รีวิว..... ปากีสถาน ดินแดนแห่งชนมุสลิม ดินแดนแห่งชนบริสุทธิ์

รีวิว..... ปากีสถาน ดินแดนแห่งชนมุสลิม ดินแดนแห่งชนบริสุทธิ์

..... ปากีสถาน ในมุมมองที่นอกเหนือจากความขัดแย้ง สู้รบ .....ทั้งกับเพื่อนบ้านและในประเทศของตัวเอง ....วันนี้มาดูว่า ปากีสถาน ...ในอีกมุมที่แสนสงบเงียบ สมกับนามปากีสถาน ที่แปลความได้ว่า.....ดินแดนแห่งชนบริสุทธิ์ .......

ปากีสถาน ....มีชื่อเป็นทางการว่า สาธาณรัฐอิสลามปากีสถาน ... อิสลามี จัมฮูริยะ อิ ปากีสถาน ....ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ทิศเหนือติดกับจีน ทิศตะวันตกติดกับอัฟกานิสถานและอิหร่าน ทิศตะวันออกติดกับอินเดีย และทิศใต้ติดกับทะเลอาหรับ ....ด้วยแต่ละประเทศที่ขนาบติดปากีสถานมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ๆ โต ๆ ทั้งนั้น ......พรมแดนแต่ละด้านจึงมีระยะทางยาวไกลมาก ได้แก่ด้านที่ติดกับอัฟกานิสถาน ยาว ๒,๔๓๐ กิโลเมตร, ด้านที่ติดกับจีน ๕๘๐ กิโลเมตร, ด้านที่ติดกับอินเดีย ยาว ๒,๒๔๐ กิโลเมตรและด้านที่ติดกับอิหร่าน ยาว ๙๐๙ กิโลเมตร ส่วนที่ติดกับทะเลอาหรับยาว ๑,๐๔๖ กิโลเมตร .......

..... ปากีสถานมีพื้นที่ทั้งประเทศ ๘ แสนตารางกิโลเมตรเศษ ( ใหญ่เป็นอันดับที่ ๓๔ ของโลก ) แต่ก็มีส่วนที่เป็นพื้นน้ำอย่างน้อยร้อยละ ๓ ลักษณะภูมิประเทศของปากีสถานจะเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางภาคตะวันออก ภูเขาทางภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ และที่ราบสูงบาลูจิสถานทางตะวันตก และทะเลทรายทางตอนใต้ สภาพพื้นที่มีระดับความสูง ส่วนที่ต่ำที่สุด คือ มหาสมุทรอาหรับ ส่วนที่สูงที่สุด คือ K๒ (เมาท์ ก็อดวิน ออสติน Mt.Godwin Austin ) ความสูง ๘,๖๑๑ เมตร จากระดับน้ำทะเล .....




..... ประชากรของปากีสถานมีประมาณ ๑๖๓ ล้านคนมากกว่าไทยแค่ร้อยละคนเองนะเนี่ย ..... มากเป็นอันดับ ๖ ของโลกรองจากจีน, อินเดีย, สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซียและบราซิล ....เป็นเชื้อชาติปัญจาบ ร้อยละ ๔๔ ชาวปาทาน ร้อยละ ๑๕ ชาวซินด์ ร้อยละ ๑๔ เซไรยคี ร้อยละ ๑๐ มูฮาเจียร์/อูรดู ( มูฮาเจียร์ - ชาวมุสลิมที่อพยพมาจากอินเดีย) ร้อยละ ๘ บาลูชี ร้อยละ ๓.๖ และอื่นๆ ร้อยละ ๓.๕ ใช้ภาษาอูรดูและภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการเป็นภาษาที่ใช้เพื่อการติดต่อการ ค้า และสื่อสาร แต่อย่างไรก็ยังถือว่าภาษาอูรดูเป็นภาษาประจำชาติ นอกเหนือจากนี้ก็มีภาษาท้องถิ่นอีกหลายภาษาที่ใช้กันในพื้นที่ต่าง ๆ เช่นภาษาปัญจาบี ซินดิ ปาทาน และบาลูชี .....ชาวปากีสถานนับถือศาสนาอิสลามเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์โดยเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่มากกว่าครึ่ง รองลงมาเป็นชีอะห์ ศาสนาอื่น ๆ ก็มีจำนวนน้อยอย่างฮินดู, คริสต์และซิกห์ ....

..... เมืองหลวงของประเทศปากีสถาน คือ กรุงอิสลามาบัด และมีเมืองสำคัญ ๆ อื่น ๆ ได้แก่ การาจี เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางเศรษฐกิจ ทางใต้ของประเทศ เมืองละฮอร์เป็นเมืองศูนย์กลางของธุรกิจอุตสาหกรรมทางเหนือของประเทศ .....

ในภาพ : ทหารรักษาการณ์ของปากีสถาน ในรูปทรงหมวกแปลกตา....

 ...............................................................................................

เขตการปกครองของสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ....

มีการแบ่งการปกครองออกเป็นแคว้นต่าง ๆ ๔ แคว้น และดินแดนอีก ๔ ดินแดน .......

ได้แก่

๑. แคว้นบาลูจิสถาน (Balochistan) เมืองหลวงชื่อ เคว็ทต้า
๒. แคว้นนอร์ท-เวสต์ฟรอนเทียร์ (North-West Frontier Province: NWFP) เมืองหลวงชื่อ เปชาวาร์
๓. แคว้นปัญจาบ (Punjab) เมืองหลวงชื่อ ละฮอร์
๔. แคว้นซินด์(Sindh) เมืองหลวงชื่อ การาจี

.... นอกจากนี้ในแคว้นนอร์ท-เวสต์ฟรอนเทียร์และบาลูจิสถานก็ยังมีพื้นที่ชนพื้น เมืองที่จังหวัดบริหาร ( Provincially Administered Tribal Areas: PATA ) ด้วย ซึ่งคาดว่าพื้นที่เหล่านี้จะพัฒนาเป็นเขตปกติต่อไป

ดินแดนอีก ๔ แห่ง ได้แก่

๑. ดินแดนอิสลามาบัดแคพิทอลเทร์ริทอรี (Islamabad Capital Territory)
๒. พื้นที่ชนพื้นเมืองที่ส่วนกลางบริหาร (Federally Administered Tribal Areas)

- ส่วนของเขตแคชเมียร์ที่ปากีสถานบริหาร (Pakistani-administered portions of Kashmir region)

๓. อาซาดแคชเมียร์ (Azad Kashmir; azad ในภาษาอูรดูแปลว่า "เสรี") เมืองหลวงชื่อ มูซาฟฟาราบัด
๔. พื้นที่ทางเหนือ (Northern Areas)

................................................................................................

ในภาพ : แสดงแผนที่ประเทศปากีสถาน
หนึ่งในความงามบนดินแดนความขัดแย้ง......แห่งอาซาดแคชเมียร์....

ชมสภาพท้องถนนในกรุงอิสลามาบัดไปพลาง ๆ ก่อน .....

               กระเช้าลอยฟ้าที่ซาฟารี ปาร์ค เมืองการาจี....

                  อิสลามาบัด.....เมืองหลวงที่สร้างมาแทนที่การาจี ....มีมัสยิดชาห์ ไฟซาล ตั้งอยู่โดดเด่น .....
              ทางเข้าไปมัสยิดชาห์ ไฟซาล
                ว่าด้วยเรื่อง การเมืองการปกครอง ......

                  - ด้านการเมือง

                  >>> ปากีสถานเป็นประเทศที่บริหารประเทศแบบสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตยโดยมี รัฐสภา (Parliamentary Democracy) เป็นฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ การกระจายอำนาจการปกครองเป็นในลักษณะสหพันธรัฐ (Federal System) แบ่งออกเป็นรัฐต่างๆ ๔ รัฐ (Province) ได้แก่ ซินด์ (Sindh) ปัญจาบ (Punjab) บาโลจีสถาน (Balochistan) รัฐหน้าด่านตะวันตกเฉียงเหนือ (North West Frontier Province) นอกจากนั้นปากีสถานมี ๑ เขตชนเผ่า (Federally Administered Tribal Areas-FATAs) ซึ่งปกครองตนเองแต่อยู่ภายใต้อาณัติของรัฐบาลกลาง ส่วนเขตดินแดนพิพาทจัมมู-แคชเมียร์ (Disputed Jammu & Kashmir) ซึ่งปากีสถานและอินเดียต่างอ้างสิทธิในการปกครองนั้น ในทางปฏิบัติได้แบ่งเขตปกครองเป็น ๒ ส่วน คั่นกลางด้วยเส้นควบคุม (Line of Control) และแต่ละประเทศปกครองในเขตของตน

                  >>> ปากีสถานมีรัฐบาลกลาง (Federal Government) ณ กรุงอิสลามาบัด และรัฐบาลระดับรัฐ (Provincial Government) ณ เมืองหลวงของแต่ละรัฐ การปกครองแบ่งเป็นระดับประเทศและระดับรัฐ จึงทำให้แต่ละรัฐมีระบบการบริหารภายในของตนเอง

                  - การปกครอง

                  ๑. การบริหารรัฐบาลกลาง

                  ...ฝ่ายนิติบัญญัติ

                  >>> ประกอบด้วย ๒ สภา ได้แก่

                  ๑) วุฒิสภา (Senate) ประกอบด้วยสมาชิก ๑๐๐ คน มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านสภาระดับรัฐ (Provincial Assembly) ดำรงตำแหน่งวาระ ๔ ปี และ ประธานวุฒิสภาคนปัจจุบัน ชื่อ มูฮัมหมัดเมียน ซุมโร
                  ๒) สภาผู้แทนราษฎร (National Assembly) มีสมาชิก ๓๔๒ คน สมาชิก ๒๗๒ คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดำรงตำแหน่งวาระ ๔ ปี ส่วนสมาชิกอีก ๖๐ คนเป็นตัวแทนของสตรี และ ๑๐ คนเป็นตัวแทนของชนกลุ่มน้อย (Non-Muslims) ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบันเป็นผู้หญิง ชื่อ นางฟาห์มิดา  มีร์ซา

                  ...ฝ่ายบริหาร

                  >>> ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและได้รับเลือกตั้งจากประชาชน มีหน้าที่ดูแลการบริหารงานของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีคนปัจจุบันชื่อ นายอาซีฟ อาลี ซาร์ดารี ( รับตำแหน่ง ๙ กันยายน ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน )

                  >>> นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำบริหารประเทศ ตามรัฐธรรมนูญของปากีสถาน นายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และบริหารงานรัฐบาลกลางร่วมกับคณะรัฐมนตรี (Federal Cabinet) เพื่อดูแลนโยบายในระดับประเทศ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ โดยต้องประสานและรายงานประธานาธิบดี ..นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ไซยิด ยูซัฟ ราซา กิลลานี ( รับตำแหน่ง ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน )

                  ...ฝ่ายตุลาการ

                  >>> ปากีสถานมีศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุด ประธานศาลฎีกา (Chief Justice of Pakistan) ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ส่วนคณะผู้พิพากษาศาลฎีกาคนอื่นๆ ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี โดยการหารือกับประธานศาลฎีกา และมีศาลสูง (High Courts) ประจำทั้ง ๔ รัฐ โดยมีหัวหน้าผู้พิพากษา (Chief Justice) และคณะผู้พิพากษา (Judges) ที่มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีโดยหารือกับประธานศาลฎีกา

                  >>> นอกจากนี้ ปากีสถานมีศาลที่เรียกว่า Federal Shariat Court ซึ่งมีสมาชิก ๘ คน ประกอบด้วย

                  ๑) หัวหน้าผู้พิพากษาที่ประธานาธิบดีแต่งตั้ง
                  ๒) บุคลากรที่มีคุณสมบัติเพียงพอจะเป็นผู้พิพากษาศาลสูง ๔ คน
                  ๓) Ulema (ผู้ศึกษากฎหมายอิสลาม) ๓ คน เป็นศาลที่คอยกำกับข้อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมต่างๆ ให้ไม่ขัดต่อกฎหมายอิสลาม รวมทั้งชี้ขาดกรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างกฎหมายต่าง ๆ กับกฎหมายอิสลาม

                  ๒. การบริหารระดับรัฐ

                  >>> โครงสร้างของฝ่ายบริหารในแต่ละรัฐประกอบด้วยผู้ว่าการรัฐ (Govonor) ซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยตรงจากประธานาธิบดีให้บริหารระดับรัฐ (Provincial Government) ทั้งนี้ ผู้ว่าการรัฐจะบริหารโดยคัดเลือกคณะบริหาร (Council of Ministers) ซึ่งประกอบด้วยมุขมนตรี (Chief Minister) เป็นหัวหน้าคณะ และมีคณะรัฐมนตรีประจำรัฐ (Provincial Cabinet/ Provincial Minister) ช่วยกำกับงานด้านต่างๆ ภายในรัฐ อีกทั้งมีรัฐสภาระดับรัฐ (Provincial Assembly) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ร่วมกำกับการทำงานของคณะผู้บริหาร

                  ...............................................................................................

                  ในภาพ : ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี่ ...
                  นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน นายไซยิด ยูซัฟ ราซา กิลลานี ....
                  ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบัน เป็นสตรีเก่งชื่อ ฟาห์มิดา มีร์ซา ...


                  ประวัติศาสตร์โดยสังเขปสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน

                  ..... อาณาเขตของประเทศปากีสถานในปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอินเดีย โบราณ/ชมพูทวีป ซึ่งเคยถูกปกครองโดยชาวอารยัน เปอร์เซีย มาเซโดเนีย กลุ่มชนจากเอเชียกลาง อาณาจักรออตโตมัน ชาวอาหรับ และจักรวรรดิ์โมกุลตามลำดับ จนถึงช่วงคริสตศตวรรษที่ ๑๗ จักรวรรดิอังกฤษได้ขยายอิทธิพลมายังอินเดียและดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้แทนที่จักรวรรดิ์โมกุลที่เสื่อมอำนาจลง และต่อมาอังกฤษสามารถปกครองอนุทวีปเอเชียใต้นี้ได้โดยสมบูรณ์

                  ..... ในยุคอาณานิคมนั้น ดินแดนปากีสถานในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย และชาวมุสลิมในอินเดียได้ดำเนินการเผยแพร่ความคิดที่จะสถาปนาดินแดนอิสระของ ชาวมุสลิม (separate Muslim state) ขึ้นในอินเดีย ระหว่างปี ๒๔๘๐-๒๔๘๒ (ค.ศ. ๑๙๓๗-๑๙๓๙) กลุ่มชาวมุสลิมรวมตัวกันภายใต้ชื่อ All-India Muslim League และผลักดันข้อเสนอดังกล่าว จนฝ่ายปกครองเห็นชอบกับข้อมติที่เรียกกันว่า Pakistan Resolution เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐) จึงเกิดดินแดนที่มีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่ขึ้นในอนุทวีปเอเชียใต้ ในนามดินแดนปากีสถาน

                  ..... ต่อมาอินเดียได้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ จนประสบความสำเร็จในวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๔๙๐ (ค.ศ. ๑๙๔๗) และทำให้ปากีสถานมีสถานะเป็นประเทศอีกประเทศหนึ่งแยกจากอินเดีย โดยแบ่งดินแดนปากีสถานในขณะนั้นเป็น ๒ ส่วน คือ ปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก( ปัจจุบันคือประเทศบังกลาเทศ ) โดยมีควาอิด-อาซาม มูฮัหมัด อาลี จินนาห์เป็นผู้นำประเทศคนแรกในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ (ขณะนั้นยังไม่มีตำแหน่งประธานาธิบดี) และเป็นบุคคลที่ชาวปากีสถานยกย่องเป็นบิดาของประเทศ (Father of the Nation) ซึ่งต่อมาในปี ๒๕๑๔ (ค.ศ. ๑๙๗๑) ปากีสถานตะวันออกได้แยกตัวเป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน .....

                  ................................................................................................

                  ในภาพ : ท่านมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ บิดาแห่งปากีสถาน

                  เมื่อครั้งที่ท่านจินนาห์และท่านมหาตมะ คานธี ร่วมมือกันต่อต้านรัฐบาลอังกฤษ( คงเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ยากจะลืมเลือนสำหรับภาพทั้งสองบิดาของสองประเทศ ปากีสถานและอินเดีย ) .....

                  หญิงชาวปากีสถานในชุดตามขนบธรรมเนียม ....
                  อิสลามิกชนชาวปากีสถานหน้ามัสยิมชาห์ ไฟซาล
                  ธงชาติปากีสถาน....ที่ปักลงตามแนวพรมแดนธรรมชาติ เขาสูง ....
                  ทหารหาญ.....
                  ทหารปากีสถานประจำการณ์ตามชายแดน....

                  อนุสรณ์สถานแห่งชาติในกรุงอิสลามาบัด....

                  ที่ทำงานท่านนายกรัฐมนตรี.....

                  ยามค่ำคืนก็สวยไม่หยอกนะเนี่ย ....
                 มัสยิด ชาห์ไฟซาล ยามค่ำคืน .....
                 มัสยิดชาห์ ไฟซาลมองจากระยะไกล ......บนภูเขาและเส้นทางอันคดเคี้ยว
                  จุดชมวิว ดามาน-อี-โคห์
                  เขื่อนราวาล...ในอิสลามาบัด
                  หอไอเฟล แห่งปากีสถาน ...มินาร์-อี-ปากีสถาน

                บุคคลสำคัญทางการเมืองอีกคนหนึ่งของปากีสถาน .....ไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ แต่ท่านก็ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว ....แต่ก็ขอนำมากล่าวด้วย ณ ที่นี้

                  เบนาซีร์ บุตโต

                  ..... นางเบนาซีร์เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศปากีสถาน และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอิสลาม โดยดำรงตำแหน่ง ๒ สมัย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๓ และ พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๙

                  ..... นางเบนาซีร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๕๓ เป็นบุตรสาวของ ซัลฟิการ์ อาลี บุตโต ผู้ก่อตั้งพรรคประชาชนปากีสถาน (พีพีพี) อดีตประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี ช่วงปี ๑๙๗๑-๑๙๗๗ ที่ถูกรัฐประหารและประหารชีวิตโดย นายพลมูฮัมหมัด เซีย-อุล-ฮัค

                  ..... เธอลี้ภัยไปยังสหราชอาณาจักรในปี ๑๙๘๔ และได้ตั้งที่ทำการพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan's People's Party – PPP) และขึ้นทำหน้าที่ผู้นำพรรคแทนนาง เบกุม นุสรัต บุตโต แม่ของเธอ

                  ..... เธอเดินทางกลับสู่ปากีสถานในปี ๑๙๘๖ และชนะการเลือกตั้งและเพียงสองปีหลังจากนั้น เธอก็กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของปากีสถาน ด้วยวัย ๓๕ ปี

                  ..... นางเบนาซีร์ สำเร็จการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยอ๊อก ซฟอร์ด สมรสกับ อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี( ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน )
                 ในชีวิตทางการเมืองของนางเบนาซีร์ บุตโต .....

                  ..... เธอกลับเข้าปากีสถานในปี ค.ศ. ๑๙๗๗ และ กลายเป็นผู้นำพรรคพีพีพี หลังจากบิดาถูกประหารชีวิตในปี ๑๙๗๙ เบนาซีร์ บุตโต เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. ๑๙๘๘ จนกระทั่งปี ค.ศ. ๑๙๙๐ ก็ถูกสั่งถอดถอนด้วยข้อหาคอร์รัปชั่นแต่กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยสองอีก ครั้งในปี ๑๙๙๓ หลังจาก นาวาซ ชารีฟ ถูกบังคับให้ลาออกภายหลังทะเลาะกับประธานาธิบดี ปี ๑๙๙๙ บุตโตและอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี สามี ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา ๕ ปีและปรับเงินจำนวน ๘ ล้าน ๖ แสนเหรียญสหรัฐ ด้วยข้อหารับเงินจากบริษัทสัญชาติสวิสเพื่อติดสินบนในการหลบเลี่ยงภาษี ศาลสูงกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในเวลาต่อมา และตัวเธอเองยืนยันว่าข้อกล่าวหาต่างๆ ถูกสร้างขึ้นโดยฝ่ายตรงข้าม ภาพลักษณ์ของเธอในฐานะผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยถูกโจมตีด้วยข้อหาคอร์รัปชั่น และฟอกเงิน แต่การเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านประธานาธิบดีก็มีส่วนผลักดันเธอไปสู่ตำแหน่ง ผู้นำฝ่ายค้าน บุตโต ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการขาดธรรมาภิบาลและเล่นการเมืองเพื่อ ตอบสนองตัวเอง

                  ..... เธอลี้ภัยการเมืองอยู่ในดูไบตั้งแต่ปี ๑๙๙๘ และเดินทางกลับสู่ปากีสถานเพื่อรณรงค์หาเสียงเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๐๐๗ เพื่อลงแข่งขันในสนามเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีหน้า โดยหวังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ ๓

                  ..... ก่อนที่เธอ จะเดินทางกลับสู่ปากีสถาน เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ประธานาธิบดีได้ลงนามนิรโทษกรรมบรรดานักการเมือง เพื่อเปิดทางให้กับการเจรจาจัดสรรอำนาจกับนางบุตโต เมื่อมูชาร์ราฟ ประกาศภาวะฉุกเฉิน แรงกดดันก็ตกอยู่แก่ฝ่ายนางบุตโต และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนางในฐานะผู้นำฝ่ายค้านและมูชาร์ราฟตกอยู่ภาย ใต้ภาวะตึงเครียด

                  ..... ภายใต้กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน เธอประณามการปราบปรามสื่ออย่างรุนแรงของมูชาร์ราฟ ทั้งประกาศด้วยว่า จะไม่มีทางทำงานร่วมกับนายมูชาร์ราฟเด็ดขาด อีกทั้งประกาศว่าต้องการโค่นอำนาจของนายมูชาร์ราฟลงจากตำแหน่งผู้นำกองทัพ และประธานาธิบดีตามลำดับ

                  ..... หลังยืนยันว่าจะไม่ทำข้อตกลงร่วมกับมูชาร์ราฟ เธอหันมาจับมือกับศัตรูทางการเมืองอันยาวนาน นาวาซ ชาร์รีฟ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกโค่นอำนาจลงโดยมูชาร์ราฟ


                  ..... หลังลี้ภัยในต่างประเทศถึง ๘ ปี ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม เมื่อเบนาซีร์ บุตโต เดินทางกลับสู่มาตุภูมิเพื่อจะรณรงค์หาเสียงเพื่อขึ้นดำรงตำแหน่งนายก รัฐมนตรีเป็นสมัยที่ ๓ เธอได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลามจากประชาชนเรือนแสนกลางกรุงการาจี ซึ่งสนับสนุนพรรคประชาชนปากีสถาน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เธอดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค แต่มันก็จบลงด้วยโศกนาฎกรรมที่มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น ๑๓๙ คน เธอไม่ได้รับบาดเจ็บในครั้งนั้น แต่ ๒๗ ธันวาคม คือวันปฏิบัติการที่มีชีวิตของเธอเป็นเป้าหมาย บรรลุผล และเธอต้องจบชีวิตลง หลังเกิดเหตุมือระเบิดพลีชีพ ระหว่างการหาเสียงที่เมืองราวัลพินดี และเธอถูกยิงเข้าที่ลำคอ .....

                  - การลอบสังหารเบนาซีร์ บุตโต

                  >>> การลอบสังหารเบนาซีร์ บุตโต เกิดขึ้นในวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ในระหว่างที่นางเบนาซีร์ บุตโต อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถานกำลังหาเสียงในเมืองราวัลปินดี โดยบุตโตถูกยิงก่อนที่จะมีระเบิดพลีชีพ รายงานเบื้องต้นระบุว่า บุตโตตายจากกระสุนปืนหรือเศษวัตถุจากระเบิด กระทรวงมหาดไทยปากีสถานได้ระบุว่าสาเหตุการตายของบุตโตคือกะโหลกแตก หลังจากกระแทกกับซันรูฟของรถจากแรงระเบิด ตัวแทนของบุตโตไม่ยอมรับคำอธิบายนี้ อย่างน้อย ๒๑ คนยืนยันว่าเสียชีวิตจากเหตุการณ์ สองเดือนก่อนการสังหารนี้ บุตโตได้รอดจากเหตุระเบิดในลักษณะเดียวกัน ซึ่งครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๑๓๖ คน รัฐบาลปากีสถาน กล่าวหาอัลกออิดะห์ว่าอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารครั้งนี้



                  มาแวะชมเมืองกันต่อครับ....โบสถ์คริสต์เซนต์ แพทริค ที่นครการาจี
                  ขึ้นไปทางเหนือกันบ้างนะครับ ....ที่ดินแดนอาซาด แคชเมียร์ ..... กับทิวทัศน์ที่แสนงดงาม



                สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ......

                  - นโยบายด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน

                  >>> ปากีสถานมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วง * ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายเปิดประเทศ พร้อม ๆ กับรับความช่วยเหลือจากประเทศตะวันตก เนื่องจากให้ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย เศรษฐกิจของปากีสถานขยายตัวจากร้อยละ ๔.๘ ในปี ๒๕๔๖ เป็นร้อยละ ๘.๔ ในปี ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นในอัตราร้อยละ ๑๒.๕ โดยเฉพาะการพัฒนาระบสาธารณูปโภค โทรคมนาคม และการก่อสร้างโครงการใหญ่ๆ ภาคบริการเติบโตร้อยละ ๗.๙
                  และภาคการเกษตรเติบโตร้อยละ ๗.๕ โครงสร้างทางเศรษฐกิจของปากีสถานที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สัดส่วนของภาคบริการสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ ๕๓ ของ GDP

                  >>> อย่างไรก็ตาม ปัญหาเศรษฐกิจมหภาคของปากีสถานที่สำคัญ คือ เศรษฐกิจยังอยู่ในระดับด้อยพัฒนา และยังคงมีปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม และประสบกับภาวะเงินเฟ้อในอัตราที่สูง ปัจจุบันปากีสถานมีนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีมากขึ้น เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศมีความคล่องตัว และสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น รัฐบาลได้ยกเลิกระบบการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งมีการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ส่งออก อาทิ การลดภาษีรายได้จากการส่งออก สนับสนุนการส่งออกโดยการให้สถานะปลอดภาษี ให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก และรับประกันการส่งออกเพื่อลดความเสี่ยงในการทำการค้า

                  >>> นอกจากนี้ ปากีสถานมีนโยบายมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ท่าเรือ ถนน สนามบิน เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยกำลังพัฒนาเมืองการาจีให้เป็นเมืองท่าเสรี ตลอดจนพัฒนาท่าเรือกวาดาร์ในรัฐบาลูจิสถาน (Baluchistan) ให้เป็นศูนย์กลางพาณิชย์และการขนส่งในมหาสมุทรอินเดีย โดยปากีสถานคาดหวังให้ท่าเรือกวาดาร์เป็นศูนย์กลางสำหรับการค้าขายในภูมิภาค เอเชียใต้กับตะวันออกกลาง รวมทั้งจีนและอิหร่าน โดยท่าเรือดังกล่าวจะอำนวยความสะดวกต่อเขตเศรษฐกิจจำเพาะของปากีสถาน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีปลาชุกชุม และปากีสถานจะพัฒนาถนนและทางหลวงเชื่อมท่าเรือกวาดาร์กับเมือง ใหญ่ต่างๆ รวมทั้งทางหลวงเชื่อมจากชายแดนที่ติดกับอัฟกานิสถานไปสู่ท่าเรือกวาดาร์ โครงการท่าเรือน้ำลึกกวาดาร์แห่งนี้เป็นผลจากข้อตกลงระหว่างปากีสถานกับจีน เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๕

                  >>> ปากีสถานเป็นประเทศที่โครงสร้างมูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการมี สัดส่วนใกล้เคียงกันมาก และมีการขาดดุลการค้าอยู่เสมอ ประกอบกับการลงทุนจากต่างประเทศยังมีน้อย จึงประสบปัญหาขาดดุลการชำระเงิน ปากีสถานจึงพยายามชักจูงนักลงทุนต่างชาตินำเงินเข้าไปลงทุน เพื่อชดเชยปัญหาดังกล่าว รวมทั้งต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออก

                  >>> ปัจจุบันบรรยากาศการลงทุนภายในประเทศดีขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศสนใจที่จะร่วมลงทุนในปากีสถานมากขึ้น นอกจากนี้ ปากีสถานมีนโยบายจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement -FTA) กับประเทศต่าง ๆ โดยอยู่ระหว่างกระบวนการจัดทำ FTA กับจีน มาเลเซีย ตุรกี และไทย และได้ลงนามจัดทำ FTA กับศรีลังกาแล้ว

                  >>> นอกจากนี้ ปัจจุบันปากีสถานยังได้เริ่มดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการกระตุ้นความสนใจต่อแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีทางพุทธศาสนาใน ปากีสถาน โดยเฉพาะที่เมืองตักศิลา ทั้งนี้ ปากีสถานหวังว่าการท่องเที่ยวจะเป็นแหล่งรายได้สำคัญอีกสาขาหนึ่งของประเทศ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งยังต้องพัฒนาความพร้อมอีกมาก

                  >>> สินค้าส่งออกที่สำคัญ ฝ้าย สิ่งทอ ฟูก ผ้าลินิน ผ้าฝ้าย สินค้าเครื่องหนัง ข้าว สินค้ากีฬา เคมีภัณฑ์ พรมและพรมปู สินค้าหัตถกรรม ปลาและผลิตภัณฑ์ปลา ผลไม้

                  >>> สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมันปิโตรเลียม สินค้าปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล พลาสติก อุปกรณ์คมนาคม น้ำมันพืช น้ำดื่ม กระดาษ เหล็กและเหล็กกล้า ชาอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ ยานยนตร์ ปิโตรเลียม เหล็กและเหล็กกล้า เมล็ดพืช ชา

                  >>> ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ สหรัฐฯ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร, อัฟกานิสถานและเยอรมัน

                  >>> ตลาดนำเข้าสินค้าที่สำคัญ ซาอุดีอาระเบีย, จีน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เยอรมันและคูเวต

                  >>> อุตสาหกรรมการผลิตสำคัญ สิ่งทอ น้ำตาล น้ำมันพืช สินค้าเกษตร ปุ๋ย เหล็ก เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์กีฬา พรม รถยนต์ อาหารแปรรูป เหล็ก ก่อสร้าง เครื่องจักร กระดาษ

                  >>> หน่วยเงินตรา รูปีปากีสถาน (Pakistani Rupee) อัตราแลกเปลี่ยน ๑ ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ ๖๕ รูปี (ปี ๒๕๕๑)

                  ................................................................................................

                  ในภาพ : หน่วยเงินรูปี ปากีสถาน
          ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน

                  ๑. ด้านการทูต

                  ..... ไทยกับปากีสถานได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๔ นอกจากไทยและปากีสถานจะมีสถานฑูตอยู่ซึ่งกันและกันแล้ว ยังมีสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรัฐซินด์ (Sindh) และรัฐบาลูจิสถาน (Baluchistan) อีกด้วย

                  ๒. ด้านการเมือง

                  ..... ไทยและปากีสถานเป็นพันธมิตรกันมายาวนาน เคยร่วมเป็นสมาชิกในองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (Southeast Asian Treaty Organization -SEATO) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๗ แม้ว่าในปัจจุบันการดำเนินงานในกรอบของ SEATO จะยุติลงแล้ว แต่มิติทางประวัติศาสตร์ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างไทยกับ ปากีสถาน โดยได้แลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือด้านความมั่นคงและข่าวกรอง โดยได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรม อื่น ๆ ซึ่งช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งมีความใกล้ชิดของฝ่ายทหารและฝ่ายความมั่นคง

                  ..... นอกจากนี้ ปากีสถานต้องการอาศัยความใกล้ชิดกับไทย เพื่อเป็นช่องทางไปสู่การเพิ่มบทบาทในเอเชีย และกระชับความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ตามนโยบาย Look East ของปากีสถาน ด้วยเหตุนี้ปากีสถานจึงให้ความร่วมมือกับไทยทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี เช่น แสดงความกระตือรือร้นในเวที ACD ที่ไทยริเริ่มขึ้น (โดยปากีสถานเป็นเจ้าภาพการประชุม ACD ครั้งที่ ๔ ในเดือนเมษายน ๒๕๔๘ ณ กรุงอิสลามาบัด) ซึ่งสอดคล้องกับความประสงค์ของไทยที่ต้องการเสริมเวที ACD ให้แข็งแกร่งขึ้น

                  ๓. ด้านเศรษฐกิจ

                  ..... ไทยกับปากีสถานมีกลไกความร่วมมือทวิภาคีด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจ (Joint Economic Commission - JEC) ซึ่งได้จัดประชุมไปแล้ว ๒ ครั้ง การประชุม JEC ครั้งที่ ๒ จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๔๕ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและติดตามความคืบหน้า เพื่อผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจสาขาต่างๆ

                  ..... ปัจจุบันไทยให้ความสำคัญกับปากีสถานในฐานะตลาดส่งออกที่มีศักยภาพ ประกอบกับปากีสถานสนใจที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับไทย จากการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีปากีสถานในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘ ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตกลงที่จะจัดทำความตกลง FTA ขึ้น โดยได้จัดตั้งคณะศึกษาร่วม (Joint Study Group - JSG) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดทำ FTA ทั้งนี้ได้มีการประชุมคณะศึกษาร่วมฯ ไปแล้ว ๓ ครั้ง ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและศึกษาเกี่ยวกับสภาวะและแนวโน้มทาง เศรษฐกิจ ระบบภาษี และอัตราค่าธรรมเนียมการค้าในระดับพหุภาคีและทวิภาคี และแลกเปลี่ยนผลการวิเคราะห์ข้อมูลของการค้าทวิภาคีในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา เพื่อคัดเลือกตัวสินค้าที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันและส่งเสริมกันในการเปิดการ ค้าเสรีระหว่างกัน ได้แก่ สินค้าเกษตร สิ่งทอ เสื้อผ้า อาหาร ประมง เครื่องมือแพทย์ รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

                  ..... ในอนาคตไทยอาจใช้ปากีสถานจะเป็นทางผ่านของสินค้าไปสู่อัฟกานิสถานและภูมิภาค เอเชียกลาง ซึ่งมีความต้องการสินค้าบริโภคจำนวนมาก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจปากีสถานที่กำลังขยายตัวอย่างมากในด้านอุตสาหกรรมด้าน การก่อสร้าง ระบบสาธารณูปโภค โทรคมนาคม ที่อยู่อาศัย ท่าเรือ สนามบิน ซึ่งเป็นผลจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นติดต่อกันหลายปี ก็จะเป็นตลาดที่สำคัญของไทยได้ในอนาคต

                  ๔. ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

                  ..... เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๘ บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉียงเหนือของปากีสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและไร้ที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ทั้งภาครัฐและเอกชนไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ปากีสถาน ในรูปของเงินช่วยเหลือและสิ่งของบรรเทาทุกข์คิดเป็นมูลค่า ๑๘ ล้านบาท ที่สำคัญยิ่ง คือ เมื่อวันที่ ๔-๕ มกราคม ๒๕๔๙ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้ เสด็จฯ ไปปากีสถานเพื่อทรงนำสิ่งของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปพระราชทานแก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวด้วยพระองค์เอง

                  ..... นอกจากนี้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมอบเงิน ๓ แสนดอลลาร์สหรัฐ (๑๒ ล้านบาท) ให้แก่องค์กรสภาเสี้ยววงเดือนแดงปากีสถานเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 โดยสรุปแล้วไทยให้ความช่วยเหลือปากีสถานในเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้รวม ๔๘ ล้านบาท

                  ๕. ด้านสังคมและวัฒนธรรม

                  ..... ไทยและปากีสถานต่างเป็นมิตรประเทศที่ดีต่อกัน และมีความเกี่ยวพันระหว่างภาคประชาชนชุมชนคนไทยในปากีสถานมาช้านาน นอกจากกลุ่มคนที่สมรสกับชาวปากีสถานและไปประกอบอาชีพต่างๆ แล้ว ยังมีกลุ่มนักเรียนไทยประมาณ ๒๕๐ คน ไปศึกษาศาสนาในปากีสถาน นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งสมาคมมิตรภาพไทย – ปากีสถานในประเทศทั้งสองด้วย ชาวปากีสถานนิยมเดินทางมาไทยมากกว่าชาวไทยไปปากีสถาน ทั้งนี้ เพราะชาวปากีสถานที่มีรายได้ดีจะนิยมเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ และไทยเป็นที่เป้าหมายหนึ่ง ซึ่งนอกจากมีสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ยังมีสินค้าต่างๆ ให้เลือกซื้อมากมาย ส่วนไทยยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับปากีสถานในฐานะแหล่งท่องเที่ยวมากนัก

                  ..... อย่างไรก็ดี ปากีสถานมีแหล่งวัฒนธรรมและโบราณคดีทางพุทธศาสนาจำนวนมากในบริเวณตอนเหนือ ของประเทศ เช่น เมืองตักศิลา และปากีสถานประสงค์ให้ไทยช่วยเหลือและพัฒนาสถานที่ทางศาสนาเหล่านั้นเพื่อ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งปากีสถานมีแผนที่จะเผยแพร่และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาใน ประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งไทยก็สนับสนุนเรื่องนี้ในรูปของความร่วมมือทางวิชาการและการถ่ายทอด ประสบการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีของไทย เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความร่วมมือระหว่างประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ และอิสลามในการอนุรักษ์โบราณสถานทางพุทธศาสนา

                  .................................................................................................

                  ในภาพ : ประธานาธิบดีซาร์ดารีเมื่อครั้งเยือนกรุงลอนดอน พบปะกับนายก ฯ กอร์ดอน บราวด์ของอังกฤษ....


            และอีกสิ่งในช่วงเวลาสุดท้ายของวัน......ที่ปากีสถานและ ฝั่งอินเดีย ประชาชนทั้งสองประเทศจะมาดูกิจวัตรประจำวันของทหารรักษาการณ์ในการปิด พรมแดน.....ที่เขตแดนวาคาห์ ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมอินเดียและปากีสถานเข้าด้วยกัน ระหว่างเมืองอัมริทสาร์ ประเทศอินเดียและเมืองละฮอร์ ประเทศปากีสถาน

                  ในบางครั้งที่นี่จะถูกเรียกว่า " กำแพงเบอร์ลินแห่งเอเชีย " ระหว่างพรมแดนปากีสถานและอินเดีย ...

                  ทหารรักษาการณ์ของทั้งสองประเทศเดินยกขากันสูงมาก......

          

   รักษาการณ์ฝั่งอินเดียหมวกปีกทรงพัดสีส้ม ส่วนฝั่งปากีสถานจะสีดำ....









                  ในบางครั้งก็อาจยียวน กวนประสาท ชวนขำ ๆ กันบ้าง
                  มาดเข้มเชียว....
             ใกล้จะจบแล้ว ......-_-" ........

                  สัตว์ประจำชาติปากีสถานนะครับ ....เป็นแพะภูเขามาร์คอร์ The Markhor (Capra falconeri) ดูเกรงขามมาก ๆ ....

                  นกประจำชาติ.....นกคุ่มภูเขาชูคาร์..The Chukar, Alectoris chukar


                  ต้นไม้ประจำชาติ ต้นสนซีดาร์พันธุ์หิมาลัย Himalayan Cedar ( Cedrus deodara )

         เมื่อกี๊ที่พรมแดนลืมให้ดูว่า ชายแดนวาคาร์อยู่ตรงไหนของปากีสถาน...

  เพลงชาติปากีสถาน......

                  เนื้อร้อง...ถ่ายอักษรเป็นภาษาอังกฤษ ....

                  Pak sarzamin shad bad
                  Kishwar-e-hasin shad bad
                  Tu nishan-e-azm-e-alishan
                  Arz-e-Pakistan
                  Markaz-e-yaqin shad bad

                  Pak sarzamin ka nizam
                  Quwat-e-ukhuwat-e-awam
                  Qaum, mulk, sultanat
                  Pa-inda tabinda bad
                  Shad bad manzil-e-murad

                  Parcham-e-sitara-o-hilal
                  Rahbar-e-tarraqqi-o-kamal
                  Tarjuman-e-mazi, shan-e-hal
                  Jan-e-istiqbal
                  Sayah-e-Khuda-e-Zu-l-Jalal

                  คำแปล...

                  Blessed be the sacred land
                  Happy be the bounteous realm
                  Symbol of high resolve
                  Land of Pakistan!
                  Blessed be thou, citadel of faith

                  The order of this sacred land
                  Is the might of the brotherhood of the people
                  May the nation, the country, and the state
                  Shine in glory everlasting!
                  Blessed be the goal of our ambition

                  This flag of the crescent and star
                  Leads the way to progress and perfection
                  Interpreter of our past, glory of our present
                  Knowledge of the future!
                  Symbol of the Almighty's protection




            ธงชาติปากีสถาน.....

                  สัดส่วนของธง ๒ : ๓

                  ...... ปากีสถาน-ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของบริติซอินเดีย แต่ก็ก่อตั้งเป็นประเทศในปี ๑๙๔๗ ในฐานะรัฐมุสลิมเอกราช ปัจจุบันปากีสถานแบ่งออกเป็น ๔ แคว้น

                  ...... ธงของปากีสถานออกแบบโดย มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ผู้ก่อตั้งประเทศ ธงนี้เป็นธงที่คล้ายกับธงสันนิบาตมุสลิมแห่งอินเดียใช้เป็นเครื่องหมายเพื่อ จะไปถึงความเป็นรัฐเอกราช ธงนี้เป็นสีเขียวมีตราจันทร์เสี้ยวและดวงดาว ๕ แฉกสีขาว และในวันที่ได้รับเอกราชจริง ๆ ก็มีการเพิ่มสีขาวเข้าไปที่สันธงเพื่อแทนพวกชนกลุ่มย่อยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มุสลิม

                  >>> สีขาวและเขียวเมื่ออยู่ร่วมกันแทนสันติภาพและความมั่งคั่ง

                  >>> จันทร์เสี้ยว แทน ความก้าวหน้า

                  >>> ดวงดาว แทน ความสว่างและความรู้

                  >>> แถบสีขาว แทน ชนที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมและกลุ่มชนย่อยอื่น ๆ

                     
                  
         ตราแผ่นดิน.....

                  เป็นภาพตราโล่ ๔ ช่องปรากฎภาพฝ้าย, ปอกระเจา, ชาและข้าวสาลี ทรัพยากรทางการเกษตรที่สำคัญของปากีสถาน บนตราโล่เป็นพระจันทร์เสี้ยวและดวงดาว แทนศาสนาอิสลาม....มีรวงข้าวสาลีล้อมรอบตราโล่ ...

                  ในแถบผ้าด้านล่าง เขียนเป็นภาษาอูรดูว่า ...อิมาน อิตติฮัด นาซม์ ....แปลว่า ศรัทธา, เอกภาพ, วินัย เป็นคำขวัญของชาติ .....อ่านภาษาอูรดูจากขวาไปซ้าย ...
           ขอขอบคุณ...

                  ...ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ
                  ...อิงวิกิเปเดีย
                  ...ไทยวิกิเปเดีย
                  ...คอสมอส..ธงนานาชาติ
                  ...ไอพียู.คอม
                  ...ฟริค เคอาร์
                  ...และสุดท้ายเพื่อน ๆ สมาชิกที่แวะเวียนเข้ามาให้กำลังใจกันครับ

                  ภาพสุดท้าย.....ร่ำลาด้วยแสงสุดท้ายแห่งวันที่อิสลามาบัด...

...Cradit_เจ้าของบทความ:คุณนก สุโขทัย http://worldwindow.pantipmember.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ads Inside Post