กล้อง จุลทรรศน์อิเล็กตรอน (อังกฤษ: Electron microscope) ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2475 ในประเทศเยอรมนี โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 คน คือ แมกซ์ นอลล์ และ เอิร์นท์ รุสกา เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ลำอิเล็กตรอนแทนแสงธรรมดา กล้องแบบนี้มีหลักการทำงานคล้ายกับกล้องจุลทรรศน์ชนิดใช้แสง แต่แตกต่างกันที่ส่วนประกอบภายใน กล่าวคือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะใช้ลำอิเล็กตรอนซึ่งมีขนาดเล็กมากวิ่งผ่านวัตถุ และโฟกัสภาพลงบนจอเรืองแสง เลนส์ต่าง ๆ ในกล้องจะใช้ขดลวดพันรอบ ๆ แท่งเหล็กอ่อน เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น ซึ่งสนามแม่เหล็กจะผลักกับประจุของอิเล็กตรอน ทำให้อิเล็กตรอนเบี่ยงเบนไปสู่เป้าหมายได้
ระบบเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ใช้ เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้วในกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้านั้นประกอบด้วยขดลวดพันรอบแท่งเหล็ก เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น ซึ่งทำให้ลำแสงอิเล็กตรอนเข้มข้นขึ้นเพื่อไปตกอยู่ที่วัตถุที่ต้องการศึกษา เลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนนั้นประกอบด้วย เลนส์รวมแสง และโปรเจกเตอร์ เลนส์ โดย โปรเจกเตอร์เลนส์นั้นมีหน้าที่ฉายภาพ จากตัวอย่างที่ต้องการศึกษาลงบนจอภาพ ซึ่งจอภาพจะฉาบด้วยสารเรืองแสง เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนตกบนจอภาพจะทำให้เกิดการเรืองแสงที่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า ดังนั้นผู้ศึกษาจึงสามารถมองเห็นภาพบนจอและสามารถบันทึกภาพนั้นด้วยกล่อง ถ่ายรูปซึ่งประกอบอยู่ในกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้
แหล่งกำเนิดลำแสงอิเล็กตรอน
แหล่ง กำเนิดลำแสงอิเล็กตรอน คือ ปืนยิงอิเล็กตรอน ซึ่งมีลักษณะเป็นขดลวดตัววีทำจากทังสเตน อิเล็กตรอนจะถูกปล่อยออกมาหลังจากผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวด เนื่องจากอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมาก จึงต้องมีการดูดอากาศออกจากตัวกล้องให้เป็นสุญญากาศ เพื่อป้องกันการรบกวนของลำแสงอิเล็กตรอน และเพื่อป้องกันการเกิดการหักเห เนื่องมาจากการชนกันของมวลอากาศกับลำแสงอิเล็กตรอน
ชนิดของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ในปัจจุบันกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมี 2 ชนิด
1.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (Transmission Electron microscope)
ที่มา:http://www.phy.cuhk.edu.hk/centrallaboratory/TecnaiF20/TecnaiF20.html
2.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (Scanning Electron microscope)
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.mtbk.ac.th/v.2009/technique%20of%20work/pornpimon/kindofmicroscope4electron.html
http://th.wikipedia.org/wiki/กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (Scanning Electron microscope)
ภาพถ่าย Kidney Stones หรือ นิ่วในไต
ภาพ Sunbird Tongue
มีอีกเยอะเลยครับที่ http://sbio.uct.ac.za/Webemu/gallery/descriptions.php
และอันนี้ ภาพกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด)
ตัวอย่างภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ส่วนหัสของผีเสื้อกลางคืน
กระดาษทิชชูหรือกระดาษชำระนั่นเอง
Fliegenauge (Drosophila).
ภาพสนิมของสังกะสี
ภาพสนิมสังกะสีอีกภาพ
แมงมุมนั่นเอง
ผลึกหิมะ
เกสรดอกไม้
ไวรัส
ภาพ - http://nowthatsnifty.blogspot.com/2009/05/amazing-electron-microscope-images.html
จบแค่นี้ก่อนนะครับ ขอบคุณครับ
****************************
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมีกำลังขยายสูงสุด50000เท่าใช่ไหมค่ะ
ตอบลบปัจจุบันได้พัฒนาให้มีกำลังขยายที่สูงได้ถึง 100000 - 300000 แล้วครับ
ลบทำไมถึงใช้ส่องสิ่งมีชีวิตไม่ได้คะ
ตอบลบ