาเป...
....ประมุขแห่งรัฐ สมเด็จพระราชินีนาถ อลิซาเบ็ธที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร
.....ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เซอร์ พอลเลียส เอ็นกูนา มาเทน
.....หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรีเซอร์ ไมเคิล โธมัส โซมาเล ดำรงตำแหน่งมาแล้วทั้งสิ้น ๔ สมัย ( ในภาพ )
.....รูป แบบการปกครองของปาปัวนิวกินี แบ่งเป็น ๓ ระดับคือ ระดับชาติ (National) ระดับจังหวัด(Provincial) และระดับท้องถิ่น(Local) รัฐบาลท้องถิ่น (Provincial Government) ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง และรัฐบาลกลางสามารถแทรกแซงกิจการด้านการบริหาร การคลัง และอื่น ๆ ได้ เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่น ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะดำเนินการโดยอิสระ รัฐบาลมีนโยบายเน้นการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนชาวปาปัวนิวกินี และเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างชนเผ่าต่างๆ ของประเทศ โดยเน้นสร้างความภูมิใจในความเป็นชาวปาปัวนิวกินี ด้วยการแก้ไขปัญหาทางสังคมต่าง ๆ.....
....คณะรัฐมนตรี ประกอบไปด้วยกระทรวงทั้งหมด ๒๗ กระทรวง( เยอะกว่าเราอีก ).....
....เมืองหลวงของประเทศและที่ทำการรัฐบาล....กรุงพอร์ต มอเรสบี
ประวัติศาสตร์....นิดหน่อยครับ
....ประวัติศาสตร์ หลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า มนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนิวกินีมานานกว่า ๖๐,๐๐๐ ปี คาดว่าเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคน้ำแข็ง (Ice Age) ต่อมา ในช่วงศตวรรษที่ ๑๖ นักเดินเรือชาวโปรตุเกสและสเปนเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาในดินแดนแห่ง นี้ โดยระหว่างปี ๒๐๖๙-๒๐๗๐ ดอน ฮอร์เก เดอ เมเนเซส ชาวโปรตุเกสได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “ปาปัว” (Papua) ซึ่งเป็นภาษามาเล แปลว่า ผมหยิก ตามลักษณะเส้นผมของชนพื้นเมือง ต่อมาในปี ๒๐๘๘ ...แยนจิโอ ออร์ติซ เดอ เรอเตซ ชาวสเปนเรียกเกาะนี้ว่า “นิวกินี” (New Guinea) เนื่องจากเห็นว่า ชนพื้นเมืองมีความคล้ายคลึงกับชนพื้นเมืองในกินี (Guinea) ในแอฟริกา
..... ในปี ๒๔๒๗ เยอรมนีได้เข้ายึดภาคตะวันออกเหนือของเกาะ รวมทั้งเกาะโบเกนวิลล์ (Bogainville) และในปี ๒๔๓๑ สหราชอาณาจักรได้เข้ายึดครองในส่วนใต้ของเกาะ เรียกว่า British New Guinea ส่วนเยอรมนีเข้าครอบครองส่วนเหนือของเกาะอย่างสมบูรณ์ในปี ๒๔๔๒ และเรียกส่วนนี้ว่า German New Guinea จากนั้นในปี ๒๔๕๗ กองทัพออสเตรเลียได้เข้ายึดครองส่วนที่เป็น German New Guinea และปกครองเกาะทั้งสองส่วนจนกระทั่งปี ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดและเป็นผู้ปกครองเกาะจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปี ๒๔๘๘ จากนั้น ในปี ๒๔๙๒ ปาปัวและนิวกินีตกอยู่ในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ภายใต้ The Papua and New Guinea Act โดยมีออสเตรเลียเป็นผู้ดูแล และเรียกดินแดนนี้ว่า Territory of Papua and New Guinea ต่อมา ในปี ๒๕๑๕ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นปาปัวนิวกินี พร้อมทั้งจัดการเลือกตั้งคณะรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคือ เซอร์ ไมเคิล โซมาเล ซึ่งเป็นผู้นำในการเรียกร้องเอกราชจากออสเตรเลีย และทำให้ปาปัวนิวกินีได้รับเอกราชในปี ๒๕๑๘....
...ในภาพคือผู้นำเรียกร้องเอกราชให้กับปาปัวนิวกินี เซอร์ ไมเคิล โซมาเล ระหว่างตรวจแถวทหารฟิจิ....
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยและรัฐเอกราชปาปัวนิวกินี...
ความสัมพันธ์ทั่วไป....
ไทย และปาปัวนิวกินีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๑๙( หลังจากได้รับเอกราชเพียงปีเดียว ) โดยเอกอัครราชทูตไทยประจำอินโดนีเซียมีเขตอาณาดูแลถึงปาปัวนิวกินี เอกอัครราชทูตปาปัวนิวกินีประจำอินโดนีเซียมีอาณาเขตดูแลไทย ได้แก่ นาย ปีเตอร์ มากินเด ปาปัวนิวกินีถือเป็นประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ที่มีความสำคัญในลำดับต้น สำหรับไทย มีความร่วมมือที่ดีกับไทยในเวทีระหว่างประเทศมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในกลุ่มประเทศแปซิฟิกใต้ .....
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้า....
ปาปัว นิวกินีมีศักยภาพในการเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย และเป็นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย และมีภูมิศาสตร์ซึ่งสามารถเป็นประตูของไทยไปสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ปัจจุบันปาปัวนิวกินีมีมูลค่าการค้ากับไทยเป็นอันดับสองรองจากวานูอาตู โดยในปี ๒๕๔๙ มีมูลค่า ๙๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกคิดเป็นมูลค่า ๕๑.๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันการค้าหลักคือการนำเข้าน้ำมันดิบจากปาปัวนิวกินี ซึ่งมีมูลค่า ๓๙.๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๐)และการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่า ๑๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๐) อนึ่ง ปาปัวนิวกินีเป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันสำหรับการผลิตไบโอดีเซลของไทย ปัจจุบัน ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับปาปัวนิวกินีมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย กล่าวคือไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพและราคาถูกที่ชาวปาปัว นิวกินีนิยม เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ในขณะที่ปาปัวนิวกินีมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ สามารถสนับสนุนวัตถุดิบให้ภาคอุตสาหกรรมไทย เช่น ทรัพยากรทางทะเล ป่าไม้ ทองคำ ทองแดง นอกจากนี้ ข้าวยังเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการขยายตลาดได้อีกมาก เนื่องจากในปัจจุบันชาวปาปัวนิวกินีบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งสามารถปลูกข้าวได้บ้างแต่ไม่ได้ผลเต็มที่ เนื่องจากขาดการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ทันสมัย กอปรกับขาดความรู้และความชำนาญในการปลูกข้าว ทำให้ปาปัวนิวกินีมีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศปีละ ๑๗๐,๐๐๐ตัน โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีทั้งข้าวออสเตรเลียและข้าวไทยที่ส่งผ่านออสเตรเลีย ภาคเอกชนปาปัวนิวกินีแสดงความสนใจที่จะนำเข้าข้าวจากประเทศไทยโดยตรงเพื่อ เป็นการลดต้นทุน แต่ปัญหาอุปสรรคทางการค้าในปาปัวนิวกินี คือ ยังมีการผูกขาดอยู่มาก โดยเฉพาะจากออสเตรเลีย ในขณะเดียวกันสถานการณ์ และความปลอดภัยภายในประเทศ ยังเป็นปัญหาหลักที่ทำให้นักธุรกิจชาวต่างประเทศไม่กล้าเข้าไปลงทุนในปาปัว นิวกินี....
ความสัมพันธ์ด้านความช่วยเหลือและความร่วมมือทางวิชาการ....
ประเทศ ไทยได้เริ่มให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ปาปัวนิวกินีครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๒ โดยส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือในรูปแบบหลักสูตรประจำปี โดยในปี ๒๕๔๗ ไทยแจ้งเวียนหลักสูตรประจำปีให้แก่ปาปัวนิวกินีด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ ชายฝั่งทะเลแต่ไม่มีผู้สมัครรับทุนดังกล่าวจากปาปัวนิวกินี ขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายอยู่ในระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทาง วิชาการ (Agreement on Technical Cooperation) ระหว่างกัน เพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการของฝ่ายไทยเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์ กับปาปัวนิวกินี และฝ่ายไทยได้พิจารณากำหนดยุทธศาสตร์ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศใน ภูมิภาคแปซิฟิกใต้ โดยกำหนดให้ปาปัวนิวกินีเป็นประเทศในลำดับต้นที่จะให้ความช่วยเหลือ...
...ในภาพคือส่วนหนึ่งของกรุงพอร์ต มอเรสบี...นครหลวง
.....ส่วนหนึ่งของกลุ่มชน ที่อาศัยบนเกาะนิวกินี
....ขนบนศีรษะของหัวหน้าเผ่าทั้งหลายมาจากขนหางของนกปักษาสวรรค์ Birds of Paradise แทบทั้งสิ้น...
นกปักษาสวรรค์ Birds of Paradise..... เป็นชื่อเรียกของกลุ่มนกจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีสีสัน ลักษณะท่าทางที่สวยงาม เป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบได้บนเกาะนี้ ( Endemic birds ) ..... ซึ่งก็มีหลากหลายชนิดที่สามารถพบได้บนเกาะนิวกินี โดยเฉพาะฝั่งประเทศปาปัวนิวกินี...
ประเทศปาปัวนิวกินี มีนกรวมทั้งสิ้น ๗๘๑ ชนิด( ประเทศไทย ๙๙๓ ชนิด )..เป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบแห่งเดียวในโลก ๗๖ ชนิด( ประเทศไทยพบ ๒ ชนิดเท่านั้น ).....ในที่นี่ขอกล่าวถึงแต่นกปักษาสวรรค์ละกันครับ
ตัวแรก....นกประจำชาติปาปัวนิวกินี.....
......นกปักษาสวรรค์ The Raggiana Bird of Paradise, Paradisaea raggiana ....ได้รับเกียรติให้ปรากฏบนผืนธงชาติอีกด้วย
The Superb Bird of Paradise, Lophorina superba...
- สีดำ ๆ ฟ้า ๆ นั่นตัวผู้นะครับ กำลังจีบตัวเมียสีน้ำตาล ๆ
King of Saxony Bird of Paradise Pteridophora alberti
The Ribbon-tailed Astrapia, Astrapia mayeri
ธงชาติปาปัวนิวกินี.....
สัดส่วนของผืนธง : ๑ ต่อ ๒ ...นำมาใช้เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๗ โดยชาติและพลเรือน
...ใน การปกครองของออสเตรเลีย ได้พยายามผลักดันให้ปาปัวนิวกินีมีธงเป็นของตนเอง ใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ แรก ๆ แบบของธงที่หยิบยื่นมาให้ประชาชนเลือก ก็คือแบบที่มีเป็นธงสามสีแบ่งทางตั้ง ส่วนแรกที่สันธงเป็นสีฟ้า มีรูปกลุ่มดาวกางเขนใต้เช่นเดียวกับในธงชาติออสเตรเลีย สีที่สองถัดมาเป็นสีขาว สีที่สามที่ปลายธงเป็นสีเขียวมีนกปักษาสวรรค์สีทองอยู่ ทว่าแบบธงแบบนี้กลับไม่ถูกใจประชาชนเอาเสียเลย...
...ธงปัจจุบันที่ มีสีเหลืองและขาวบนพื้นดำแดงเป็นแบบที่ซูซาน คาริเก ครูศิลปะชาวพื้นเมืองคิดขึ้นเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปเมื่อปี ๒๕๑๔ กระทั่งได้รับเอกราชก็ใช้ธงผืนนี้เรื่อยมา...
...สีที่อยู่บนผืนธง แดง-ดำเป็นสีที่ถูกเลือกมาใช้เพราะเป็นคู่สียอดนิยมในเมืองนั้นและแบ่งครึ่ง ตามแนวทแยงมุม นกปักษาสวรรค์ก็เป็นเครื่องหมายพื้นเมืองเช่นกัน ขนของนกชนิดนี้ใช้สำหรับแต่งกาย ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่าง ๆ ธงของปาปัวนิวกินีจึงมีนกชนิดนี้อยู่ในครึ่งสีแดงด้านบน
...ครึ่งสี ดำด้านล่างบรรจุรูปกลุ่มดาวกางเขนใต้สีขาวเข้าไว้ กลุ่มดาวนี้จะปรากฏในท้องฟ้ายามค่ำเหนือปาปัวนิวกินี แสดงความหมายเป็นนัยว่ามีสัมพันธ์ที่ดีต่อออสเตรเลีย และตำนานห้าสาวพี่น้อง...
จบแล้วครับ นำภาพสาวน้อยจากเผ่าวิจิฟามากล่าวคำอำลาทุกท่านที่เข้ามาชมและอ่านครับ
ขอขอบคุณ...
...ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ
...ไทยวิกิเปเดีย
...อิงวิกิเปเดีย
...คอสมอส..ธงนานาชาติ
...ไอพียู.คอม
...ซีไอเอ.คอม
...เวิร์ลสเตรทเมน
...และสุดท้ายเพื่อน ๆ สมาชิกที่แวะเวียนเข้ามาให้กำลังใจกันครับ
Cradit: คุณนกสุโขทัย http://worldwindow.pantipmember.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น