:: รีวิว...ณ ดินแดนแห่งหลังคากาฬทวีป จรดทะเลสาบวิกตอเรีย ...แทนซาเนีย ::

:: รีวิว...ณ ดินแดนแห่งหลังคากาฬทวีป จรดทะเลสาบวิกตอเรีย ...แทนซาเนีย ::     
   ประเทศ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรแผ่นดินทรงคุณค่า กว่าล้านชีวิตแห่งสรรพสัตว์ที่อาศัยทุ่งหญ้าสะวันนาเลี้ยงชีวิตมาช้านาน... ยอดเขาสูงเสียดฟ้าขาวโพลน..คิลิมานจาโร ...มีทะเลสาบวิกตอเรียตอนใต้...ไว้เป็นแหล่งน้ำที่ไม่มีวันเหือดแห้งคอยหล่อ เลี้ยงชาวแทนซาเนียนทั้งประเทศ และเมืองงามนอกแผ่นดินอย่างแซนซิบาร์...ทำให้ประเทศแห่งนี้มีอะไรที่สมบูรณ์ แบบเหลือเกิน.......

นิยามแห่งแผ่นดิน..............สหสาธาณรัฐแทนซาเนีย
....แทนซาเนีย... เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จด แซมเบีย มาลาวี และโมซัมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย ประเทศตั้งชื่อมาจากแผ่นดินใหญ่แทนกันยิกาและเกาะแซนซิบาร์ที่อยู่นอกจากชาย ฝั่งตะวันออก แทนซาเนียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติ ตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ ...เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ แทนกันยิกาได้รวมกับแซนซีบาร์ กลายเป็นสหสาธารณรัฐแทนกันยิกาและแซนซิบาร์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ เมืองหลวงของแทนซาเนียย้ายจากดาร์เอสซาลามไปโดโดมา อย่างไรก็ดี สำนักงานของรัฐบาลหลายแห่งยังคงตั้งอยู่ในเมืองหลวงเดิม.....
เนื้อที่ ของประเทศ ๙ แสนกว่าตาราง
กิโลเมตร...ประชากรชาวแทนซาเนียทั้งประเทศมีราว ๓๙ ล้านคน ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ กว่า ๑๒๐ เผ่า ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเผ่าบันตู (Bantu) แต่ละเผ่าพันธุ์มีภาษาและสำเนียงเฉพาะของตนเอง.. เผ่าที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ ซูคูมา (Sukuma) และ เอ็นยัมเวซี (Nyamwezi) ส่วนประชากรในเกาะแซนซิบาร์และเกาะเพมบามีเชื้อสายแอฟริกันผสมอาหรับ
.....แทนซาเนีย ใช้ภาษาอังกฤษและสวาฮิรี (Swahili) เป็นภาษาราชการและใช้กันทั่วไปในประเทศ ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ ๔๕ นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๓๕ และความเชื่อดั้งเดิม ร้อยละ ๒๐ สำหรับแซนซิบาร์ ร้อยละ ๙๙ เป็นชาวมุสลิม...
................................................................................................
ในภาพ : เมาท์คิลิมานจาโร..ยอดเขาที่สูงที่สุดในแทนซาเนียและทวีปแอฟริกา...

รีวิว แทนซาเนีย  (1) เมาท์คิลิมานจาโร..ยอดเขาที่สูงที่สุดในแทนซาเนียและทวีปแอฟริกา...
แทนซาเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัด (เอ็มคัว)ต่าง ๆ รวม ๒๖ จังหวัดครับ โดยที่ ๒๑ จังหวัดอยู่บนแผ่นดินหลักแทนกันยิกาและอีก ๕ จังหวัดอยู่ที่เกาะแซนซิบาร์นอกชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย (๓ จังหวัดบนเกาะอุนจูราและอีก ๒ จังหวัดที่เกาะเพมบา)
จังหวัดต่าง ๆ ทั้ง ๒๖ แห่ง ได้แก่...
๑. จังหวัดอารูชา (Arusha) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๒. จังหวัดดาร์เอสซาลาม (Dar es Salaam) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๓. จังหวัดโดโดมา (Dodoma) มีเมืองหลวงชื่อเดียว เป็นเมืองหลวงของประเทศ
๔. จังหวัดอิรินกา (Iringa) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๕. จังหวัดคาเกรา (Kagera) มีเมืองหลวงชื่อ..บูโคบา (Bukoba)
๖. จังหวัดคิโกมา (Kigoma) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๗. จังหวัดคิลิมานจาโร (Kilimanjaro) มีเมืองหลวงชื่อ..โมชิ (Moshi)
๘. จังหวัดลินดี (Lindi) มีเมืองหลวงชื่อเดียว
๙. จังหวัดมานยารา (Manyara) มีเมืองหลวงชื่อ..บาบาติ (Babati)
๑๐. จังหวัดมารา (Mara) มีเมืองหลวงชื่อ..มูโซมา (Musoma)
๑๑. จังหวัดเอ็มเบยา (Mbeya) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๑๒. จังหวัดโมโรโกโร (Morogoro) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๑๓. จังหวัดเอ็มตวารา (Mtwara) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๑๔. จังหวัดเอ็มวานซา (Mwanza) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๑๕. จังหวัดเพมบาเหนือ (Pemba North) มีเมืองหลวงชื่อ..เวเต้ (Wete)
๑๖. จังหวัดเพมบาใต้ (Pemba South) มีเมืองหลวงชื่อ..เอ็มโคอานี (Mkoani)
๑๗. จังหวัดปวานี (Pwani) มีเมืองหลวงชื่อ..คิบาฮา (Kibaha)
๑๘. จังหวัดรูควา (Rukwa) มีเมืองหลวงชื่อ..ซุมบาวังกา (Sumbawanga)
๑๙. จังหวัดรูวูมา (Ruvuma) มีเมืองหลวงชื่อ..ซอนเจีย (Songea)
๒๐. จังหวัดชินยันกา (Shinyanga) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๒๑. จังหวัดซินกิดา (Singida) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๒๒. จังหวัดทาโบรา (Tabora) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๒๓. จังหวัดตังกา (Tanga) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๒๔. จังหวัดแซนซิบาร์ใต้ (Zanzibar) มีเมืองหลวงชื่อ..โคอานี (Koani)
๒๕. จังหวัดแซนซิบาร์เหนือ (Zanzibar North) มีเมืองหลวงชื่อ..เอ็มโคโคโตนี (Mkokotoni)
๒๖. จังหวัดแซนวิบาร์ตะวันตก (Zanzibar Urban/West) มีเมืองหลวงชื่อ..แซนซิบาร์ (Zanzibar)
.................................................................................................
ในภาพ : แผนที่แสดงที่ตั้งประเทศแทนซาเนีย
 
รีวิว แทนซาเนีย  (2) แผนที่แสดงที่ตั้งประเทศแทนซาเนีย
รีวิว.....แทนซาเนีย
รีวิว แทนซาเนีย  (3)
ประวัติศาสตร์นิดหน่อย.....ฉบับย่อ...
- แทนกันยิกาเป็นอาณานิคมของเยอรมนี ตั้งแต่ปี ๒๔๒๘ – ๒๔๕๙ ต่อมาเข้าเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติจนถึงปี ๒๔๘๙ ก็เข้าเป็นดินแดนในอารักขาของสหประชาชาติจนถึงปี ๒๕๐๔ โดยทั้งสันนิบาตชาติและสหประชาชาติให้อังกฤษดูแลจนแทนกันยิกาได้รับเอกราช สมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๐๔ ภายใต้การนำของ ดร.จูเลียส แคมบาเรกี เอ็นยาเรเร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น แทนกันยิกามีสถานะเป็นสาธารณรัฐภายใต้เครือจักรภพอังกฤษ และ ดร.เอ็นยาเรเ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐแห่งนี้...
...ใน ปี ๒๔๓๓ แซนซิบาร์เป็นรัฐสุลต่านภายใต้การอารักขาของอังกฤษ ได้รับเอกราชสมบูรณ์เมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๐๖ แต่ระบบสุลต่านถูกล้ม โดยการปฏิวัติเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๐๗ มีการขับไล่ชาวตะวันตกออกนอกประเทศ และสังหารชาวอาหรับนับพันคน
... เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๗ ในอีก ๑ ปีต่อมา แทนกันยิกาและแซนซิบาร์รวมตัวกัน และตั้งชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนกันยิกาและแซนซิบาร์ ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม...แล้วเปลี่ยนมาเป็นชื่อใหม่สหสาธารณรัฐแทนซาเนียกระทั่งปัจจุบัน โดยแซนซิบาร์มีคณะรัฐบาลบริหารกิจการภายในด้านต่าง ๆ ของตนเอง....
................................................................................................
ในภาพ : ประธานาธิบดีคนแรกของแทนซาเนีย...ดร.เอ็นยาเรเร
รีวิว แทนซาเนีย  (4) ประธานาธิบดีคนแรกของแทนซาเนีย...ดร.เอ็นยาเรเร
ในเมืองหลวงใหม่โดโดมา...ได้สร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้เป็นที่ระลึก...
รีวิว แทนซาเนีย  (5)อนุสาวรีย์ของท่านดร.เอ็นยาเรเร
การเมืองการปกครองของแทนซาเนีย..........
  ....แทนซาเนีย ใช้การปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้รับการแก้ไขปรับปรุงครั้งสำคัญ ๒ ครั้ง ในปี ๒๕๒๗ และ ปี ๒๕๓๗ เริ่มระบอบการปกครองด้วยระบบหลายพรรคเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๓๕ และยินยอมให้พรรคฝ่ายค้านจดทะเบียนจัดตั้งพรรคได้ หลังจากปกครองโดยระบบพรรคการเมืองเดียวมากว่า ๒๗ ปี มีการเลือกตั้งทั่วไปแบบหลายพรรคครั้งแรกในปี ๒๕๓๘ ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญกำหนดให้สาธารณรัฐแซนซิบาร์เป็นอิสระในการบริหารแซนซิบาร์ทุก ประการยกเว้นด้านการต่างประเทศ การป้องกันประเทศ การศาล การราชทัณฑ์ และการตำรวจ
  ...ปัจจุบันประธานาธิบดีคิดเวเต้ได้สร้างฐานอำนาจของตน ภายในพรรครัฐบาลให้เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ และกำหนดแนวนโยบายที่เป็นที่นิยมของประชาชน โดยเฉพาะการต่อต้านการทุจริต การปฏิรูประบบเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ต่างมองว่า นายคิดเวเต้ ยังไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเมืองมากเพียงพอที่จะดำเนินนโยบายที่ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวาง ในปัจจุบันจึงยังดำเนินการปฏิรูปต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปและระมัดระวัง (“will not be rushed into making changes for the sake of change”)
  ....ผลการเลือกตั้งทั่วไปครั้ง ล่าสุดในเดือนธันวาคม ๒๕๔๘ ส่อให้เห็นว่า พรรค Chama Cha Mapinduzi (CCM) ของนายคิดเวเต้ ได้รับความนิยมอย่างสูงและกว้างขวางในจังหวัดแถบแทนกันยิกา ซึ่งส่งผลดีให้นายคิคเวเต้ สามารถวางแผนการดำเนินนโยบายต่างๆ ได้ดีในระยะยาว
  ....ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยประธานาธิบดี รองประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรี โดยประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ผู้นำรัฐบาล และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ดำรงตำแหน่ง คราวละ ๕ ปี นายจาคายา เอ็มริโช คิคเวเต้ ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๔๘ ทั้งนี้ หากประธานาธิบดีมาจากแซนซิบาร์ รองประธานาธิบดีต้องมาจากแทนกันยิกา ในทางกลับกันหากประธานาธิบดีมาจากแทนกันยิกา รองประธานาธิบดีต้องมาจากแซนซิบาร์ ...
  ....ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภาของแทนซาเนียเป็นระบบสภาเดียว เรียกว่า บังเก (Bunge) มีสมาชิกรัฐสภา จำนวน ๒๙๕ คน โดยสมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้งจำนวน ๒๓๒ คน จัดสรรให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแซนซิบาร์ ๕ คน ส่วนที่เหลือเป็นบุคคลที่เสนอโดยประธานาธิบดี...
  ....สำหรับ แซนซิบาร์ก็มีรัฐสภาเป็นของตนเองเพื่อออกกฎหมายในการปกครอง โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๕๐ คน จากการเลือกตั้งโดยตรงของชาวแซนซิบาร์ และมีวาระในการดำรงตำแหน่ง ๕ ปี
  ................................................................................................
  ในภาพ : ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของแทนซาเนีย นายคิคเวเต้..(  จาคายา อัมรีโช คิเควเต)
รีวิว แทนซาเนีย  (6) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของแทนซาเนีย นายคิคเวเต้..
คณะรัฐมนตรีของท่านล่ะจ้า.....
รีวิว แทนซาเนีย  (7) คณะรัฐมนตรีของท่านล่ะจ้า.....
บุคคลสำคัญทางการเมืองของแทนซาเนีย....
- ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ฯพณฯ จาคายา เอ็มริโช คิคเวเต พรรค Chama Cha Mapinduzi (CCM) ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ กระทั่งปัจจุบัน (คนซ้ายบน)
- ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของแซนซิบาร์  อามามี เอเบอิด คารูเม (บนขวา)
- รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ดร. โมฮัมหมัด  อาลี  เชอิน (คนล่างซ้าย)
- นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน มิเซงโก  คายันซา  ปีเตอร์  ปินดา (คนล่างขวา)
- นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของแซนซิบาร์ ชามซี วูไอย นาโฮดา
- ประธานรัฐสภาคนปัจจุบัน ฯพณฯ ซามูเอ็ล จอห์น ซิตต้า
- รมว.การต่างประเทศ เบอร์นาร์ด  คามิลเลียส  เมมเบ้
- รมว.กลาโหม ดร.ฮุสเซ็น  เอ็มวินยี
- รมว.การคลัง มุสตาฟา  เอ็มคูโล
- รมว.มหาดไทย ลอว์เรนซ์  มาชา
- เอคอัครราชฑูตแทนซาเนียประจำองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน ฯพณฯ ออกุสติน ฟิลิป มาฮิกา
- ประธานธนาคารกลางแทนซาเนีย ฯพณฯ เบนโน เอ็นดูลู
รีวิว แทนซาเนีย  (8)
ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของแซนซิบาร์  ฯพณฯ อามามี เอเบอิด คารูเม ...
รีวิว แทนซาเนีย  (9)ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของแซนซิบาร์  ฯพณฯ อามามี เอเบอิด คารูเม ...
ประธานรัฐสภาคนปัจจุบันของแทนซาเนีย ฯพณฯ ซามูเอ็ล จอห์น ซิตต้า
รีวิว แทนซาเนีย  (10) ประธานรัฐสภาคนปัจจุบันของแทนซาเนีย ฯพณฯ ซามูเอ็ล จอห์น ซิตต้าอาคารรัฐสภาบังเก....
รีวิว แทนซาเนีย  (11)อาคารรัฐสภาบังเก.
เข้าไปชมภายในกันหน่อย....
รีวิว แทนซาเนีย  (12)ภายในอาคารรัฐสภาบังเก.
รีวิว....แทนซาเนีย
....การอพยพในทุก ๆ ปี ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ฝูงวิลเดอบีสต์นับล้านตัวจะอพยพ พร้อม ๆ กับม้าลายนับแสน จากอุทยานแห่งชาติเซเรนเกติในแทนซาเนียข้ามพรมแดนไปหาหญ้าใหม่ ๆ กินในอุทยานแห่งชาติมาไซมารา ประเทศเคนยา... และจะกลับมาอีกครั้งช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤษภาคม....แต่บางส่วนจำต้องเป็น อาหารให้กับจรเข้ขนาดใหญ่ที่รอพร้อมแล้วระหว่างการข้ามแม่น้ำ....
แต่ สิ่งพิเศษไปกว่านั้นคือ...ทั้งม้าลายและวีลเดอบีสต์จำต้องพึ่งพาอาศัยกันใน ระหว่างหากินและการเดินทาง..เพราะม้าลาย หูดีแต่ตาไม่ดี ...ในขณะที่วีลเดอบีสต์สายตาดี แต่หูไม่ดี...
รีวิว แทนซาเนีย  (13) ฝูงวิลเดอบีสต์ 
บรรยากาศริมทุ่ง..ใกล้แนวเทือกเขาคิลิมานจาโร......หลังเขาลูกนี้ไปก็เขตประเทศเคนยาแล้วครับ พื้นที่อุทยานแห่งชาติอิโตชา...
รีวิว แทนซาเนีย  (14)
ฝูงวิลเดอบีสต์ขณะอพยพ.....
รีวิว แทนซาเนีย  (15)ฝูงวิลเดอบีสต์ขณะอพยพ..
ยีราฟ...ในวิถีแห่งเสรี ที่อุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ....
รีวิว แทนซาเนีย  (16)ยีราฟ ที่อุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ...
.............เมื่อพระอาทิตย์จะลาลับฟ้า เหนือทะเลสาบสามแผ่นดินวิกตอเรีย...ที่มีทั้งแทนซาเนีย, เคนยาและยูกันดา ใช้ประโยชน์ร่วมกัน..
รีวิว แทนซาเนีย  (17)
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ...ของแทนซาเนีย
...ช่วง ต้นทศวรรษที่ ๑๙๙๐ รัฐบาลเริ่มต้นการกระตุ้นการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจที่มีประสิทธิภาพต่ำให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการแทน โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก IMF และ World Bank ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจมีความเป็นเสรีมากขึ้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ
- ปัจจุบันแทนซาเนียวางนโยบายเศรษฐกิจภายใต้กรอบ Poverty Reduction and Growth Facility (PRGF) ของ IMF นอกจากนี้ แทนซาเนียอยู่ในกลุ่มประเทศ Heavily Indebted Poor Countries (HIPC) ของ IMF และธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งได้รับประโยชน์จากเงินทุนเพื่อการช่วยเหลือและการยกเลิกหนี้ โดยเฉพาะจากการปฏิญาณของกลุ่มประเทศ G8
- แทนซาเนียพึ่งพารายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ กว่า ๒ ใน ๓ ของแรงงานทั้งหมดอยู่ในภาคเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรมีมูลค่ากว่าร้อยละ ๔๖ ของ GDP (ปี ๒๕๔๘) สินค้าออกของประเทศและการจ้างงานภายในประเทศร้อยละ ๙๐ มาจากภาคการเกษตร ผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กาแฟ ชา และฝ้าย ส่วนแซนซิบาร์เป็นแหล่งผลิตกานพลู จำนวน ๒ ใน ๓ ของความต้องการในตลาดโลก ปัญหาทางเศรษฐกิจของแทนซาเนีย คือ ความผันผวนของราคาพืชผลในตลาดโลก และภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างฉับพลัน เช่น ปรากฏการณ์เอลนิโญและลานิญา การผลิตที่ล้าหลังและการขนส่ง รวมทั้งภาวะความแห้งแล้งที่มีมาตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๘
- นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นความจำเป็นของการกระจายฐานการผลิตสู่ภาคอุตสาหกรรม และดำเนินนโยบายเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศแต่การพัฒนาอุตสาหกรรมใน แทนซาเนียยังล้าหลัง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและพลังงาน โดยทั่วไปเป็นอุตสาหกรรมในท้องถิ่น และอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นของรัฐ และเป็นการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ
- แทนซาเนียมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญ ได้แก่ อัญมณี ทอง นิเกล ผลผลิตจากการทำเหมืองเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวระหว่างปี ๒๕๓๖–๒๕๔๗ (จากร้อยละ ๑.๕ ของ GDP เป็นร้อยละ ๓ ของ GDP) รายได้ส่วนใหญ่มาจากเหมืองเพชรและทองคำ
- สกุลเงิน : สกุลชิลลิ่งแทนซาเนีย Tanzanian Shilling (TZS) = ๑๐๐ cents อัตราแลกเปลี่ยน : ๑,๒๕๑.๙ TZS = ๑ ดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๔๙) หรือ ๑ บาทเท่ากับประมาณ ๓๖ TZS
- อุตสาหกรรมสำคัญ : ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร อาทิ โรงงานผลิตอ้อย โรงงานเบียร์ ยาสูบ เหมืองเพชรและทองคำ อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน ซีเมนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปุ๋ยและเกลือ
- ผลผลิตทางการเกษตร : กาแฟ ชา ฝ้าย ยาสูบ ข้าวโพด ข้าวสาลี สาคู กล้วย ผักและผลไม้ วัว แกะและแพะ
- ประเทศที่แทนซาเนียส่งสินค้าออกสำคัญ : แคนาดา อินเดีย เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น
- ประเทศที่แทนซาเนียนำเข้าสินค้าสำคัญ : แอฟริกาใต้ จีน อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตน์
- สินค้าออกสำคัญ : สินค้าออกหลักของแทนซาเนียคือ ทองคำ และผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ กาแฟ ฝ้าย ชา ป่านไซซาล กานพลู เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และยาสูบ
- สินค้าเข้าสำคัญ : สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องกลและอุปกรณ์การขนส่ง วัตถุดิบ และน้ำมันดิบ
................................................................................................
ในภาพ : ธนบัตรฉบับละ ๕๐๐ ชิลลิ่งของแทนซาเนียเป็นภาพแรดดำและโรงงานทำทองในแซนซิบาร์
รีวิว แทนซาเนีย  (18)ชิลลิ่งของแทนซาเนีย
 
 
   ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ...
- แทนซาเนียเป็นประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เร.เอ็นยาเรเร ประธานาธิบดีคนแรกภายหลังประกาศเอกราชเป็นผู้ก่อตั้งสำคัญคนหนึ่งของกลุ่ม ประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement – NAM) รัฐบาลแทนซาเนียมีนโยบายเป็นกลาง เป็นมิตรกับทั้งประเทศเจ้าของอาณานิคมเดิม (สหราชอาณาจักรและเยอรมนี) ประเทศที่มีนโยบายสังคมนิยม (กลุ่มสแกนดิเนเวียและจีน) รวมทั้งประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือรายใหญ่ (สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น) แทนซาเนียเป็นประเทศที่ผู้ให้ความช่วยเหลือเห็นว่ามีพัฒนาการดี และเป็นผู้รับรายใหญ่ของเงินทุนเพื่อการพัฒนา
- เป็นสมาชิกที่มีบทบาทสำคัญของสหภาพแอฟริกา (African Union – AU) มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับเคนยาและยูกันดา ซึ่งจัดตั้งประชาคมแอฟริกาตะวันออก (East African Community – EAC) ร่วมกัน และแทนซาเนียยังเป็นสมาชิกประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community – SADC) ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือสำคัญกับแอฟริกาใต้และประเทศอื่นๆ ทาง ตอนใต้ของทวีปด้วย
- ข้อห่วงกังวลด้านการต่างประเทศในปัจจุบันคือ ปัญหาผู้อพยพจากสงครามในประเทศเพื่อนบ้าน (รวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) ปัจจุบันในสถานการณ์ที่สงบลง แทนซาเนียพยายามส่งผู้อพยพยกลับสู่ประเทศเดิมมากขึ้น ถึงแม้ว่าสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (Office of the United Nations High Commissioner for Refugees – UNHCR) จะเห็นว่า สถานการณ์ยังไม่ปลอดภัยพอก็ตาม
................................................................................................
ในภาพ : เมื่อครั้งที่ท่านเอ็นยาเรเรเข้าพบนายพอล แบร์ทรูด์ที่เจนีวา
รีวิว แทนซาเนีย  (19)เมื่อครั้งที่ท่านเอ็นยาเรเรเข้าพบนายพอล แบร์ทรูด์ที่เจนีวา
สายการบินแห่งชาติแทนซาเนีย.....แอร์ แทนซาเนีย
รีวิว แทนซาเนีย  (20)แอร์ แทนซาเนีย
มหาวิทยาลัยโดโดมา ในเมืองหลวงโดโดมา....
รีวิว แทนซาเนีย  (21)มหาวิทยาลัยโดโดมา
หนทางสู่คิลิมานจาโร ....
รีวิว แทนซาเนีย  (22)หนทางสู่คิลิมานจาโร
ยอดเขาคิลิมันจาโร (Mount Kilimanjaro) ชื่อภูเขามาจากภาษาสวาฮีลี หมายความว่า"ภูเขาที่ทอแสงแวววาว" ยอดเขาคิลิมันจาโรตั้งอยู่ในเขตประเทศแทนซาเนียใกล้พรมแดนประเทศเคนยา ลักษณะเป็นภูเขาไฟยอดเดี่ยวที่สูงที่สุดในโลก และเป็นยอดเขาที่สุดที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย มีความสูงกว่า ๕,๘๙๕ เมตร ตรงบริเวณยอดเขามียอดเขาด้วยกัน ๓ ยอด เรียงตามลำดับความสูง คือ
๑. ยอดคีโบหรืออูฮูรู เป็นยอดที่สูงที่สุดในแอฟริกา มีความสูง ๕,๘๙๕ เมตร มีโพรงลึกเป็นรูปกรวยลึกถึง ๑๑๓ เมตร แนวลึกด้านตรง ๑๒๒ เมตร มีร่องรอยของการคุกกร่น ไม่หมดเชื้อ คือยังควันปรากฏกลิ่นกำมะถันอยู่
๒. ยอดมาเวนซี มีความสูง ๕,๓๕๓ เมตร อยู่ติดกับยอดคีโบ รูปกรวยของยอดมาเวนซี ได้ถูกตบแต่งให้เป็นขั้นเป็นหลืบชั้น สำหรับให้นักไต่เขาได้ฝึกความชำนาญ
๓. ยอดชีรา มีความสูง ๓,๗๗๘ เมตร
....บริเวณ ฐานเขามีความยาวกว่า ๑๐๐ กิโลเมตร และกว้างถึง ๗๕ กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว บริเวณยอดเขามีธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ยาวกว่า ๔,๕๐๐ เมตร เป็นธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นเพียงภูเขาไม่กี่ลูกในแอฟริกาที่มีธารน้ำแข็ง โดยเฉพาะภูเขาที่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรจะหาได้น้อยมากที่จะมีธารน้ำแข็งแบบ เดียวกันนี้
.....ยอดเขาคิลิมันจาโรได้กำเนิดขึ้นเมื่อหลายล้านปีที่ แล้ว โดยมีการคาดการณ์ว่าเคยเกิดระเบิดใหญ่ถึง ๓ ครั้ง จึงทำให้มียอดเขา ๓ ลูกดังที่กล่าวข้างต้น ถูกค้นพบครั้งแรกโดย โยฮาน เรบมัน และลุดวิก คราปฟ์ หมอสอนศาสนา ชาวเยอรมนี ในปี ค.ศ. ๑๘๔๘
.................................................................................................
และเมื่อคุณขึ้นมาถึงยอดแล้วที่พีค อูฮูรู ....๕,๘๙๕ เมตร จุดที่สูงที่สุดของแอฟริกา....
รีวิว แทนซาเนีย  (23)
ท่ามกลางสุดท้ายที่เซเรนเกติ....
รีวิว แทนซาเนีย  (24)ท่ามกลางสุดท้ายที่เซเรนเกติ...
จากแผ่นดินใหญ่ข้ามไปยังเกาะแซนซิบาร์กันบ้าง.....
แซนซิบาร์....คือ ชื่อรวมของเกาะ ๒ เกาะในแทนซาเนีย คือ เกาะอุนกูจา และเกาะเพ็มบา เมืองหลวงของแซนซิบาร์ คือเมืองแซนซิบาร์ตั้งอยู่บนเกาะอุนกูจา ซึ่งมีเขตเมืองเก่าเป็นมรดกโลก แซนซิบาร์มีการปกครองตนเอง อย่างไรก็ดี แซนซิบาร์ยังเป็นส่วนหนึ่งของแทนซาเนีย ประชากรของแซนซิบาร์สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ มี ๙๘๑,๗๕๔ คน มีเนื่อที่ ๑,๖๕๑ ตารางกิโลเมตร
...อุตสาหกรรม หลักของแซนซิบาร์คือเครื่องเทศ (กานพลู จันทน์เทศ อบเชย และ พริกไทย) ปาล์มแรฟเฟีย (raffia) และ การท่องเที่ยว แซนซิบาร์เป็นถิ่นฐานของลิงเฉพาะถิ่น (Zanzibar Red Colobus) และเสือดาวที่หายาก (Zanzibar Leopard)
+ คำว่า "Zanzibar" น่าจะมาจากภาษาเปอร์เซียว่า Zangi-bar หมายความถึง ..ชายฝั่งของชาวผิวดำ และในภาษาอาหรับมีชื่อว่า Zanji-bar ด้วย นอกจากนี้ยังอาจจะหมายถึงขิง (ตระกูล Zingiber) ด้วย "แซนซิบาร์" มักจะอ้างถึงเฉพาะเกาะอุนกูจาและบางครั้งยังใช้คำว่า "Spice Islands" อย่างไรก็ดี คำนี้ มักจะใช้กับเกาะมาลุกุในอินโดนีเซียมากกว่า เกาะเพ็มบา เป็นเกาะเดียวนอกจากแซนซิบาร์ที่ยังผลิตกานพลูจำนวนมาก เป็นรายได้หลักจากเครื่องเทศของแซนซิบาร์...
รีวิว แทนซาเนีย  (25)
ภาพการเดินขบวนพาเหรดของเหล่ากองทหารเกียรติยศในสนาม กีฬากลางอามานีสเตเดียม ครบรอบ ๔๐ ปี การปฏิวัติล้มล้างระบอบสุลต่านในแซนซิบาร์ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๐๗ มีการขับไล่ชาวตะวันตกออกนอกประเทศ และสังหารชาวอาหรับนับพันคน ....
รีวิว แทนซาเนีย  (26)
ในแซนซิบาร์...ใช้ธงผืนนี้เป็นธงประจำเกาะ....ควบคู่กับธงประจำชาติ
รีวิว แทนซาเนีย  (27)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย
....ด้านการทูต
- ไทยและแทนซาเนียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๓ และคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๗ ให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบีมีเขตอาณาครอบคลุมถึงแทนซาเนีย ในขณะที่แทนซาเนียให้ สถานเอกอัครราชทูตของตนที่กรุงปักกิ่งมีเขตอาณาครอบคลุมถึงไทย (เอกอัครราชทูตแทนซาเนียประจำไทยคนแรกถวายสาส์นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๒๙)
....ด้านการเมือง
- ไทยและแทนซาเนียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาโดยตลอด โดยเฉพาะมีรากฐานความสัมพันธ์ที่ดีด้านความร่วมมือทางวิชาการที่ช่วยส่ง เสริมความสัมพันธ์โดยรวม
- ไทยเริ่มให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่แทนซาเนียตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ โดยจัดฝึกอบรมด้านการศึกษาและการจัดระบบสาธารณูปโภคตามคำขอของ UNESCO และ International Civil Aviation Organization (ICAO) ในลักษณะ Third Country Training Programme ให้ทุนฝึกอบรมทางวิชาการแก่แทนซาเนียในสาขาต่างๆ ปีละ ๑-๒ ทุนอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้แทนซาเนียเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายภายใต้ความร่วมมือไตรภาคี ไทย-ญี่ปุ่น- แอฟริกา ในสาขาเกษตรและสาธารณสุขอีกด้วย
- ไทยและแทนซาเนียริเริ่มความร่วมมือด้านการแพทย์เมื่อปี ๒๕๔๕ ผู้เชี่ยวชาญชาวไทย (ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม) ได้ให้ความช่วยเหลือแทนซาเนียในด้านการผลิตยาป้องกันไข้มาลาเรีย ชื่อ Thaitanzunate และยาต้านเอดส์ (Anti Retro-viral drugs – ARVs) โดยการสนับสนุนขององค์กร Action Medeor ของเยอรมนี และต่อมา กระทรวงการต่างประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการเพิ่มเติม โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัท Tanzanian Pharmaceutical Organization (TPO) และบริษัทเบอร์ลินฟาร์มาซูติคัลอินดัสตรี จำกัด ยา Thaitanzunate ประสบความ สำเร็จมากในการแก้ปัญหาไข้มาลาเรียในแทนซาเนีย เป็นการช่วยให้ประชาชนทั่วไปที่ยากจนและบรรเทาปัญหาสำคัญและเร่งด่วนของ ประเทศ
....ด้านเศรษฐกิจ
- สินค้าออกของไทยที่สำคัญไปแทนซาเนีย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก รถยนต์และส่วนประกอบ
- สินค้าเข้าที่สำคัญของไทยจากแทนซาเนีย ได้แก่ ด้ายและเส้นใย สัตว์น้ำแช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป และกึ่งสำเร็จรูป เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
- แทนซาเนียมีศักยภาพเป็นตลาดที่สำคัญของไทย เพราะนอกจากเศรษฐกิจภายในประเทศจะมีอัตราการเติบโตที่น่าพอใจแล้วยังมี เสถียรภาพ และแทนซาเนียยังเป็นสมาชิกประชาคมแอฟริกาตะวันออก (East African Community – EAC) ซึ่งได้จัดตั้งสหภาพศุลกากรแล้ว เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๙ ทำให้สามารถเป็นจุดกระจายสินค้าที่สำคัญของไทยในภูมิภาคได้ด้วย
ความตกลงที่สำคัญ ๆ กับประเทศไทย
- ความตกลงด้านการค้า ซึ่งได้เริ่มเจรจาในปี ๒๕๔๖ และขณะนี้ ฝ่ายแทนซาเนียได้เสนอร่างโต้ตอบให้ไทยพิจาณาแล้ว
- ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศได้ลงนามระหว่างกันแล้ว เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๙
รีวิว แทนซาเนีย  (28)

ธงชาติและตราแผ่นดินของแทนซาเนีย....
....มีใช้ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ หลังจากการรวมกันของประเทศแซนซิบาร์และประเทศแทนกันยิกา เข้าเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ธงดังกล่าวนี้ได้รวมเอาสีธงของทั้งสองประเทศเดิมไว้ด้วยกัน (ธงดั้งเดิมของแคว้นแทนกันยิกาได้รับมาจากพรรคสหชาติแอฟริกันแทนกันยิกา พรรคที่สำคัญในขณะนั้น ส่วนธงที่รับมาจากพรรค แอฟโร-ชิราซี ทำให้ธงแซนวิบาร์เป็นแถบเขียว ดำและฟ้า โดยมีเส้นขาวทางตั้งอยู่ที่คันธง) โดยสีธงของแต่ละประเทศจะวางในแนวทแยงมุมจากมุมซ้ายล่างไปยังมุมขวาบนของธง กล่าวคือ สีเขียว สีทอง สีดำ (เรียงลำดับจากด้านคันธง) คือ สีของธงชาติแทนแกนยิกา สีน้ำเงินเป็นสีของธงชาติแซนซิบาร์ ส่วนสีที่ทั้งสองชาติใช้เป็นสีธงชาติเหมือนกัน คือ สีดำ และสีเขียว.....
สีของธงชาติแต่ละสีมีความหมายดังนี้
+ สีเขียว หมายถึง แผ่นดิน
+ สีเหลือง คือความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ
+ สีดำ หมายถึง ประชาชน
+ สีน้ำเงิน หมายถึง ท้องทะเล
ตราแผ่นดิน....
....ตรา แผ่นดินสะท้อนให้เห็นการรวมชาติของทั้งสองแคว้น ประกอบด้วยชายหญิงแอฟริกันประคองโล่แบบแอฟริกัน งาช้าง โดยโล่วางบนรูปภูเขาคิลิมานจาโร...มีแถบคำขวัญอยู่ด้านใต้ว่า อูฮูลู นา อูโมจา (Uhuru na Umoja) เป็นภาษาสวาฮีลี แปลว่า อิสรภาพและเอกภาพ ....
รีวิว แทนซาเนีย  (29)
เพลงชาติแทนซาเนีย....Mungu ibariki Afrika ในภาษาสวาฮิลี ...God Bless Africa แปลว่า...พระเจ้าคุ้มครองแอฟริกา
  ... เป็นเพลงชาติของประเทศแทนซาเนีย เพลงนี้เป็นบทเพลงฉบับภาษาสวาฮีลี ของเพลง "Nkosi Sikelel' iAfrika" ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญ ที่ประพันธ์โดย อีนอค ซอนตอนกา ซึ่งได้รับความนิยมโดยทั่วไป บทเพลงนี้เคยใช้เป็นเพลงชาติซิมบับเว ส่วนทำนองของเพลงนี้ก็ได้ใช้เป็นเพลงชาติแซมเบีย (มีบทร้องที่ต่างกันออกไป) และปรากฏในส่วนหนึ่งของเพลงชาติแอฟริกาใต้ด้วย...
  Mungu ibariki Afrika
  Wabariki Viongozi wake
  Hekima Umoja na Amani
  Hizi ni ngao zetu
  Afrika na watu wake.
  CHORUS:
  Ibariki Afrika
  Ibariki Afrika
  Tubariki watoto wa Afrika.
  Mungu ibariki Tanzania
  Dumisha uhuru na Umoja
  Wake kwa Waume na Watoto
  Mungu Ibariki Tanzania na watu wake.
  CHORUS:
  Ibariki Tanzania
  Ibariki Tanzania
  Tubariki watoto wa Tanzania
  คำแปล...
  ขอพระเจ้าทรงอวยพรแด่แอฟริกา.
  ขอจงทรงอวยพรผู้นำแห่งเรา
  ปรีชาญาณ เอกภาพ และ สันติภาพ
  คือโล่ของเรา:
  แผ่นดินแอฟริกา และปวงชนทุกคน!
  ประสานเสียง:
  ทรงอวยพรแด่แอฟริกา,
  ทรงอวยพรแด่แอฟริกา,
  ทรงคุ้มครองเรา, เหล่าลูกหลานแดนแอฟริกา!
  ขอพระเจ้าทรงอวยพรแด่แทนซาเนีย
  ด้วยพลานุภาพแห่งเสรีภาพและเอกภาพ
  แด่เหล่าหญิงชายและเหล่าลูกหลาน
  พระเจ้าจักทรงอวยพรแด่แทนซาเนียและปวงชนทุกคน!
  ประสานเสียง:
  ทรงอวยพรแด่แทนซาเนีย,
  ทรงอวยพรแด่แแทนซาเนีย,
  ทรงคุ้มครองเรา, เหล่าลูกหลานแผ่นดินแทนซาเนีย!
 
 

 
 
ขอขอบคุณ...
     ...ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ
     ...อิงวิกิเปเดีย
     ...ไทยวิกิเปเดีย
     ...คอสมอส..ธงนานาชาติ
     ...ไอพียู.คอม
     ...ฟริค เคอาร์
     ...Cradit_เจ้าของบทความ:คุณนก สุโขทัย http://worldwindow.pantipmember.com/

     ลาก่อน....แล้วพบกันใหม่นะ... ด้วยแสงสุดท้ายที่เกาะแซนซิบาร์...
รีวิว แทนซาเนีย  (30)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ads Inside Post