...รีวิว.....ยูเครน จากเชอร์โนบิลถึงการปฏิวัติสีส้ม... (ตอนที่ ๒ จบ)

๒                 การปฏิวัติสีส้ม ......

                  .... การปฏิวัติสีส้มคือช่วงเวลาอันน่าทึ่งในประวัติศาสตร์ของชาวยูเครน ประชาชนธรรมดามาชุมนุมกันโดยไม่รู้แน่ชัดว่าตนเองต้องเผชิญสิ่งใดในเมือง บ้าง แรงกระตุ้นเริ่มมีมากขึ้น เมื่อมหาชนในประเทศไม่ได้ออกมาดูเพียงอย่างเดียว แต่ยังเข้าร่วมการประท้วงด้วย องค์กรนักศึกษาต่างออกมายืนปักหลัก คนจำนวนหลายร้อยตัดสินใจกางเต็นท์ จนกว่าจะมีการยอมรับความจริง แล้วในสภาพอากาศอันเย็นจัดนั้น จิตใจอันแท้จริงของชาวยูเครนก็เกิดขึ้นมีการแสดงน้ำใจ และไมตรีจิตระหว่างที่การปฏิวัติเพิ่งเริ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีบางเรื่องที่ชาวยูเครนส่วนใหญ่ไม่เคยพบมาก่อน พลเมืองทั่วไปต่างสนับสนุนผู้ประท้วงอย่างเต็มที่ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ เคยมีมาก่อน ภายในเมืองเต็มไปด้วยน้ำดื่ม อาหาร เครื่องดื่มร้อน รองเท้าบูท เสื้อกันหนาว และสิ่งอื่นอีกมากมาย

                  .....ในอดีตทัศนคติเช่นนี้แทบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนมาตรฐานของคนที่นี่คือ
                  “ให้ ผู้อื่นหรือ ทำไมล่ะ เราก็มีความต้องการเหมือนกัน” ทว่าที่จัตุรัสแห่งนั้น ประเทศที่ดีกว่ากำลังเกิดขึ้นใหม่ในจิตใจของประชาชน แม้แต่ประชาชน ผู้เดินทางมาจากต่างเมือง เพื่อสนับสนุนผู้สมัครซึ่งรัฐบาลหนุนหลังอยู่ ก็ไม่อาจต้านทานกระแสการปฏิวัติได้ เมื่อเดินทางมาถึงก็พบมิตรภาพและความมีน้ำใจจากเพื่อนร่วมชาติ คนเหล่านี้ไม่คิดมาก่อนว่าจะได้รับสิ่งเหล่านี้ ที่นี่คือประเทศยูเครนของพวกเขาจริง ๆ หรือ ขออาศัยอยู่ในประเทศที่ทุกคนล้วนได้รับความเคารพ และทุกคนล้วนมีคุณค่าได้ไหม .....


                  ..... ประชาชนต่างกำลังเชื่อมั่น ต่างหวัง และต่างโหยหาประเทศที่ดีกว่าเดิมผู้สมัครที่รัฐบาลหนุนหลัง ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากระบอบการปกครอง อันไม่เป็นธรรม แต่ผลกลับไม่เป็นตามคาดหมาย ประชาชนต่างลุกขึ้นพูดว่า “พอได้แล้ว ! พวกเราไม่ต้องการอยู่ในประเทศแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว” ผู้คนต่างได้ยินเสียงของประชาชนเหล่านั้น สติของคนในชาติได้รับการปลุกเร้า ประชาชนอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง จิตใจอันแท้จริงของชาวยูเครน ที่จมปลักอยู่ในการฉ้อราษฎร์บังหลวง ได้รับการยกไปอยู่ในสถานที่อันมีเกียรติและเสรีภาพประชาชนในประเทศต่าง มองอนาคตด้วยความหวังให้สิ่งต่าง ๆ กลับคืนมา .....


                  ชมเมืองเคียฟไปพลาง ๆ ก่อนนะครับ
              ประวัติศาสตร์โดยสังเขปของยูเครน.....

                  - สมัยประวัติศาสตร์- ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑

                  ..... นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาวโนมัด( Nomad ) โดยเฉพาะชาวสกุเทียน ( Scythian ) เป็นพวกแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในยูเครนในช่วงก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวเผ่าสลาฟได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลางและตะวันออกของยูเครน อย่างไรก็ดี ชนชาติสำคัญที่มีบทบาทในการรวบรวมดินแดนบริเวณนี้ให้เป็นปึกแผ่นคือชาวรุส (Rus) ที่มาจากสแกนดิเนเวีย โดยต่อมาชาวรุสได้สถาปนาอาณาจักรคีเยวาน รุส ขึ้นในศตวรรษที่ ๖ และปกครองชาวสลาฟที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ และต่อมาได้ขยายดินแดนออกไปรวบรวมเผ่าสลาฟและชนชาติต่างๆ จนเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในศตวรรษที่ ๑๑ แต่ในศตวรรษที่ ๑๒ อาณาจักรนี้ได้เสื่อมสลายลง เนื่องจากสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่างๆ และการรุกรานจากชาวมองโกลในศตวรรษต่อมา

                  ..... หลังจากนั้น ดินแดนบางส่วนของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรต่างๆ อาทิ ลิทัวเนีย โปแลนด์ ออสโตร-ฮังกาเรียน และรัสเซีย

                  - หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑

                  ..... หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ยูเครนได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซียและราชวงศ์ฮับสบวร์กเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.๑๙๑๘ แต่ต่อมากระแสการปฏิวัติในรัสเซียได้ลุกลามมายังยูเครน ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น หลังจากนั้น ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับโปแลนด์ ในขณะที่ดินแดนตอนกลางและตะวันออกถูกผนวกรวมกับรัสเซียในฐานะ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตแห่งยูเครน ในปี ค.ศ.๑๙๒๒ ภายใต้ระบอบสหภาพโซเวียต ชาวยูเครนถูกบังคับให้เลิกใช้ภาษาของตนเอง นอกจากนี้ ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๓๒-๑๙๓๓ ประธานาธิบดีสตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต ยังได้ใช้มาตรการ “ Holodomor ” ( Famine ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระบบนารวมของสหภาพโซเวียตกับชาวยูเครน อันส่งผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงและการขาดแคลนอาหารขึ้นทั่วประเทศ และชาวยูเครนกว่า ๗ ล้านคนต้องเสียชีวิตลง ชาวนาและปัญญาชนที่ต่อต้านระบบดังกล่าวถูกกวาดล้างหรือเนรเทศไปยังไซบีเรีย

                  - ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒

                  ..... ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวยูเครนให้การสนับสนุนกองทัพของนาซีเยอรมัน เพื่อเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต แต่ต่อมาได้หันไปต่อต้าน เนื่องจากกองทัพเยอรมันปกครองอย่างกดขี่และทารุณ โดยในช่วงดังกล่าว ชาวยิวในยูเครนกว่า ๑ ล้านคนถูกสังหารหมู่และ กรุงเคียฟ ถูกเผาทำลาย อย่างไรก็ดี หลังจากที่กองทัพนาซีบุกโปแลนด์ในปี ค.ศ.๑๙๓๙ ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนที่เดิมอยู่ภายใต้โปแลนด์ได้ถูกผนวกรวมกับสหภาพ โซเวียต

                  - หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ - การประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต

                  ..... หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสชาตินิยมในยูเครนขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสหภาพโซเวียต ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วสหภาพโซเวียตและการพยายามปิดบังข้อมูลของเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของสหภาพโซเวียตต่อกรณีการระเบิดของโรงงานปฏิกรณ์ปรมาณูเชอร์โนบิล( Chernobyl ) ที่ตั้งอยู่ในยูเครนในปี ค.ศ.๑๙๘๖ และเมื่อประธานาธิบดีกอร์บาชอฟดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางการเมือง ได้ส่งผลให้รัฐบาลของสหภาพโซเวียตจำเป็นต้องให้อำนาจแก่สาธารณรัฐและดินแดน ปกครองตนเองต่างๆ มากขึ้น กระแสการเรียกร้องสิทธิที่จะปกครองตนเองในยูเครนดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง และในที่สุดยูเครนได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๙๑ ชาวยูเครนได้ลงประชามติให้ยูเครนประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต

                  ................................................................................................

                  ในภาพ : พิพิธภัณฑ์เพื่อรำลึกถึงสงคราม The National Museum of the History of the Great Patriotic War ( ๑๙๔๑-๑๙๔๕ )


                  เหตุการณ์เชอร์โนบิลระเบิด......

                  ..... เหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดเมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน แม้ว่าขณะที่เกิดเหตุจะมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนน้อย แต่ผลพวงสะสมของสารกัมมันตภาพรังสีกลับกินพื้นที่กว้างไกลและรุนแรง ยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้นัก ซึ่ง ณ วันนี้ความทรงจำของเหตุหายนะกำลังเริ่มจากหาย แต่กัมมันตภาพรังสีก็ยังคงฝังติดแน่น โดยที่ไม่มีใครตอบได้ว่าจะหมดลงเมื่อใด
                      
                  ..... เช้าตรู่ของวันที่ ๒๖ เม.ย.๒๕๒๙ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ๑ ใน ๔ ของโรงงานไฟฟ้าเชอร์โนบิล ในยูเครน สหภาพโซเวียต เกิดระเบิดขึ้น แต่ทางรัฐบาลมอสโควแห่งสหภาพโซเวียตกลับมีปฎิกิริยาอย่างเชื่องช้าต่อ อุบัติภัยดังกล่าว แม้ว่านานาประเทศในละแวกใกล้เคียงจะตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีลอยไปไกลหลาย ร้อยกิโลเมตร
                      
                  ..... การขาดข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง ทำให้มีการอ้างความเสียหายแค่เพียงจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิด ส่วนปัญหาการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีที่ไม่เห็นเป็นรูปธรรมก็ยังคงเป็น ปัญหามาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ แม้จะผ่านเลยมาแล้ว ๒๐ กว่าปีก็ตาม
                      
                  ..... จึงนับได้ว่าเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดจนทำให้เกิดสาร กัมมัตภาพรังสีรั่วไหลไปไกลในหลายพื้นที่นั้น นับเป็นอุบัติภัยทางนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การใช้ นิวเคลียร์
                      
                  - ย้อนเหตุระเบิด ๒๐ ปีก่อน
                      
                  ..... ระหว่างช่วงต่อวันที่ ๒๕-๒๖ เม.ย.๒๕๒๙ ทีมวิศวกรกะกลางคืนได้ทำการทดลองที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข ๔ โดยทดสอบว่าระบบทำความเย็นจะสามารถดึงกระแสไฟฟ้าจากเตาปฏิกรณ์มาใช้อย่างไร หากเกิดกรณีไฟตกหรือพลังงานต่ำกว่าความต้องการ
                      
                  ..... การทดสอบดังกล่าวเริ่มขึ้นในเวลา ๒๓.๐๐ น. (ประมาณ ๐๓.๐๐ น. เวลาประเทศไทย) ด้วยการใช้การสูบที่ควบคุมกระบวนการฟิสชันในเตาปฏิกรณ์ ให้ดูดซับนิวตรอนและทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่ช้าลง ทำให้พลังงานที่ออกมาลดลงจากเดิม ๒๐ % เพื่อเตรียมการทดลอง
                      
                  - ปิดระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อการทดสอบ
                      
                  ..... อย่างไรก็ดี ระหว่างเตรียมการทดลองยังมีการสูบอีกหลายตัวที่ลดการทำงานและผลลัพธ์ลงอย่าง รวดเร็ว ซึ่งเตาเกือบอยู่ในสภาพปิดการทำงาน ซึ่งทำให้วิศวกรเกรงว่าเตาจะไม่เสถียร จึงดึงกระบวนการกลับเพื่อให้ผลลัพธ์เพิ่มขึ้น และในเวลา ๐๐.๓๐ น. ก็เริ่มการทดสอบขึ้น เมื่อเวลา ๐๑.๐๐ น. พลังงานของเตาเหลืออยู่เพียง ๗ % รวมกับก้านสูบบางตัวถูกทำให้เพิ่มการทำงานขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ระบบปิดตัวเองอัตโนมัติก็ถูกปิดไม่ให้ทำงาน เพื่อให้เตาได้เดินหน้าท่ามกลางสภาพพลังงานต่ำกว่าปกติ
                              
                  ..... จนกระทั่งเวลา ๐๑.๒๓ น. พลังงานของเตาเพิ่มขึ้นมาเป็น ๑๒ % ขณะที่การทดสอบเริ่มขึ้น และวิศวกรก็เพิ่มการทำงานของก้านสูบ แต่ในเวลาไม่ถึง ๑ นาทีระดับพลังงานก็เกิดมีปัญหา และเตาปฏิกรณ์ก็เริ่มร้อนเกินพิกัด
                      
                  - ในที่สุด....ก็ร้อนจน ระเบิด !!
                      
                  ..... ทันทีที่เกิดความร้อนสูงเกิน ระบบปิดตัวเองก็ทำงานทันทีแต่ว่า ไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ ทำให้วิศวกรตัดสินใจอย่างฉับพลันตัดกระแสไฟฟ้าด้วยตัวเอง เพื่อหวังให้ก้านสูบต่างๆ กลับเข้าที่ แต่ความร้อนสูงเกินไปจากแกนของเตาปฏิกรณ์ก็ละลายก้านสูบจนเปลี่ยนรูปและขยับ ไม่ได้
                      
                  ..... อีกไม่กี่นาทีถัดมา ความร้อนสูงกว่าปกติถึง ๑๐๐ เท่า ก้อนวัตถุที่อยู่ในแกนเตาเริ่มปะทุและน้ำที่อยู่ในระบบทำความเย็นก็ร้อนขึ้น เรื่อยๆ จนทำให้หลังคาอาคารที่คลุมเตาปฏิกรณ์หลอมเปลี่ยนรูปเพราะความร้อน และปลิวหลุดออกไป ตามด้วยสิ่งที่อยู่ในเตาก็พวยพุ่งออกมาราวกับภูเขาไฟปะทุ
                      
                  ..... สภาพอากาศบริเวณนั้นเต็มไปด้วยสะเก็ดจากเตา ซึ่งมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เต็มไปหมด ทำให้เกิดติดไฟและระเบิดในที่สุด
                      
                  - หลังหายนะที่แสนอันตราย แต่ดูเหมือนไม่ร้ายแรง
                      
                  ..... นักผจญเพลิงปีนขึ้นไปบนหลังคาของโรงงานเพื่อจะสยบเพลิงที่ลุกโชติช่วง ขณะเดียวกันเฮลิคอปเตอร์หลายต่อหลายลำก็ทยอยขนทรายมาใส่ในเตาเพื่อลดแรงไฟ และกัมมันตรังสีที่แผ่ออกมา
                      
                  ..... เหล่านักผจญเพลิงและพลทหารที่มาช่วยกันในครั้งนี้ ต่างก็ไม่รู้ว่าการเข้ามาเกี่ยวข้องกับกัมมันตภาพรังสีนั้นมีความเสี่ยงมา น้อยแค่ไหน อีกทั้งในภายหลังก็มีรายงานว่าคนกลุ่มนี้หลังจากช่วยดับเพลิงจนสำเร็จแล้วก็ เสียชีวิตเพราะพิษกัมมันตภาพรังสี
                      
                  ..... หายนะภัยครั้งนี้ถูกประเมินว่ารุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มนางาซากิและฮิ โรชิมาในญี่ปุ่นถึง ๑๐๐ เท่า สารกัมมันตภาพรังสียังคงปนเปื้อนอยู่ต่อเนื่องแม้ว่าเชอร์โนบิลจะปิดตัวลง แล้ว แต่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งครอบคลุมเบลารุส ยูเครน และรัสเซียมีเพียง ๓๕๐,๐๐๐ คนที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น แต่อีก ๕.๕ ล้านคนยังคงอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
                      
                  ..... สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการปนเปื้อนของซีเซียมและสตรอนเทียม ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังฝังแน่นอยู่ตามผืนดิน และหลังจากเกิดอุบัติเหตุระเบิด ก็พบกัมมันตรังสีปนเปื้อนอยู่ในทุกๆ ประเทศที่เหนือขึ้นไปตามทิศทางลมที่พัดพา
                      
                  ..... ที่แย่กว่านั้นคือบางประเทศที่ได้รับกระแสลมพัดตรงมาจากเชอร์โนบิล พร้อมกับฝนที่นานๆ ครั้ง จึงทำให้การปนเปื้อนมีมากกว่าพื้นที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุด้วยซ้ำ อย่างเช่นประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ได้รับผลกระทบรุนแรงไม่แพ้กันเพราะ อยู่ในทิศทางลมพอดี อีกทั้งฟาร์มบางแห่งบนเกาะอังกฤษก็ยังปรากฏการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสี อีกด้วย
                      
                  - สุขภาพผู้เคราะห์ร้าย...รับกัมมันตภาพรังสีสะสม
                      
                  ..... จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดที่เชอร์โนบิลมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุจำนวนผู้เสียชีวิตว่ามีถึง ๙,๐๐๐ รายด้วยมะเร็งอันเนื่องมาจากการรับสารรังสีเข้าไป แต่ก็ยังมีอีกจำนวนมากที่ประสบปัญหาทั้งทางด้านภาวะเศรษฐกิจและสุขภาพจิตอีก ด้วย
                      
                  ..... ขณะเดียวกันกรีนพีซก็เชื่อว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพน่าจะมากกว่า ที่ยูเอ็นคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะเสียชีวิตด้วยมะเร็งน่าจะสูงถึง ๙๓,๐๐๐ คน และโรคอื่นๆ อีกถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน
                      
                  ..... โรคที่เห็นเด่นชัดว่าเป็นผลพวงมาจากการรั่วไหลของกัมมัตภาพรังสีคือมะเร็ง ที่ต่อมไทรอยด์ โดยพบมากถึง ๔,๐๐๐ คน ซึ่งส่วนใหญ่กำลังเป็นเด็กและวัยรุ่นในช่วงที่เกิดเหตุระเบิด และกรีนพีซยังเชื่อว่าน่าจะมีอีก ๖๐,๐๐๐ รายที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ จากจำนวนผู้ป่วย ๒๗๐,๐๐๐ รายที่เป็นมะเร็งชนิดต่างๆ อันเป็นผลมาจากกัมมันตภาพรังสี
                      
                  ..... อย่างไรก็ดี การระเบิดครั้งนี้ กลายเป็นบทเรียนสำคัญของมนุษย์ในการนำวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ โดยต้องมีความละเอียดรอบคอบ และเตรียมรับมือกับผลกระทบเป็นอย่างดี ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ได้ตั้งหน่วยรับมือฉุกเฉินที่กรุงเวียนนาของออสเตรียเมื่อปี ๒๕๒๙ มีอุปกรณ์การสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเอกสารและฐานข้อมูลที่จำเป็นในกรณีเกิดอุบัติเหตุสารกัมมันตภาพรังสี รั่วไหล มีเจ้าหน้าที่ประจำการ ๓๐ คน ตลอด ๒๔ ชั่วโมง และมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์พร้อมเดินทางไปยังที่เกิดเหตุใน ประเทศต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือและประเมินสถานการณ์ โดยหวังว่าจะพยายามป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก

ในภาพ : ความเสียหายจากเชอร์โนบิลระเบิด....

                  
ชมเมืองกันก่อนนะ......บริเวณที่เรียกว่าคิเอโว-เปเชรสก้า ลาฟรา ....
                 
สภาพการจราจรในกรุงเคียฟ ......
                
โบสถ์ออร์โธด็อกซ์ เซนต์ แอนดรูว์
            ความสัมพันธ์กับรัสเซีย.......

                  - ช่วงแรก

                  ..... ในช่วง ๑๐ ปีแรก หลังการแยกตัวจากสหภาพโซเวียต ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ตะวันตก หันไปให้ความสำคัญกับสหรัฐ ฯ และประเทศตะวันตก และพยายามหลีกหนีอิทธิพลของรัสเซีย ในขณะที่รัสเซียก็ไม่สามารถยอมรับการเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ของยูเครนได้ เนื่องจากยูเครนหรือ Little Russia ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซียมาโดยตลอด พร้อมกันนี้ ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวยูเครนกับชาวรัสเซียที่อาศัยอยู่ในยูเครน ได้ปะทุขึ้นภายหลังจากที่ยูเครนประกาศเอกราชจากรัสเซีย ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียกับยูเครนหลาย ครั้ง อาทิ การแย่งชิงแหลมไครเมีย และปัญหากรรมสิทธิกองเรือของรัสเซียในทะเลดำ เป็นต้น ทั้งนี้ ความพยายามลดการพึ่งพารัสเซียทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดได้แก่ การที่ยูเครนพยายามแสวงหาแหล่งน้ำมันและพลังงานจากแหล่งอื่นๆ นอกเหนือจากรัสเซีย เช่น อิหร่าน และดินแดนปกครองตนเองในรัสเซีย

                  - ปัจจุบัน

                  ..... ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับรัสเซียได้กลับมาใกล้ชิดกันมากขึ้น หลังจากที่ได้ห่างเหินเป็นเวลายาวนานในช่วงหลังการประกาศอิสรภาพ การปรับความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ประเทศ ซึ่งเริ่มจากการลงนามในความตกลงเพื่อหาข้อยุติสำหรับปัญหากองเรือทะเลดำ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๙๗ ทั้งนี้ ความตกลงฯ ได้กำหนดให้รัสเซียได้สิทธิในการเช่าฐานทัพเรือยูเครนที่เมืองเซวาสโตโพล (Sevastopol) เพื่อเป็นที่ตั้งกองเรือของตนต่อไปอีก ๒๐ ปี

                  ..... ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อร่วมมือกันในด้านต่างๆ (Bilateral Commission) และรวมไปถึงการพิจารณาปัญหาความขัดแย้งในการปักปันเขตแดน การจัดทำแผนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ๑๐ ปี (ปี ค.ศ. ๑๙๙๘ - ๒๐๐๗) ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสองประเทศในเรื่องการปฏิรูป เศรษฐกิจ แนวทางในการร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและแนวทางในการขยายปริมาณการค้า ระหว่างกัน รวมทั้งความร่วมมือในสาขาต่างๆ กว่า ๑๐๐ โครงการ เช่น ด้านการบิน การพลังงาน การสำรวจอวกาศ เป็นต้น ซึ่งแผนความร่วมมือดังกล่าว จะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างยูเครนกับ รัสเซีย ซึ่งมีมูลค่า ๑๔ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ให้เพิ่มขึ้นอีกสองเท่าครึ่งในอีก ๑๐ ปี ข้างหน้า นอกจากนั้น ยังมีความตกลงระหว่างรัฐบาลอีกหลายฉบับ เช่น ความร่วมมือด้านการสื่อสาร การศึกษาและการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมร่วม เพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงพัฒนาการความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัสเซียกับยูเครน รวมทั้งได้มีการลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือและมิตรภาพ (Treaty of Friendship, Co-operation and Partnership) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๙๗ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรบนพื้นฐานของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (strategic partnership) การเคารพซึ่งกันและกัน และในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างกันอย่างแน่นแฟ้นต่อไป และผู้นำทั้งสองเห็นพ้องที่จะให้จัดตั้งคณะทำงานร่วม anti-crisis group เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และยืนยันที่จะผลักดันรัฐบาลของแต่ละฝ่ายให้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการ แก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ

                  ..... เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๒ นายกรัฐมนตรีมิกฮาอิล คาสยานอฟ ของรัสเซียและนายกรัฐมนตรีอนาโตลีย์ กินัค ของยูเครนในขณะนั้น ได้ลงนามร่วมกันในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ นายอเล็กเซย์ มิลเลอร์ ประธานกรรมการบริษัทกาสพร็อม( Gazprom ) ของรัสเซียก็ได้ลงนามในเอกสารร่วมกับนายยูไรย บุยโก ประธานกรรมการบริษัท Nallogaz Ukrainy ของยูเครน เพื่อการจัดตั้งองค์กรร่วมทุนระหว่างประเทศ ( international consortium ) เพื่อพัฒนาและดำเนินการเกี่ยวกับระบบการขนส่งก๊าซในยูเครน โดยองค์กรดังกล่าวจะจัดตั้ง จดทะเบียน และดำเนินการภายใต้กฎหมายของยูเครน โดยสำนักงานจะตั้งอยู่ที่กรุงเคียฟ และในอนาคตรัสเซียและยูเครนจะเปิดโอกาสให้บริษัทต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กรร่วมทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ รัสเซียและยูเครนได้เคยลงนามในสัญญาร่วมกันเพื่อการขนส่งก๊าซจากรัสเซียผ่าน ท่อก๊าซของยูเครนถึงปี ค.ศ. ๒๐๑๓ ไม่ต่ำกว่า ๑๑๐ พันล้านคิวบิกเมตร และปัจจุบัน รัสเซียส่งก๊าซไปยังยุโรปโดยผ่านระบบท่อส่งก๊าซในยูเครนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของนางทิโมนเชนโก น่าจะลดความสำคัญในการร่วมมือกับรัสเซียลงกว่ารัฐบาลชุดที่แล้ว

                  - ความขัดแย้งเรื่องราคาก๊าซธรรมชาติระหว่างยูเครนกับรัสเซีย

                  ..... ก่อนหน้านี้ ยูเครนและรัสเซีย ได้เจรจาข้อขัดแย้งในกรณีที่รัสเซียระงับการจ่ายก๊าซธรรมชาติให้ยูเครน หลังจากที่ยูเครนไม่ยอมตามที่รัสเซียประกาศจะขึ้นราคาก๊าซ ๔ เท่า จากเดิม ๕๐ ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร เป็น ๒๒๐-๒๓๐ ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ตามราคาตลาดยุโรป เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ยูเครน และประเทศต่างๆ ในยุโรป ซึ่งนำเข้าก๊าซจากรัสเซียผ่านท่อก๊าซในยูเครน ประสบกับปัญหาด้านพลังงาน ท่ามกลางภูมิอากาศที่หนาวเย็นที่สุดในรอบหลายปี ในเบื้องต้น ยูเครนและรัสเซียสามารถตกลงกันได้ในระดับหนึ่ง โดยยูเครนจะนำเข้าก๊าซจากรัสเซียผ่านบริษัทโรซูเครเนอรโก( Rosukrenergo ) ซึ่งรัสเซีย ถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่ง โดยบริษัท Rosukrenergo จะซื้อก๊าซจากรัสเซียในราคา ๒๓๐ ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร และขายก๊าซที่ตนซื้อจากเติร์กเมนิสถาน ซึ่งมีราคาถูกกว่าให้ยูเครนในราคา ๙๕ ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา ๕ ปี ทั้งนี้ สำหรับปี ๒๕๕๑ รัฐบาลยูเครนภายใต้การนำของนายยานูโควิช อดีตนายกรับมนตรี ได้ลงนามความตกลงกับรัสเซียที่จะนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียในราคา ๑๗๙.๕ ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งขึ้นจาก ๑๓๐ ดอลลาร์สหรัฐในปี ๒๕๕๐

                  - ความขัดแย้งบริเวณช่องแคบเคิร์ช( Kerch )

                  ..... ช่องแคบเคิร์ชตั้งอยู่ระหว่างเกาะทุซล่าของยูเครนและตามัน เพนินซูลา ของรัสเซีย และเป็นช่องทางผ่านจากทะเลอาซอฟเข้าสู่ทะเลดำ ซึ่งนับตั้งแต่การประกาศเอกราชของยูเครนจากสหภาพโซเวียต ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุการเจรจาปักปันเขตแดนในบริเวณนี้ แต่เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๓ รัสเซียได้เริ่มสร้างเขื่อนในบริเวณช่องแคบเคิร์ช เพื่อเชื่อมชายฝั่งบริเวณคาบสมุทรตามันของรัสเซีย เข้ากับเกาะทุซลา ของยูเครน โดยอ้างว่าเขื่อนดังกล่าวจะช่วยลดการพังทลายของพื้นที่ชายฝั่งของ
ในภาพ : ป๋ายุชเชนโกและป๋าปู...
รัสเซีย แต่ยูเครนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยทางดินแดนของตน จึงได้ส่งกองทัพเข้าไปประจำการในเกาะทุซลา และทำการซ้อมรบในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งรัฐสภายูเครนได้ลงมติว่า การกระทำของรัสเซียถือได้ว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นมิตร ทำให้เกิดสถานการณ์การเผชิญหน้าที่ตึงเครียดระหว่างสองประเทศ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายได้พยายามเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในหลายระดับ โดยการเจรจาครั้งสำคัญมีขึ้นระหว่างประธานาธิบดีคุชม่าของยูเครน และประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย ที่แหลมไครเมีย เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๐๓ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการใช้ประโยชน์ร่วมกันบริเวณ ช่องแคบเคิร์ช และทะเลอาซอฟ และล่าสุดมีรายงานข่าวว่า การเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซียรอบแรกว่าด้วยการปักปันเขตแดนทางทะเลบริเวณ ช่องแคบเคิร์ช และทะเล อาซอฟ จะจัดขึ้นที่กรุงมอสโก ระหว่างวันที่ ๒๙-๓๐ มกราคม ค.ศ. ๒๐๐๔

   
โบสถ์เซนต์ โซเฟีย....
              
   โบสถ์เซนต์ จอร์จ...
                 
โบสถ์เซนต์ แอนดรูว์ไกล ๆ ....
 
        ในภาพขวาบน.....อ่านว่า ปาฌาลุสต้า บุดที่ อัคคูราทนึย !!!! โปรดอะไรก็ชมภาพกันเองนะครับ อิอิ
               สภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจของยูเครน.....

                  - ผลิตภัณฑ์ทางเกษตรกรรม ธัญพืช หัวบุก เมล็ดทานตะวัน ผัก เนื้อวัว นม

                  - อุตสาหกรรมถ่านหิน พลังงานไฟฟ้า เหล็กและแปรรูปเหล็ก

                  - สินค้าส่งออกที่สำคัญ โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เชื้อเพลิงและพลังงาน เคมีภัณฑ์ อาหาร

                  - ตลาดส่งออกที่สำคัญ รัสเซีย ตุรกี อิตาลี

                  - สินค้านำเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิงและพลังงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ อาหาร

                  - ตลาดนำเข้าที่สำคัญ รัสเซีย เยอรมนี เติร์กเมนิสถาน จีน

                  ..... เศรษฐกิจของยูเครนได้มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นโดยลำดับ โดยมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ ๒ ในประเทศในเครือรัฐเอกราช รองจากรัสเซีย ยูเครนยังมีปัจจัยเสี่ยงสำหรับการลงทุนทำธุรกิจ ได้แก่ ปัญหาด้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล ระบบมาเฟีย และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร อีกทั้งยูเครนยังคงมีความแตกต่างอย่างมากในระดับการพัฒนาของเมืองใหญ่และเขต ชนบทที่ห่างไกล ส่งผลให้ประชาชนในชนบทไม่ได้รับโอกาสทางเศรษฐกิจ และมีอัตราการว่างงานในระดับสูง นอกจากนี้ การระเบิดของโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เมืองเชอร์โนบิล (Chernobyl) เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๖ ยังทำให้ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกได้รับสารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งส่งผลให้ผลิตผลการเกษตรของยูเครนมีปริมาณและคุณภาพลดลง

                  ..... ในด้านการลงทุน รัฐบาลยูเครนส่งเสริมการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ โดยได้ออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุนซึ่งให้สิทธิชาวต่างชาติซื้อและครอบครอง ที่ดินและทรัพย์สิน รวมทั้งโอนรายได้และผลกำไรจากการประกอบธุรกิจไปต่างประเทศได้ เงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ในยูเครน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมหนัก และการผลิตเครื่องจักรกล โดยประเทศผู้ลงทุนสำคัญในยูเครน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไซปรัส สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และรัสเซีย ตามลำดับ ในปัจจุบัน กิจการและการลงทุนที่มีแนวโน้มขยายตัวดีในยูเครน ได้แก่ การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และการผลิตเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย และอาคารพาณิชย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการขยายตัวที่สูงมาก อันเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และจากการที่อาคารเก่าที่มีอยู่เสื่อมโทรมลง และความต้องการอาคารที่พักอาศัยในเมืองเพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการก่อสร้างของยูเครนเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง ดังนั้น รัฐบาลยูเครนจึงได้ออกมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อช่วยเหลือบริษัท ก่อสร้างในท้องถิ่นให้สามารถดำเนินการในโครงการก่อสร้างได้จนสำเร็จ

                  ..... ยูเครนมีความชำนาญด้านอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทางทหาร ทั้งนี้ เนื่องจากเคยเป็นแหล่งผลิตอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารที่สำคัญที่สุดในสมัยสหภาพ โซเวียต นอกจากนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กและโลหะต่างๆ โดยเป็นประเทศที่ส่งออกเหล็กอันดับ ๗ ของโลก อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพได้แก่ การผลิตโลหะ อุตสาหกรรมด้านวิศวกรรม เครื่องกล เหมืองแร่ อุตสาหกรรมต่อเรือ การผลิตรถยนต์และเครื่องบินขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดี ยูเครนยังขาดประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมเบา ซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในระยะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

                  ..... ยูเครนยังเป็นประเทศหน้าด่านระหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะการที่เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและน้ำมันเข้าสู่ยุโรปของรัสเซีย นอกจากนี้ ยังมีศักยภาพทางนิวเคลียร์ที่สืบทอดมา โดยมีนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ ๓ ของโลก เมืองโอเดสซ่า เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของยูเครน และเป็นศูนย์กลางการเดินเรือหลักในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรบอลข่าน ประเทศคู่ค้าที่สำคัญได้แก่ รัสเซีย อิตาลี เยอรมนี โปแลนด์ และตุรกี

                  ..... นิตยสาร The Economist ได้คาดการณ์ว่าในปี ๒๕๕๑ GDP จะต่ำลงเนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กที่ซบเซาลง และอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นเนื่องจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น

                  ..... หน่วยเงินตราของยูเครน ..Hryvnia (กริฟน่า) ๑ USD = ๕.๐๕ Hryvnia (๑๔ มกราคม ๒๕๕๑)


           สาวยูเครนครับ
             ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่ม CIS

                  ..... ยูเครนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับโปแลนด์ และมีบทบาทสำคัญในกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) รองจากรัสเซีย รวมทั้งมีบทบาทนำในองค์กรในระดับอนุภูมิภาค อาทิ กลุ่ม GUUAM (Georgia-Ukraine-Uzbekistan-Azerbaijan-Moldova) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศ CIS ที่นิยมตะวันตกและสนับสนุนให้ CIS รวมตัวเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น กลุ่ม Organization for Black Sea Economic Cooperation และอยู่ในกลุ่มความร่วมมือ Common Economic Space (CES) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่าง รัสเซีย ยูเครน เบลารุส และคาซัคสถาน นอกจากนี้ ยูเครนยังมีแผนที่จะร่วมมือกับอาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย และมอลโดวา ในการสร้างท่อลำเลียงน้ำมันจากริมฝั่งทะเลสาบแคสเปียนโดยไม่ผ่านดินแดนของ รัสเซียเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจและอิทธิพลรัสเซียในภูมิภาคนี้ เนื่องจากปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ผูกขาดการขนส่งน้ำมันจากทะเลสาปแคสเปียนไป ยังตลาดตะวันตกแต่เพียงผู้เดียว ...

                  ................................................................................................

                  ใน ภาพ : ประธานาธิบดียูชเชนโกเมื่อครั้งเดินทางเยือนคาซัคสถาน หนึ่งในกลุ่มชาติ CIS ระหว่างพิธีการต้อนรับในกรุงอัสตานา ร่วมกับประธานาธิบดีนูร์สุลต่าน นาซาบาเยฟ....
            ความสัมพันธ์ทั่วไประหว่างราชอาณาจักรไทยและยูเครน....

                  ๑. ความสัมพันธ์ด้านการเมือง

                  ..... ไทยมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับยูเครนตั้งแต่ยูเครนยังเป็นส่วนหนึ่งของ จักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียตตามลำดับ หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในช่วงปลายปี ๒๕๓๔ โดยสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งเคยรวมเป็นสหภาพโซเวียต ได้แยกตัวออกเป็นอิสระ และประกาศตัวเป็นเอกราชรวม ๑๒ ประเทศ ไทยได้ให้การรับรองเอกราชของประเทศเหล่านี้ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๔ ต่อมาไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับยูเครน เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๓๕ โดยให้อยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก ส่วนยูเครนได้ตั้งสถานเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ โดยมีนายอีกอร์ ฮูเมนนี (Ihor Humennyi) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทย

                  ..... ความสัมพันธ์ทวิภาคีดำเนินไปอย่างราบรื่น มีกลไกที่พร้อมสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์ในระดับหนึ่ง โดยมีความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Commission) ระหว่างไทยกับยูเครน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕ เป็นกลไกหลักในการพัฒนาความสัมพันธ์

                  ๒. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

                  ..... ยูเครนเป็นคู่ค้าอันดับ ๒ ของไทยในเครือรัฐเอกราชรองจากสหพันธรัฐรัสเซีย สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ เครื่องไฟฟ้า ผลไม้กระป๋อง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้า สินแร่โลหะอื่นๆ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์

                  ..... ยูเครนยังเป็นตลาดใหม่ที่นักลงทุนชาวไทยให้ความสนใจน้อย โดยนอกจากอุปสรรคในการขนส่งสินค้า ซึ่งใช้เวลานานกว่าเดือน และมีต้นทุนสูงแล้ว ก็ยังขาดข้อมูลในการดำเนินธุรกิจและการลงทุนระหว่างกัน ดังนั้น นักธุรกิจไทยจึงมีความสนใจในตลาดนี้ค่อนข้างน้อย เช่นเดียวกับนักธุรกิจยูเครนที่มีความสนใจในตลาดของไทยน้อยเช่นกัน ปัจจุบันยังไม่ปรากฏการลงทุนของยูเครนในไทย และการลงทุนของไทยในยูเครน

                  ความตกลงที่สำคัญกับไทย

                  ความตกลงสำคัญที่ได้ลงนามแล้ว

                  - บันทึกความเข้าใจระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมยูเครน
                  - ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย-ยูเครน
                  - ความตกลงว่าด้วยการปรึกษาหารือและความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ
                  - ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ
                  - อนุสัญญาเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน
                  - บันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไทยและหน่วย งานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินยูเครน เกี่ยวกับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวของ กับการฟอกเงิน

                  ความตกลงลงนามแล้ว แต่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อให้มีผลใช้บังคับ
                  - ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต ราชการ และพิเศษ

                  ความตกลงที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของไทย

                  - ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
                  - ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า
                  - ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม
                  - ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือทางกฎหมายในคดีอาญา
                  - ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                  - ความตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
                  - บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่าง จังหวัดระยองกับภูมิภาค Zaporizka และจังหวัดภูเก็ตกับไครเมีย

                  ความตกลงที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของยูเครน

                  - ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการทหารและวิชาการ
                  - ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว


                  ธงชาติยูเครน....

                  ..... ยูเครนก่อตั้งรัฐเอกราชในปี ๑๙๑๘ แต่กลับตกอยู่ใต้การควบคุมของโซเวียตหนึ่งปีหลังจากนั้น และก็อยู่ใต้การควบคุมต่อมาจนได้เอกราชในปี ๑๙๙๑

                  ..... ธงสองสีที่อยู่บนเสาธงของยูเครนปัจจุบัน เป็นธงราชการของเมืองนี้มาตั้งแต่ปี ๑๙๑๘ ครั้งที่ยูเครนมีเอกราชในช่วงสั้น ๆ แต่เมื่อถูกกองทัพแดงรุกราน จึงมีการระงับใช้ธงนี้ไปกระทั่งพวกเยอรมนีเข้ายึดครองในช่วงปี ๑๙๔๑-๑๙๔๔ หลังสงครามผ่านไป ธงก็ยังถูกห้ามใช้ต่อไปอีก เพราะสหภาพโซเวียตเข้ายึด จนเมื่อยูเครนได้รับเอกราชในปี ๑๙๙๑ แล้วนั่นเอง ยูเครนจึงได้กลับมาใช้ธงเดิมของตัว


  ความหมายบนผืนธง

  สีฟ้า แทน ท้องฟ้า
 สีเหลือง แทน สีธัญพืชในทุ่งกว้าง สัดส่วนผืนธง ๒ ต่อ ๓ ....



                  ตราแผ่นดิน.....

                  ..... สีฟ้าและสีเหลืองเป็นสีประจำชาติ

                  ..... สามง่ามของเซนต์ โวโลดีมีร์

                  ..... สามง่ามมีการใช้มาตั้งแต่สมัยโรมัน














                  Shche ne vmerla Ukrainy......( ถ่ายอักษรเป็นภาษาอังกฤษ )

                  Shche ne vmerla Ukrayina, ni slava, ni volya,
                  Shche nam, brattia ukrayintsi, usmikhnet'sia dolia.
                  Z-hynut' nashi vorozhen'ky, yak rosa na sontsi,
                  Zapanuyem i my, brattia, u svoyiy storontsi.

                  CHORUS x2

                  Dushu y tilo my polozhym za nashu svobodu
                  I pokazhem, shcho my, brattia, kozats'koho rodu.

                  Stanem brattia, v biy kryvavy, vid Sianu do Donu
                  V ridnim kraiu panuvaty ne damo ni komu.
                  Chorne more shche vsmikhnetsia, did Dnipro zradiye,
                  Shche na nashiy Ukrayini dolen'ka naspiye.

                  CHORUS

                  A zavziatta pratsia shchyra svoho shche dokazhe,
                  Shche sia voli v Ukrayini pisn' huchna rozliazhe.
                  Za Karpaty vidibiet'tsia z-homonyt' stepamy,
                  Ukrayiny slava stane pomizh narodamy.

                  CHORUS

                  Ukraine has not perished, neither her glory, nor freedom,
                  Upon us, fellow--Ukrainians, fate shall smile once more.
                  Our enemies will vanish, like dew in the morning sun,
                  And we too shall rule, brothers, in a free land of our own.

                  CHORUS

                  We'll lay down our souls and bodies to attain our freedom,
                  And we'll show that we, brothers, are of the Cossack nation.

                  We'll stand together for freedom, from the Syan to the Don,
                  We will not allow others to rule in our motherland.
                  The Black Sea will smile and grandfather Dnipro will rejoice,
                  For in our own Ukraine fortune shall flourish again.

                  CHORUS

                  Our persistence and our sincere toils will be rewarded,
                  And freedom's song will resound throughout all of Ukraine.
                  Echoing off the Carpathians, and rumbling across the steppes,
                  Ukraine's fame and glory will be known among all nations.

                  CHORUS



   

            ขอขอบคุณ...

    ...ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ
  ...อิงวิกิเปเดีย
  ...คอสมอส..ธงนานาชาติ
  ...ไอพียู.คอม
...ฟริค เคอาร์
...และสุดท้ายเพื่อน ๆ สมาชิกที่แวะเวียนเข้ามาให้กำลังใจกันครับ

  ภาพส่งท้าย.....สาว ๆ จากยูเครน...

 Cradit: คุณนกสุโขทัย http://worldwindow.pantipmember.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ads Inside Post