Wright brothers สองพี่น้องตระกูลไรท์ พี่น้องที่สร้างประวัติศาสตร์ของเครื่องบิน

วิลเบอร์ ไรต์
ออวิลล์ ไรต์
วิลเบอร์และออร์วิลล์ ไรต์ (Wilbur-Orville Wright) เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ทั้งคู่เกิดวันเดียวกัน คนละปี วิลเบอร์เกิดในปี ค.ศ. ๑๘๖๗ ส่วนออร์วิลล์เกิดปี ค.ศ. ๑๘๗๑ แม้จะห่างกันถึงสี่ปีเต็ม แต่สองพี่น้อง ก็ผูกพันกันเหมือนเด็กแฝด

    "เรามักจะเล่นด้วยกัน ทำงานด้วยกัน และคิดด้วยกัน"

    มิลตัน ไรต์ ผู้เป็นบิดา เป็นบิชอปของโบสถ์ยูไนเต็ด เบรเทรน เขามักจะจากบ้านไปคราวละหลายเดือน แต่ก็ไม่ละเลยที่จะดูแลอบรมบุตร คำสอนที่เขาเฝ้าย้ำแก่ลูก ๆ ก็คือ การทำงานหนัก ตั้งใจมุ่งมั่น จะนำมาซึ่งความสำเร็จ ส่วนซูซานผู้เป็นมารดานั้น มีพรสวรรค์ ในการซ่อมเครื่องจักรเครื่องกล เธอมักจะถ่ายทอดวิชา การซ่อมสร้างเครื่องกลต่าง ๆ ให้แก่ลูก ๆ อยู่เสมอ ในวัยเด็ก วิลเบอร์กับออร์วิลล์ ใช้เวลาเกือบทั้งหมด ในการเล่นว่าว และรื้อเครื่องจักรกลทุกอย่าง ที่ขวางหน้า
    ครอบครัวไรต์ย้ายจากเมืองมิลวิลล์ มลรัฐอินเดียนา มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองเดย์ตัน มลรัฐโอไฮโอ พี่ชายสองคน คือ รูชลินและลอริน ย้ายออกจากครอบครัว เหลือแต่เพียงวิลเบอร์ ออร์วิลล์ และแคเทอรีน น้องสาวคนเล็ก
    ในปี ค.ศ. ๑๘๘๙ ซูซานเสียชีวิตจากวัณโรค ส่วนแคเทอรีนก็ออกจากบ้าน ไปเรียนมหาวิทยาลัยในโอไฮโอ มีเพียงแม่บ้านดูแลวิลเบอร์และออร์วิลล์ แคเทอรีนสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. ๑๘๙๘ และเดินทางกลับมา เป็นครูสอนหนังสือในเดย์ตัน(http://www.sarakadee.com/feature/2001/04/wright.htm)

..............................................................................................................................................................

ใน อดีต การที่ใครสักคนจะเหาะเหินเดินอากาศได้นั้น เป็นเพียงตำนานที่กล่าวถึงผู้มีอิทธิฤทธิ์และใช้เวทมนต์เท่านั้น ความคิดเหล่านี้พบได้ตามนิทาน ภาพวาดสมัยโบราณ หรือภาพสลักโบราณสถานและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ



ภาพการเหาะเหินเดินอากาศในนิยายปรัมปรา ของสองพ่อลูก Icarus & Daedalusของกรีก ที่ได้สร้างปีกจากขนนกติดด้วยขี้ผึ้ง บินหลบหนีจากเงื้อมมือของกษัตริย์ไมนอสแห่งครีตจากเกาะที่คุมขัง



ภาพ a flying machine การออกแบบเครื่องมือที่ใช้สำหรับการบิน ของลีนาโน ดาวิน ซี (Leonardo da Vinci) ศิลปิน เอกของโลกชาวอิตาลี ได้ริเริ่มทำการบินโดยศึกษาการทำงานของปีกนก เขาประดิษฐ์ปีกนกขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อติดเข้ากับแขน และร่อนลงมาจากที่สูง แต่ผลการทดลองไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ทำการบินต้องตกลงมาไม่เป็นท่าจนได้รับบาดเจ็บ

เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วที่ได้มนุษย์เฝ้าสังเกตดูนกและปรารถนาที่จะบินได้เช่นมัน ความ พยายามที่จะอยู่เหนือธรรมชาติของมนุษย์ได้ผลักดันให้เกิดการคิดค้นหาวิถีทาง ที่จะโบยบินอยู่ในอากาศให้ได้ เริ่มจากการสร้างปีกเพื่อช่วยบินตามจินตนาการที่ได้จากปีกนกนั้นเอง และบินโดยการร่อนลงมาจากที่สูง หลายการทดลองที่ต้องเจ็บตัว หรือบางครั้งก็สร้างแรงบันดาลใจได้บ้างเมื่อเขาผู้นั้นสามารถลอยอยู่ในอากาศ ได้สักเสี้ยววินาที การทดลองและค้นคว้ายังดำเนินต่อไปแม้จะล้มเหลวไม่เป็นท่าและขัดแย้งกับ ศรัทธาของความเชื่อบางศาสนา

หากจะนับเอาว่าสิ่งใดคือสิ่งประดิษฐ์ชนิดแรกที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้เดินทางบนท้องฟ้าก็คงต้องยกให้กับบอลลูน เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 1783 ยีน ฟรังซัว พีเล (JEAN FRANCOIS PELE) และมาควิสเคอ อาลาน ได้ทำการบินบอลลูนอากาศร้อน Mongolfier สำเร็จ และต่อมาอีกเพียง 2 เดือน ในเดือนธันวาคม เจ.เอ.ชารส์ (J”A” CHARLES) นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้มีการพัฒนาเป็นบอลลูนชนิดที่บรรจุก๊าซไฮโดรเจนสำเร็จ สามารถใช้เวลาอยู่ในอากาศได้ถึง 1 ชม. 15 นาที และลอยไปไกลจากจุดปล่อย 27 ไมล์ ถัดจากบอลลูน สิ่งประดิษฐ์สำหรับการเดินทางในอากาศก็มาถึงคิวของเครื่องร่อน จากความสำเร็จของ Otto Lilienthal ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเครื่องร่อนชาวเยอรมัน ที่ทำการบินด้วยเครื่องร่อนของตัวเองนับพันครั้ง แต่เป็นที่น่าเสียดาย เขาจบชีวิตลงเมื่อ วันที่ 10 ส.ค.1896 ด้วยวัยเพียง 48 ปีเท่านั้น เนื่องจากเครื่องร่อนของเขาตกกระทบพื้น



หลัง จากนั้นประเทศต่างๆก็ได้มีการพัฒนาเครื่องอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าจะล้มเหลวเพียงใดความพยายามของมนุษย์ก็ไม่เคยหยุด จึงทำให้ประวัติศาสตร์ได้ถึงเวลาบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางการบินในที่สุด ในวันที่สองพี่น้องตระกูลไรต์ลุกขึ้นมาทำในสิ่งที่ขัดกับความเชื่อของคน กลุ่มใหญ่ สิ่งที่เกือบทุกคนมองว่า เป็นไปไม่ได้ ในเวลานั้นเขาทั้งสองจึงถูกมองไม่ต่างอะไรกับ “คนเสียสติ” เป็น คนบ้าที่หาญกล้าจะโบยบินเยี่ยงนก แต่สุดท้ายทั้งสองก็ได้ทำให้โลกเริ่มเชื่อว่า การสร้างยานพาหนะที่จะนำมนุษย์ขึ้นสู่ท้องฟ้านั้นเป็นความจริง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้แค่ในนิยายปรำปราเท่านั้น

พี่น้องตระกูลไรต์ทั้งสองเป็นชาวอเมริกัน ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องบินแบบติดเครื่องยนต์ลำแรกของโลก ได้แก่ วิลเบอร์ ไรต์ (Wilbur Wright) เกิดเมื่อเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) เมืองมิลล์ วิลลี่ (Milk Willie) มลรัฐอินเดียนา (Indiana) และออวิลล์ ไรต์ (Orville Wright) เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) ที่เมืองเดย์ตัน (Dayton) มลรัฐโอไฮโอ (Ohio) ภายหลังผู้พี่ 4 ปี


ภาพ The Wright family. From left: Wilbur, sister Katharine, mother Susan, brother Lorin, father Bishop Milton Wright, brother Reuchlin, Orville.
บิดาของเขาเป็นนักบวชชื่อว่า มิลตัน ไรท์ (Milton Writhe) ส่วนมารดาชื่อว่า ซูซาน ไรท์ (Susan Writhe) ใน วัยเด็กทั้งคู่มีสนใจหลงใหลเรื่องการบิน รวมทั้งการได้เรียนรู้เรื่องเครื่องจักรจากแม่ ทำให้ในวัยเด็กของสองพี่น้องพากันใช้เวลาไปกับการรื้อและเล่นเครื่องจักรกล แบบต่างๆตามแต่จะหามาได้

ทั้งสองได้รับการศึกษาเพียงแค่ชั้นมัธยมเท่านั้น และไม่ได้ร่ำเรียนวิชาทางด้านวิศวะแต่อย่างใด เมื่อ เข้าสู่วัยรุ่นทั้งสองได้ช่วยงานบิดาในการทำจดหมายข่าวของโบสถ์ หลังจากนั้นจึงได้แยกออกเปิดโรงพิมพ์ และร้านซ่อมจักรยานขึ้นที่เมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ ในสมัยนั้นจักรยานได้รับความนิยมอย่างสูงในอเมริกา ธุรกิจเกี่ยวกับจักรยานของทั้งสองไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ การผลิต รวมทั้งบริการซ่อม จึงประสบความสำเร็จทำให้มีฐานะที่ร่ำรวยมาก



แต่ ไม่ว่าอย่างไรการบินก็ยังคงเป็นความฝันของสองพี่น้อง โดยเฉพาะเมื่อได้แรงบันดาลใจเมื่ออ่านบทความที่เขียนโดยนักสร้างเครื่องร่อน ชาวเยอรมัน Otto Lilienthal ทั้ง สองจึงมีความใฝ่ฝันที่จะบินอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางด้านนี้ แต่ทั้งคู่ก็สนใจที่จะแสวงหาความรู้เรื่องเครื่องยนต์กลไกอยู่เสมอ การหาความรู้มาตอบสนองฝันของทั้งคู่จริงจังอย่างมาก พวกเขาอ่านมากเท่าที่จะมากได้ เฝ้าติดตามข่าวคราวในแวดวงการบิน และติดตามผลงานของนักประดิษฐ์อยู่เสมอ และเมื่อได้ข่าวเศร้าจากการทดลองเครื่องร่อนในเยอรมนีของ Otto Lilienthal ที่ล้มเหลวจนทำให้ Lilienthal ต้องเสียชีวิต ก็ยิ่งกระตุ้นให้ทั้งสองต้องการที่จะสร้างเครื่องบินให้สำเร็จ

ไม่ ใช่จะมีเพียงพี่น้องไรท์เท่านั้นที่พยายามทำการสร้างยานพานะที่บินได้ ในยุคนั้นต่างก็มีผู้คนทางทั่วสารทิศพยายามคิดค้นออกแบบกลไกอย่างมานะ เพื่อที่จะได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้แรกแห่งการบิน บางคนเป็นนักประดิษฐ์เต็มตัวอุทิศเวลาหลักของชีวิตเพื่อคิดค้นการสร้าง เครื่องบิน แต่สำหรับพี่น้องตระกูลไรท์ ในเวลานั้นทั้งสองมีภาระหลัก นั้นก็คือดูแลโรงงานจักรยาน และใช้เวลาว่างในการประดิษฐ์เครื่องบิน

ในปี 2453 ทั้งสองได้เขียนจดหมายไปยังสถาบันสมิธโซเนียน(The Smithsonian Institute) เพื่อ ขอข้อมูลเกี่ยวกับการบิน จากการศึกษาทำให้พวกเขาสรุปปัจจัยที่จะทำให้สามารถบินได้นั้นประกอบไปด้วย เรื่องอขง การยกตัว การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และการควบคุมการบิน และแน่นอนว่าในขณะนั้น แนวคิดทฤษฎีต่างๆ ที่มีอยู่ยังไม่มีข้อมูลมากนัก และนี่คือสิ่งที่สองพี่น้องจะต้องร่วมกันหาแสงสว่างเพื่อไขปริศนาแห่งการบิน ให้เจอ พวกเขาต้องทำการทดลองบินและเก็บความรู้ประสบการณ์ต่างๆ นานนับปี ค่อยๆได้เรียนรู้ถึงทักษะในการควบคุมทิศทาง การทำให้เครื่องยกตัวขึ้น หลักการที่จะทำให้เครื่องเคลื่อนที่ และจากการศึกษา และทดลองเรื่องการบิน มาพอสมควร ในปี ค.ศ. 1900 พวกเขาตัดสินใจสร้างเครื่องบินลำแรกขึ้น โดยเครื่องบินนั้นมีลักษณะคล้ายกับเครื่องร่อนทำด้วยโครงเหล็ก ส่วนปีกทำด้วยผ้า และใช้เครื่องยนต์ขนาด 12 แรงม้า และก็ได้นำเครื่องบินทดลองบินในเดือนพฤษภาคม ในครั้งนั้นแม้เครื่องบินจะสามารถบินได้ แต่ก็เป็นเวลาเพียง 1-2 วินาที และยังไม่สามารถควบคุมทิศทางของการบินได้

เมื่อยังได้ผลไม่น่าพอใจ ในปี 1901 ทั้งคู่ได้กลับไปที่เมืองเดย์ตัน เพื่อสร้างเครื่องบินลำที่ 2 โดยปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ทำให้เครื่องบินลำที่ 2 มีขนาดที่ใหญ่กว่า และรูปร่างที่ต่างจากเดิม แต่อย่างไรก็ตามข้อบกพร่องก็ยังไม่ถูกขจัดออกไปได้หมดสิ้น ยังมีอุปสรรคเรื่องน้ำหนักและความสามารถในการขึ้นบินให้ทั้งสองต้องบากบั่น กันต่อไป หลังจากนั้นทั้งสองสร้างเครื่องบินเพื่อทดสอบขึ้นอีกหลายลำ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนครั้งหนึ่ง วิลเบอร์ ไรท์ เคยท้อแท้ถึงกับกล่าวว่า"ต่อให้สักพันปีมนุษย์ก็บินไม่ได้หรอก" ดีที่นี่เป็นเพียงคำตัดพ้อ ทั้งคู่ไม่ได้ย่อท้อต่อสิ่งเหล่านั้นจริงๆ พวกเขายังคงทดลองต่อไป จนกระทั่งเริ่มพบจุดผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ในปี ค.ศ. 1902 ทั้งคู่คาดว่า การใส่เครื่องยนต์ให้กับเครื่องร่อนนั้น จะทำให้เครื่องบินสามารถบินได้ไกลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการสร้างอุโมงค์ลมขึ้นเพื่อนความกดอากาศขึ้นตามคำแนะนำของออคตาฟ ชานุท ซึ่งเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับความกดอากาศ ปรับปรุงเครื่องยนต์ให้มีน้ำหนักเบาขึ้น และเพิ่มหางเสือ เข้าทางด้านหน้า และด้านหลังของตัวเครื่องเพื่อควบคุมทิศทางการบิน ปีกของเครื่องบินเป็นปีก 2 ชั้นมีขนาดยาวแต่แคบกว่ารุ่นก่อน สามารถขยับขึ้นลงได้ต่างจากเดิมที่เป็นแบบตายตัว แล้วทำการทดลองบินที่ที่คิลล์ เดฟวิลล์ ฮิลล์ อยู่ นานถึง 39 วัน และทดลองบินกว่า 1,000 ครั้ง และครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งที่ประสบความสำเร็จมาก ทั้งการควบคุมทิศทางและระยะเวลาที่เครื่องลอยตัวอยู่บนอากาศก็เป็นที่น่าพอ ใจ และนี่ก็เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่ทำให้พวกเขาเดินหน้าเข้าสู่การสร้างเครื่องบินที่บินด้วยเครื่องยนต์

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1903 ทั้งสองได้ใส่ล้อให้กับเครื่องบิน เพื่อที่จะสามารถขึ้นบินได้โดยไม่ต้องเสียงดวงเอากับดินฟ้าอากาศ รวมทั้งมีการสร้างทางวิ่งขึ้นของเครื่องบิน (Run Way) ที่ มีความยาว 600 เมตร เพื่อใช้ในการทดลองบิน และได้พัฒนาล้อให้เชื่อมต่อด้วยโซ่เข้ากับเฟืองของเครื่องยนต์ ทำให้สามารถวิ่งขึ้นได้เองไม่ต้องอาศัยแรงคน

วันที่ 14 ธันวาคมปีเดียวกัน ที่รัฐนอร์ท คาโรไลนา (North Carolina) การทดสอบการบินด้วย เครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ครั้งสำคัญก็เริ่มขึ้น โดยในการทดสอบครั้งแรกวิลเบอร์ได้เป็นคนขับเครื่องบินแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เครื่องตกลงมากระแทกพื้นได้รับความเสียหาย จนต้องนำกลับไปซ่อม และต้องรออีก 3 วันต่อมาจึงได้ทดสอบ

และแล้วในวันที่อากาศหนาวเเละมีลมแรงจากเหนือพัดมาด้วยความเร็ว 24 -27 ไมล์ต่อชั่วโมง สายๆของวันที่ 17 ธันวาคม มีเพียง J.T. Daniels, W.S. Dough, A.D. Etheridge W.C. Brinkly และ Johny Moor ที่มาร่วมเฝ้าดู Wilbur กับ Orville Wright ทำ ทดสอบเครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ของเขา ไร้วี่เเววของนักข่าวหรือประชาชนสนใจ เพราะไม่มีใครที่จะยอมเชื่อว่ามันจะบินไจริงๆ


ภาพ Kitty-Hawk,The beginning of the first flight, December 17, 1903.
ณ เวลา 10.35 น. เครื่องบินลำแรกชื่อ ฟลายเออร์ (Flyer) ซึ่งต่อมาตั้งใหม่ว่า คิตตี้ ฮอว์ค (Kitty Hawk) ก็ พร้อมที่จะออกบิน คราวนี้เป็นคิวของ ออร์วิลล์ขึ้นไปบังคับเครื่อง ครั้งนี้เครื่องบินทรงตัวอยู่กลางอากาศได้เป็นระยะเวลาถึง 12 วินาที และบินไกลจากจุดนำเครื่องขึ้น 120 ฟุต

ใน วันนั้นทั้งคู่ได้ทำการทดลองบินอีก 3 ครั้วโดยพลัดกันขึ้นบิน และครั้งที่บินได้นานที่สุดคือ ครั้งที่วิลเบอร์ทำการบิน โดยทำเวลาได้ถึง 59 วินาที และบินได้ไกลถึงได้ไกล 852 ฟุต

และ นี่คือจุดเริ่มต้นของการบินแบบใช้เครื่องยนต์ของสองพี่น้องนี้ นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญครั้งหนึ่ง ที่สามารถพลิกโฉมและสร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญแห่งวงการการบิน

การทดลองครั้งต่อมาในปี ค.ศ.1905 พวกเขาก็ทำได้สำเร็จอีกครั้ง ครั้งนี้เจ้า "ฟายเออร์ ทรี" สามารถบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้อย่างราบรื่นและการควบคุมเครื่องก็เป็นไปอย่าง สมบูรณ์ ด้วยระยะการบินที่ไกลถึง 25 ไมล์ และเวลาที่นานถึง 38 นาที

ในปี ค.ศ.1908 เขาขึ้นบินอีกครั้งต่อหน้าสาธารณชน พร้อมกับผู้โดยสารหนึ่งคน กับเครื่องบินที่มีความยาว 28 ฟุต ความยาวปีก 40 ฟุต น้ำหนัก

322 ปอนด์ ใช้เครื่องยนต์ 20 แรงม้า แน่นอนว่าเครื่องบินของเขามีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถบินได้เร็ว 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอีกหนึ่งความสำเร็จในปีเดียวกันนี้คือ วิลเบอร์สามารถพาเครื่องบินข้ามทวีปไปยังประเทศฝรั่งเศสได้สำเร็จ

และในปีค.ศ.1909 ได้มีการสาธิตการบินทั้งในยุโรปและอเมริกาใน  ในปีนี้ออร์วิลสามารถบินข้ามช่องแคบอังกฤษได้สำเร็จ

และ รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้ติดต่อให้สองพี่น้องเป็นผู้จัดหาเครื่องบินให้รัฐบาล และเหตุการณ์นี้จึงทำให้ทั้งคู่ได้ ก่อตั้งบริษัทสร้างเครื่องบิน พี่น้องตระกูลไรท์



วิ ลเบอร์ ไรท์ เสียชีวิตในวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1912 ด้วยโรคไทฟอยด์ ขณะมีอายุได้ 45 ส่วนออร์วิลเสียชีวิตในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1948

ทั้งสองเสียชีวิตที่เมืองเดย์ตัน (Dayton) มลรัฐโอไฮโอ (Ohio) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America) โดยไม่มีผู้สืบสกุลเลย เพราะคนทั้งสองเป็นโสด

ความ สำเร็จของสองพี่น้องตระ กูลไรต์ คือจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในการคมนาคม และโลกก็เริ่มแคบลงตั้งเเต่วันนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ได้มาเพราะโชคช่วย แต่พวกเขาต้องมีความกล้าที่จะแตกต่างกับความคิดของคนในยุคนั้น และที่สำคัญคือความพยายามที่จะเรียนรู้และอดทนต่อการทดลองนับพันครั้ง ที่แม้ต้องท้อแต่ไม่เคยถอย

อ้างอิง

http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/Wright%20brother.html

http://www.nsm.or.th/modules.php?name=News&file=article&sid=56

http://www.ipst.ac.th/thaiversion/publications/in_sci/aeronautical.html

http://www.thaitechnics.com/fly/intro_t.html

*******************************
ข้อมูลเกือบทั้งหมดคัดลอกมาจาก  http://www.vcharkarn.com/varticle/38717

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ads Inside Post