..... สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี( Democratic People s Republic of Korea - DPRK ) ...ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศเกาหลีเหนือ ที่เรา ๆ รู้จักกันเป็นอย่างดี เอาชื่อแบบเกาหลี ๆ ไปซักหน่อยละกันครับ ..... โชซอน มินจุจูย อินมิน คงฮวากุก มีชื่อเล่นให้เรียกง่าย ๆ ว่า ปุก โชซอน แปลออกมาได้ว่าดินแดนโชซอนตอนเหนือ หรือเกาหลีเหนือนั่นเองแหละครับ .....
..... เกาหลีเหนือตั้งอยู่บนคาบสมุทรเกาหลีในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีเนื้อที่ ๑๒๐,๕๔๐ ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดกับ ๓ ประเทศคือด้านใต้ติดกับประเทศเกาหลีใต้( คนเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัม โชซอน แปลว่า ดินแดนโชซอนใต้ แต่คนเกาหลีใต้เรียกตัวเองว่า ฮันกุก ), ทางเหนือส่วนใหญ่พรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีนและส่วนน้อยเท่านั้นที่ติด กับรัสเซีย( บริเวณคาซาน ) ทั้งสองด้านตะวันตกตะวันออกขนาบด้วยทะเลโดยฝั่งตะวันตกติดทะเลเหลืองและอ่าว เกาหลี ส่วนด้านตะวันออกติดทะเลญี่ปุ่น .....บริเวณคาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว ๑,๐๒๐ กิโลเมตร และกว้าง ๑๗๕ กิโลเมตร ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทร พื้นที่ ๗๐% ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
..... ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแผ่นดินที่เป็นหินแกรนิตและหินปูนทำให้เกิด ภูมิประเทศที่สวยงามอย่างมหัศจรรย์ ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เทือกเขา ตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกสูงชันและทอดตัวลงสู่ทะเลตะวันออก ในขณะที่ชายฝั่งทางด้านใต้ และตะวันตก เทือกเขาค่อย ๆ ลาดลงต่ำสู่ที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลีโดยเฉพาะในด้านการ ผลิตข้าว
..... คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ที่บริเวณเหนือเส้นขนานที่ ๓๘ คือ ประเทศระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางใต้ และประเทศระบอบคอมมิวนิสต์ เกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร
..... เกาหลีเหนือมีประชากร ๒๕ ล้านคน เป็นเชื้อชาติเกาหลี( เป็นชนชาติเดียวกันกับชาวเกาหลีใต้และส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องกัน ) ใช้ภาษาเกาหลีเป็นภาษาราชการ และเกือบทั้งหมดรู้หนังสือ
..... เมืองหลวงของประเทศชื่อ กรุงเปียงยาง ด้านทิศตะวันตกของประเทศใกล้กับอ่าวเกาหลี และมีเมืองนัมโปเป็นท่าเรือบนฝั่งทะเลเหลือง เมืองโวนัน และเมืองชงจินบนฝั่งทะเลญี่ปุ่น .....
................................................................................................
ใน ภาพ : ชุดประจำชาติสวยงามของหญิงสาวเกาหลีเรียกว่า ฮันบก( เสื้อสวมด้านนอกเรียกว่าชอกอรี กระโปรงเรียกว่าชีมา ) ....แต่สาวในชุดฮันบกท่านนี้แสดงให้เห็นชัดว่าเป็นสาวเกาหลีเหนือ ที่หน้าอกติดเข็มกลัดท่านประธานาธิบดีตลอดกาลของเขา คิม อิล-ซุง ...
เขตการปกครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ....
.... ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ประเทศเกาหลีเหนือแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๙ จังหวัด (provinces) ๓ เขตพิเศษ (special regions) และ ๒ เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง (directly-governed cities) ได้แก่
๑. จังหวัดคังวอน ( Kangwondo : คังวอนโด )
๒. จังหวัดชากัง ( Chagang-do : ชากัง-โด )
๓. จังหวัดพยองอันใต้ ( Pyongan-namdo : พยองอัน-นัมโด )
๔. จังหวัดพยองอันเหนือ ( Pyongan-bukto : พยองอัน-บุคโต )
๕. จังหวัดเรียงกัง ( Ryanggang-do : เรียงกัง-โด )
๖. จังหวัดฮวางแฮใต้ ( Hwanghae-namdo: ฮวางแฮ-นัมโด )
๗. จังหวัดฮวางแฮเหนือ ( Hwanghae-bukto: ฮวางแฮ-บุคโต )
๘. จังหวัดฮัมกยองใต้ ( Hamgyong-namdo: ฮัมกยอง-นัมโด )
๙. จังหวัดฮัมกยองเหนือ ( Hamgyong-bukto: ฮัมกยอง-บุคโต )
เขตพิเศษ ๓ เขต ได้แก่.....
๑. เขตอุตสาหกรรมแกซ็อง
๒. เขตท่องเที่ยวกัมกังซาน
๓. เขตบริหารพิเศษซิน อุย จู
เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรงมี ๒ เมือง ได้แก่
๑. เมืองเปียงยาง ( เมืองหลวง )
๒. เมืองราซอน
................................................................................................
ในภาพ : แสดงแผนที่ประเทศเกาหลีเหนือ ....
ในอุทยานแห่งชาติคัมกังซาน เขตการท่องเที่ยวคัมกังซาน ...เห็นภาพนี้แล้วจะเดาออกมั้ยเนี่ยว่านี่คือเกาหลีเหนือ...
ไปแวะชมเปียงยางกันก่อนเลยครับ.....ที่เห็นแหลม ๆ แทงขึ้นฟ้าไกลโน่น เป็นโรงแรมรยูคยอง ...( อ่านยากจัง ) .... เป็นโรงแรม ซึ่งสร้างไม่เสร็จมานานมากแล้ว แต่ตอนนี้กำลังเริ่มสร้างต่อแล้ว โรงแรมนี้สูงพอๆกับใบหยกเลย
อีกมุม....
แบบพาโนรามา .....
อีกมุม.....ตึกขึ้นเต็มไปหมด มีคนหรือเปล่าก็ไม่รู้แฮะ....
สถานีเปียงยาง.....ไม่แน่ใจว่าสถานีรถอะไร ...
ภูมิทัศน์แห่งเปียงยาง....
เขาว่ามีไอซ์ ริงค์ด้วยนะเนี่ย....
ยามค่ำคืน.....
ค่ำคืนนี้ที่ โรงหนัง แท ด็อง มุน
ซุ้มประตูแห่งชัยชนะ....
สนามบินแห่งชาติ คิม อิล-ซุง ในกรุงเปียงยาง
มีสนามบินแล้วก็ต้องมีเครื่องบิน.....สายการบินแห่งชาติแอร์ คอรยอ..
People's Palace of Culture .....
ซุ้มประตู....เข้าเมืองเปียงยาง ....
สถานีรถไฟใต้ดิน .....ว่าด้วยเรื่อง การเมืองการปกครอง .......
- เกาหลีเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของอดีตสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองของเกาหลีเหนือตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิจูเช่ ( Juche ) ซึ่งอดีตประธานาธิบดี คิม อิล ซุง ได้บัญญัติขึ้นเมื่อ ๒๖ ธ.ค. ๒๔๙๘ ประกอบด้วยหลักการสำคัญ คือเอกราชทางการเมืองอย่างแท้จริง การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศด้วยตนเอง
- เกาหลีเหนือมีการปกครองระบบพรรคเดียวมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการก่อตั้งประเทศเมื่อ ๙ ก.ย. ๒๔๙๑ โดยมีพรรคคนงานเกาหลี (Workers Party of Korea) เป็นองค์กรที่มีบทบาทและอิทธิพล สูงสุดในทางการเมืองที่คอยควบคุมหน่วยงานของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญปกครองประเทศของเกาหลีเหนือบัญญัติไว้ว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของสมัชชาประชาชนสูงสุด ซึ่งมีสมาชิก ๖๘๗ คน มาจากการเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๕ ปี
- สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีเหนือได้เข้าสู่ความไม่แน่นอน ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคิม อิล ซุง ในปี ๒๕๓๗ ซึ่งทำให้ประชาคมระหว่างประเทศกังวลว่าเกาหลีเหนือจะประสบปัญหาวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของนายคิม จอง อิล ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๑ แสดงให้เห็นว่านายคิม จอง อิล สามารถกุมอำนาจการปกครองประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยนายคิม จอง อิล ก็ได้มีท่าทีที่ต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโลกเสรีมาก ขึ้น คาดว่าเพราะต้องการได้รับเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
- เมื่อ ๕ ก.ย. ๓๕๔๑ การประชุมสภาประชาชนสูงสุดครั้งที่ ๑๐ มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยระบุว่า
๑) นายคิม อิล ซุง เป็นผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ และเป็นบรรพบุรุษแห่งสังคมนิยมของเกาหลี ดังนั้น จึงยกย่องให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President)
๒) ยกเลิกระบบประธานาธิบดีเป็นประมุข ให้ประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defense Commission) เป็นตำแหน่งสูงสุดของประเทศ โดยมีอำนาจปกครองด้านการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ
๓) ให้สภาบริหารสูงสุด (Presidium) ของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ (Supreme People's Assembly) เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ อนึ่ง สภาฯ มีมติแต่งตั้งนายคิม ยอง นาม ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ รับผิดชอบงานด้านการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ ได้แก่ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพิธีการทูต การให้และยกเลิกสัตยาบัน การแต่งตั้งและเรียกกลับผู้แทนทางการทูตในต่างประเทศ การรับสาส์นตราตั้งทูตต่างประเทศ การเป็นผู้แทนประเทศพบบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่ไปเยือนเกาหลีเหนือ รวมทั้งเป็นผู้แทนประเทศเดินทางไปเยือนประเทศอื่นๆ
บุคคลสำคัญทางการเมืองปัจจุบันของเกาหลีเหนือ....
๑. นายคิม จอง อิล ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defense Commission)
๒. นายคิม ยอง นัม ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุด (President of the Presidium of the DPRK Supreme People's Assembly)
๓. โจ เมียง ร็อค( ลืมไปแล้วว่ายศอะไร ) ดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ ( Vice Chairman of the National Defense Commission)
๔. นายคิม ยอง อิล ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ( เข้ารับตำแหน่ง ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ )
................................................................................................
ในภาพ : ผู้นำทางการเมืองของเกาหลีเหนือทั้ง ๔ ...จากซ้ายไปขวา โจ เมียง ร็อคล คิม จอง อิล, คิม ยอง นัมและคิม ยอง อิล ....
ท่านคิม จอง อิล ....บริเวณปรัมพิธีจัตุรัส คิม อิล ซุง
ท่านผู้นำคิม จอง อิล....เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ ที่ฐานที่มั่นลึกลับ บนยอดเขาเบคดู รอยต่อระหว่างชายแดนประเทศจีน และเกาหลีเหนือ คิม จอง อิล ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นผู้นำประเทศเกาหลีเหนือที่มีอำนาจสูงสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีเหนือ และยังเป็น ผู้นำพรรคแรงงาน ผู้นำประธานคณะกรรมการการป้องกันแห่งชาติ
..... ท่านศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในกรุงเปียงยาง โดยสอบได้ในอันดับที่ ๑ ตลอด ต่อมาจึงถูกส่งตัวไปที่ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสาธารณรัฐ ประชาชนจีน เพื่อความปลอดภัย ต่อมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคิม อิล ซุง จบได้ปริญญาทางด้านเศรษฐศาสตร์ การเมือง ก่อน ที่จะเริ่มงานกับพรรคแรงงาน....
ภาพวาดท่านผู้นำเมื่อเทียบผู้เป็นพ่อประธานาธิบดีตลอดกาล คิม อิล-ซุง
อีกหนึ่งผู้ทรงอิทธิพลแห่งเกาหลีเหนือ ....คิม ยอง นัม
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ชเว ยอง ริม (สวมแว่นดำ)
ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ คิม จอง อิล
สำหรับประชาชนชาวเกาหลีเหนือ....นี่คงเป็นกระบอกเสียงอย่างดีว่าตอนนี้ท่านผู้นำทำอะไรบ้าง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป.....
๑. ยุคประวัติศาสตร์
..... ในประวัติศาสตร์เกาหลี แบ่งเป็นราชอาณาจักรทั้งสาม คือราชอาณาจักรโกคูรยอ ราชอาณาจักรแพ็คเจและราชอาณาจักรซิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลีและบางส่วนของแมนจูเรีย ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑ ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๗ ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศแมนจูเรียอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร
๒. หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
..... ปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองกำลังของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปปลด อาวุธญี่ปุ่นในเกาหลี แต่สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถตกลงเรื่องการรวมเกาหลีกันได้ แต่ละฝ่ายจึงประกาศประเทศของตน โดยเกาหลีใต้ เรียกชื่อประเทศว่า " สาธารณรัฐเกาหลี " ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ส่วนเกาหลีเหนือ เรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
๓. ยุคเอกราช
..... หลังจากเกาหลีเหนือได้แยกออกมาเป็นเอกราชแล้ว นาย คิม อิล ซุง ก็ได้มีบทบาทสำคัญของการบริหารประเทศตลอดมา ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๕๑๕ เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และต่อจากนั้นก็ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. ๒๕๓๗ แล้วบุตรชาย คิม จอง อิล ได้ดำรงตำแหน่งสืบมา
.................................................................................................
ในภาพ : ประธานาธิบดีคิม อิล ซุงได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของเกาหลีเหนือแม้ว่าจะถึงแก่อสัญกรรมแล้วก็ตาม ....
อนุสาวรีย์ท่านผู้นำคิม อิล ซุง ตั้งตระหง่านที่จัตุรัสคิม อิล-ซุง....
..............จัตุรัสคิม อิล-ซุง
กล่าวถึงสงครามเกาหลี
..... สงครามเกาหลี เป็นสงครามระหว่างประเทศเกาหลีเหนือกับประเทศเกาหลีใต้ เริ่มตั้งแต่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ถึง ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นหนึ่งในสงครามตัวแทนระหว่างช่วงสงครามเย็น
..... ฝ่ายเกาหลีใต้ประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร ประเทศออสเตรเลีย และกองกำลังของประเทศอื่น ๆ โดยคำสั่งของสหประชาชาติ ฝ่ายเกาหลีเหนือมีสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหภาพโซเวียตคอยให้ความช่วยเหลือ
- ย้อนรอยนิดหน่อยนะครับ
..... ประเทศเกาหลีโดนยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ประเทศเกาหลีได้รับอิสระ สหรัฐอเมริกาได้ช่วยญี่ปุ่นในการฟื้นฟูดินแดน เนื่องด้วยเกาหลีอยู่ติดกับประเทศอื่นๆรอบด้าน โดยด้านเหนือของเกาหลีติดกับประเทศจีน และทางใต้ติดกับญี่ปุ่นซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของอเมริกานั้น การปกครองที่แตกต่างของประเทศรอบด้านจึงเข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศเล็กๆที่ อยู่ตรงกลางระหว่างมหาอำนาจ จีนและสหภาพโซเวียดที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ญี่ปุ่นและอเมริกาที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย เกาหลีที่ซึ่งได้รับอิสรภาพ จำเป็นต้องมีผู้นำ แต่หากว่าประชากรที่มีในขณะนั้นมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ส่วนที่ติดกับจีนก็เห็นว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ดี แต่อีกด้านที่อยู่ติดกับญี่ปุ่นและอเมริกาก็เห็นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตย ดี จึงเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยกการปกครองออกเป็นสองแบบ คือแบบคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตย เมื่อเกาหลีทั้งสองชาติมีความเห็นที่ต่างกันแล้ว เกาหลีที่รับการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มานั้น มีความต้องการอยากที่จะให้เกาหลีที่มีการปกครองที่ต่างกันมีการรวมชาติให้ เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงส่งกำลังทหารเข้ายึดเกาหลีส่วนที่รับการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยวิธีการรวมชาติแบบที่ผิดไป จึงทำให้เกิดสงครามเกาหลีขึ้น จึงเป็นเหตุให้เกาหลีแบ่งออกเป็นสองส่วน คือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยมีเส้นแบ่งอยู่ที่เส้นขนานที่ ๓๘
สงครามเกิดขึ้นได้อย่างไร....
..... วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ทหารฝ่ายเกาหลีเหนืออาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์ของโซเวียตบุกข้ามเส้นขนานที่ ๓๘ ลงมา วันที่ ๒๘ มิถุนายน ก็สามารถยึดกรุงโซลได้ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้สั่งการให้นายพลดักลาส แมกอาร์เทอร์ ผู้บัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกในขณะนั้น ให้ทำการตอบโต้
..... วันที่ ๕ กรกฎาคม ปีเดียวกัน กองทัพสหรัฐได้บุกเข้าสู่เกาหลีเหนือ
..... สหประชาชาติได้ลงมติให้ยกกองกำลังเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้ กองกำลังสหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมกับกองกำลังของสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วยกองกำลังของอีก ๑๕ ชาติ (รวมประเทศไทย) ในตอนแรกนั้นดูเหมือนว่าฝ่ายสหประชาชาตินั้นจะเป็นฝ่ายที่ถอยร่นมาโดยตลอด เป็นเพราะทางสหรัฐมีการดำเนินนโยบายยุโรปก่อนจึงให้กำลังพลกับแมคอาเทอร์ไม่ เต็มที่ ซึ่งทำให้แมคอาเทอร์โกรธมากจึงออกคำสั่งให้นำกำลังพลอเมริกันในแปซิฟิกมาใช้ ก่อน หลังจากที่สหรัฐเริ่มให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่เกาหลีเหนือก็ได้แต่ถอย ร่นจนไปถึงเส้นขนานที่ ๓๘
ท่านผู้นำคิม อิล ซุง....ตอนหนุ่ม ๆ
ตอนปี ๑๙๗๓ ขณะพบปะท่านนายกรัฐมนตรีขณะนั้นของมอลต้า โดมินิก มินตอฟ
เห็นชุดฟอร์มแบบนี้คงปฏิเสธยากว่ามาจากไหน ....
สาว ๆ เกาหลีเหนือกับบุคลิกที่ดูเย็นชา....
แต่บางครั้งก็ดูน่ารัก....
สาว ๆ ในชุดฮันบก
คู่นี้จะไปเรียน....
สาว ๆ กับบทเพลงอารีรัง ......ยังพร้อมเพรียงกันเลยง่ะ
กองทัพ......กับความพร้อมเพรียง
ดูกองทัพฝ่ายชายกันมั่ง....
จุดท่องเที่ยวทะเลสาบซา มิล โป .....ที่กึม กัง ซาน
เมืองท่าวอนซาน ในจังหวัดกังวอน ....
พิพิธภัณฑ์ในจังหวัดกังวอน....
หมู่บ้านปันมุนจอม....
เป็นเขตปลอดทหารตั้งอยู่ ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้...เป็นเขตที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด ในบริเวณเส้นขนานที่ ๓๘ โดยมีทหารยืนคุ้มกันอย่างเข้มงวดตลอดเวลา ซึ่งจัดว่าเป็นพื้นที่ที่มีการเผชิญหน้ากันมากที่สุดในโลก ......
นับ จากสงครามเกาหลีได้อุบัติขึ้นวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๑๙๕๐ และสิ้นสุดลงโดยการหยุดยิงเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๙๕๓ มีประเทศที่ส่งหน่วยรบเข้าร่วม ๑๖ ประเทศ และอีก ๕ ประเทศได้จัดส่งเฉพาะเวชภัณฑ์ ตั้งแต่นั้นมาประเทศเกาหลีได้ถูกแบ่งออกเป็นเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ หลังจากที่สงครามสงบลงแล้วก็ได้มีการจัดตั้งเขตปลอดทหารขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๙๕๓ เมื่อได้มีการทำสนธิสัญญาหยุดยิงกันขึ้น เขตปลอดทหารนี้ตัดครึ่งคาบสมุทรเกาหลีโดยมีระยะ ๒ กิโลเมตรคั่นอยู่กึ่งกลางชายแดนของแต่ละส่วนซึ่งเกาหลีเหนือและใต้กำหนดให้ เป็นเขตยุติการปฏิบัติการทางทหารและการกระทำก้าวร้าวใดๆทั้งสิ้น ทั้งยังเป็นพื้นที่สงวนทางระบบนิเวศน์อันหาค่ามิได้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้และ สัตว์หายากต่างๆ ....
สภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจ....
- เกาหลีเหนือมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง โดยเกาหลีเหนือได้ยึดถืออุดมการณ์ลัทธิจูเช่ (Juche) ของพรรคแรงงานเกาหลีมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การพึ่งพาตนเอง เกียรติภูมิของชาติ และการสร้างความเจริญให้กับประเทศ พร้อมกับประกาศ “ขบวนการม้าบิน” (Chollima Movement) ในปี ๒๕๐๑ ที่กระตุ้นให้ประชาชนขยันขันแข็งในการทำงาน เร่งเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร
- เกาหลีเหนือมีระบบการค้าผูกขาดโดยภาครัฐ ทั้งการค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ควบคุมการค้าภายในประเทศ และกระทรวงการค้าต่างประเทศควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยได้จัดตั้งบริษัทการค้าของรัฐหรือสหกรณ์การค้าของรัฐ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการค้า รัฐบาลเกาหลีเหนือพยายามขยายการค้ากับต่างประเทศให้มากขึ้น โดยได้เน้นการผลิตสินค้าที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น พยายามปรับปรุงเครดิตของเกาหลีเหนือ ส่งเสริมสินค้าออกทั้งแบบ merchant trade และ barter trade ส่งเสริมการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ นอกจากนี้ เกาหลีเหนือได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Commission for the Promotion of Foreign Trade) เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลี เหนือ
- เกาหลีเหนือสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ ๒๐ ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศเท่านั้น ภาวะการขาดแคลนพลังงานของเกาหลีเหนือ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตได้เพียงร้อยละ ๒๐ ของความสามารถในการผลิต ทั้งนี้ มีรายงานว่าระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งของเกาหลีเหนืออยู่ในสภาพย่ำแย่ ซึ่งหากสภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไป อาจส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเกาหลีเหนือล่มสลายได้ และนำไปสู่การอพยพของชาวเกาหลีเหนือไปสู่จีนและเกาหลีใต้
- อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกาหลีเหนือมีทหารประจำการกว่า ๑ ล้านคน ทำให้องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ แสดงข้อห่วงกังวลว่าความช่วยเหลือด้านอาหารที่นานาประเทศส่งไปช่วยเหลือชาว เกาหลีเหนือ ส่วนใหญ่อาจถูกนำไปใช้เลี้ยงดูกองทัพและไม่ถึงมือประชาชนที่อดอยากและขาด แคลนอาหาร
- ในปี ๒๕๓๘ และ ๒๕๓๙ ได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ ๑๐ ปี ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทาง เศรษฐกิจของประเทศ ต่อมาในปี ๒๕๔๐ เกาหลีเหนือประสบกับภาวะภัยแล้งและพายุในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ประชาชนเจ็บป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงได้เริ่มขอรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ ทั้งนี้ ก่อนการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในปี ๒๕๓๒-๒๕๓๓ ประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีเหนือคือ สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มูลค่าการค้ากับรัสเซียได้ลดน้อยลงอย่างมาก และประเทศยุโรปตะวันออกก็ไม่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของเกาหลีเหนือ ก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่นๆ ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาได้ รวมทั้ง เกาหลีเหนือยังประสบปัญหาการขาดเแคลนเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอีกด้วย
- รัฐบาลเกาหลีเหนือได้พยายามหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนี้
๑) ในปี ๒๕๓๔ ได้พยายามทดลองเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเดียวกับจีน บริเวณใกล้พรมแดนจีนและรัสเซียเรียกว่า Rajin-Sonbong Free Trade Zone (FTZ) หรือเรียกย่อว่า ราซอน เพื่อเป็นเขตผ่อนผันให้กับนักลงทุนต่างชาติผ่านเข้าออกได้ โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา มีการลดภาษีศุลกากร และมีสิ่งจูงใจอื่นๆ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเขตดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวได้รับความสนใจน้อยมาก (มีนักลงทุนจากไทยและจีนเข้าไปลงทุนในขณะนี้) เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูง การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินงาน นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ค่อยแน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองภายในเกาหลีเหนือ ตลอดจนปัญหาเรื่องนโยบายคุ้มครองการลงทุน รวมทั้งความไม่พร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ สนามบิน ท่าเรือ และการขาดพื้นฐานทางอุตสาหกรรม
๒) ในปี ๒๕๔๑ ได้เปิดให้บริษัทฮุนไดของเกาหลีใต้เข้าไปลงทุนโดยการนำนักท่องเที่ยวเข้าชม บริเวณเทือกเขา Kumgang โดยบริษัทฮุนไดต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลเกาหลีเหนือเดือนละ ๑๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ [แต่ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้น้อยเกินคาด คือน้อยกว่า ๔,๐๐๐ คนต่อเดือนทำให้บริษัทฮุนไดขาดทุนอย่างนัก จนเมื่อเดือน ม.ค. ๒๕๔๕ รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการดังกล่าว เพราะเห้นว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมนโยบายปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้
๓) เมื่อ ก.ย. ๒๕๔๕ เกาหลีเหนือได้ประกาศให้เมืองชินอึยจู ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ติดชายแดนจีนตรงข้ามเมืองตานตงของมณฑลเหลียวหนิงมีแม่น้ำ ยาลูเป็นเส้นกั้นพรมแดนให้เป็นเขตบริหารพิเศษขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางโดยสามารถ บัญญัติกฎหมายมีอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ
๔) นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ระหว่างนายคิม จอง-อิล ผู้นำเกาหลีเหนือกับนายคิม แด-จุง อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในปี ๒๕๔๓ เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้มีความพยายามร่วมกันในการส่งเสริมโครงการนิคม อุตสาหกรรมแกซอง (Gaeseong Industrial Complex- GIC) ซึ่งปัจจุบัน โครงการดังกล่าวอยู่ในระยะที่ ๑ มีอุตสาหกรรมได้รับประโยชน์จากค่าจ้างแรงงานที่ถูก การพึ่งพาและทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรม เช่น บริษัทผลิตเครื่องใช้ในครัว บริษัทผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น ....
....ในภาพเงินวอนเกาหลีเหนือ.....
- อย่างไรก็ตาม การทดลองขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนและการค้าต่างประเทศชะงักงัน โดยเฉพาะผลกระทบจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ ๑๗๑๘ (๒๐๐๖) หากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้รับการแก้ไข รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางการเงินให้เป็นสากลมากขึ้น ก็อาจทำให้การลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากต่างประเทศมาก ขึ้นกว่าในปัจจุบัน
- เมื่อ ๒ ส.ค. ๒๕๔๕ เกาหลีเหนือได้เริ่มทดลองมาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยลดการปันส่วนอาหาร และให้ประชาชนซื้ออาหารจากตลาดมากขึ้นแทน และเพิ่มค่าแรงเพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้ออาหารจากตลาดเอง รัฐบาลเกาหลีเหนือจะใช้ family production system ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งคล้ายกับระบบที่จีนใช้เมื่อเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจ ใหม่ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดการซื้อธัญญพืชสำหรับการปันส่วนของรัฐ และจะปล่อยให้เกษตรกรสามารถขายพืชผลได้เองมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดค่าเงินของเกาหลีเหนือจาก ๒.๒ วอนต่อ ๑ เหรียญสหรัฐ เป็น ๒๐๐ วอนต่อ ๑ เหรียญสหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ระบบตลาดต่อไปในอนาคต
- การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือมีความคืบหน้าที่ดีขึ้น ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเกาหลีเหนือสามารถรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปได้ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงการจัดสรรอุปทานพลังงานเพื่อรองรับความต้องการได้ดีขึ้น มีความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้นทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในปี ๒๕๔๖ ภาคเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน ๔.๑๕๖ ล้านตันจากความต้องการบริโภค ๕.๑ ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒ และภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน ๒,๓๙๐ ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ ๑๑ ปี
- ปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ให้อิสระมากขึ้นแก่ประชาชน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทต่างๆ ในการเลือกประกอบอาชีพ การบริหารจัดการ การจัดทำข้อตกลงการค้าได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเพิ่มอีกกว่า ๓๐๐ แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบเศรษฐกิจการ ตลาด ในขณะที่สตรีเกาหลีเหนือก็เข้าไปมีบทบาทในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวเพิ่ม ขึ้นด้วย
- การประชุมสภาประชาชนสูงสุด (SPA) เมื่อ ๑๑ เม.ย. ๔๙ ที่ผ่านมา นโยบายทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี อันเป็นยุทธศาสตร์ของเกาหลีเหนือในการเพิ่มความสามารถในการผลิตและเสริม สร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้ ตามหลักจูเช่ และเชื่อว่าเกาหลีเหนือจะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และอุตสาหกรรม Software (นาย คิม จอง-อิล เคยประกาศให้ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นยุคของการประวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ) ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๑เป็นต้นมา เกาหลีเหนือประกาศว่าการสร้าง ”ประเทศที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง” ( Kangsong Taeguk )จะต้องตั้งอยู่บนเสาหลักสำคัญ ๓ ประการคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุดมการณ์ และการทหาร
- ล่าสุด การประชุมสภาประชาชนสูงสุด เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ได้มีการพิจารณาภารกิจสำคัญในปี ๒๐๐๗ โดยจะเน้นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยยึดหลักการพัฒนาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเบา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ ภารกิจในปี ๒๐๐๗ จะยังคงเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นปี ๒๐๐๖ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เร่งด่วน
+++ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี+++
....ภูมิหลังการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
- เริ่มต้นในปี ๒๕๑๕ จากการแลกเปลี่ยนการติดต่อในด้านการค้าและกีฬาอย่างไม่เป็นทางการ
- ในปี ๒๕๑๗ เกาหลีเหนือแสดงความสนใจที่จะขอเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น
- ๘ พ.ค. ๒๕๑๘ ไทยและเกาหลีเหนือได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน และมีการแลกเปลี่ยนเอคอัครราชฑูตระหว่างกันในเวลาต่อมา โดย ออท.เกาหลีเหนือประจำสหภาพพม่า (ในขณะนั้น) ดำรงตำแหน่ง ออท.ประจำประเทศไทย และออท.ณ กรุงปักกิ่ง ดำรงตำแหน่งออท.ณ กรุงเปียงยาง
- ๑๕ มี.ค. ๒๕๓๔ เกาหลีเหนือได้ยกระดับสำนักงานผู้แทนการค้าของเกาหลีเหนือในกรุงเทพฯ (ที่ตั้งขึ้นเมื่อ ๒๕ ธ.ค.๒๕๒๒) เป็น สอท.แต่ไทยยังไม่ได้เปิด สอท.ณ กรุงเปียงยาง โดยขณะนี้ สอท.ณ กรุงปักกิ่ง เป็นผู้ดูแล
- นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันแล้ว ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือน ระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
ความร่วมมือด้านการค้า/การลงทุน
- กลไกความสัมพันธ์ทวิภาคีได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (Joint Trade Commission:JTC) รมว.พณ.ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความ ร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน
- การลงทุนไทยในเกาหลีเหนือ บริษัท ล็อกซเลย์ จำกัด มหาชน (Loxley Public Co.,Ltd) ลงทุนด้านกิจการโทรคมนาคม
- การค้าไทยกับเกาหลีเหนือ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด
- สินค้านำเข้าจากไทยได้แก่ ยางพารา ทองแดงและของทำด้วยทองแดง ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ดีบุก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
- สินค้าส่งออกมาไทยได้แก่ อัญมณี เคมีภัณฑ์ สัตว์นำสด แช่เย็น แช่แข็ง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ฯลฯ
ความตกลงการบิน
- เมื่อ ๑๘ มี.ค. ๒๕๓๖ ไทยและเกาหลีเหนือได้ทำความตกลงการบินระหว่างกัน โดยสายการบินโครยอ ของเกาหลีเหนือ ได้เริ่มทำการบินจากกรุงเปียงยางมาไทยแล้วระยะหนึ่ง (เที่ยวบินปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๕ เม.ย. ๒๕๓๖) และได้ระงับเที่ยวบินไว้ระยะหนึ่ง เพราะมีผู้โดยสารน้อย โดยเกาหลีเหนืออ้างว่าสาเหตุที่ไม่มีผู้โดยสารเพราะปัญหาความไม่สะดวกเกี่ยว กับการขอรับการตรวจลงตราให้แก่ชาวเกาหลีเหนือที่เดินทางมาไทย ซึ่งไม่สามารถรับการตรวจลงตราที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ได้ แต่ยังต้องไปขอรับการตรวจลงตราที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ที่ผ่านมา เกาหลีเหนือได้เปิดเส้นทางบินไปกลับ เปียงยาง-มาเก๊า-กรุงเทพฯ โดยบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยว เมื่อเดือนเม.ย. ๒๕๔๐ ได้ขยายเป็นสัปดาห์ละ ๒ เที่ยว แต่ต่อมาได้ลดลงเป็นสัปดาห์ละ ๑ เที่ยวเหมือนเดิม เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารมีไม่มากพอ ปัจจุบันเนื่องจากมีผู้โดยสารน้อยมาก สายการบินโครยอ จึงทำการบินเส้นทางเปียงยาง-กรุงเทพฯ-เปียงยาง เพียงเดือนละ ๑ เที่ยวเท่านั้น
ความร่วมมือทางทหาร
- ไทยและเกาหลีเหนือยังไม่มีความร่วมมือทางทหารที่เป็นทางการระหว่างกันแต่ อย่างใด แต่ทั้งสองฝ่ายก็มีการติดต่อระหว่างกัน โดยนายโอ จิน-อู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีเหนือมาเยือนไทย เมื่อ ธ.ค. ๒๕๓๓และเมื่อระหว่าง ๑๘-๒๑ ส.ค. ๒๕๓๖ พล.อ.วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยก็ได้ไปเยือนเกาหลีเหนือ
- ฝ่ายเกาหลีเหนือได้เคยทาบทามขอแต่งตั้งผู้ช่วยทูตทหารเกาหลีเหนือประจำ ประเทศไทย และเสนอให้ไทยพิจารณาแต่งตั้งให้ผู้ช่วยทูตทหารประจำกรุงปักกิ่ง มีเขตอาณาปกคลุมถึงเกาหลีเหนือด้วย ซึ่งกระทรวงกลาโหมกำลังพิจารณาข้อเสนอของเกาหลีเหนือ
ด้านวัฒนธรรม
- ไทยและเกาหลีเหนือมีการแลกเปลี่ยนการติดต่อและการดำเนินกิจกรรมทางด้าน วัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน โครงการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชน กีฬา นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-เกาหลีเหนือ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ เป็นต้น
- อนึ่ง เกาหลีเหนือได้เคยทาบทามขอทำความตกลงด้านวัฒนธรรมกับไทยในปี ๒๕๓๒ และปี ๒๕๓๔ แต่ไทยไม่ได้ตอบสนอง ล่าสุด เมื่อนายคิม ยอง นาม ประธานสภาบริหารสูงสุดกำหนดเยือนไทยตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีระหว่าง ๒๘ ก.พ. – ๓ มี.ค. ๒๕๔๕ ฝ่ายเกาหลีเหนือได้เสนอร่างความตกลงฯ อีกครั้ง และไทยตอบรับ และมีการลงนามความตกลงใน ๑ มี.ค. ๒๕๔๕
- ในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี ๒๕๔๘ ไทยและเกาหลีเหนือได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศของสองประเทศ
ความร่วมมือทางวิชาการ
- ปัจจุบันไทยได้ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่เกาหลีเหนือภายใต้การดำเนินงาน ของกรมวิเทศสหการ โดยเมื่อปี ๒๕๓๙ เกาหลีเหนือได้จัดส่งคณะผู้แทนเข้าหารือกับผู้แทนกรมวิเทศสหการเพื่อแสดง ความประสงค์ในการที่จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในโครงการหลักสูตรฝึกอบรม ประจำปี ซึ่งรัฐบาลไทยได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการค้าระหว่างประเทศ การคลัง การลงทุน และการขนส่ง โดยการเข้าร่วมการฝึกอบรมดังกล่าวของเกาหลีเหนืออยู่ในรูปแบบของความร่วมมือ ทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation among Developing Countries- TCDC) ซึ่งรัฐบาลของประเทศผู้ขอรับการฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ระหว่างประเทศ และรัฐบาลของประเทศผู้จัดการฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศทั้ง หมด พร้อมกันนี้ เกาหลีเหนือยังได้เสนอที่จะให้ไทยจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปเข้ารับการฝึกอบรมใน หลักสูตรฝึกอบรมที่เกาหลีเหนือจัด ซึ่งเกาหลีเหนือมีศักยภาพ เช่น สาขาเหมืองแร่ และนิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งในปี ๒๕๔๑ คณะผู้แทนกรมวิเทศสหการได้เดินทางไปหารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ กับเกาหลีเหนือที่กรุงเปียงยาง ตามคำเชิญของรัฐบาลเกาหลีเหนือ โดยฝ่ายไทยได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือทางวิชาการ ดังนี้ ทุนฝึกอบรม/ดูงานระยะสั้นทางด้านวิทยาศาสตร์และการเกษตรฯ การเชิญเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือเยือนไทย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น นอกจากนี้ กรมวิเทศสหการยังได้จัดสรรการให้ความร่วมมือในกรอบการฝึกอบรมประเทศที่สาม (Third Country Training Program) โดยร่วมมือกับ WHO ในการจัดการฝึกอบรม/ดูงานด้านสาธารณสุขให้แก่เกาหลีเหนือปีละประมาณ ๑๕-๑๘ หลักสูตรด้วย
.................................................................................................
ในภาพ : อีกหนึ่งชาติใกล้ชิดของเกาหลีเหนือคือรัสเซีย มีสถานฑูตอยู่ในเปียงยางด้วย
การเยือนเกาหลีเหนือครั้งประวัติศาสตร์ประธานาธิบดีคิม แด จุงของเกาหลีใต้ในขณะนั้น ....
ชนชาติ ในสายเลือดเดียวกันอย่างเกาหลีทั้งสองคงจดจำภาพเหล่านี้ไปอีกนาน...
โลโก้ของพรรคแรงงานเกาหลี....คล้าย ๆ โลโก้ค้อนเคียว....แต่นี่เพิ่มแปรงด้วยตรงกลาง....
- ค้อน แทน คนงาน, แรงงาน
- พู่กัน แทน ปัญญาชน, คนมีความรู้
- เคียว แทน คนชนบท..
เพลงชาติเกาหลีเหนือ......
ชื่อว่า แอ กุก กา ......
.... เช่นเดียวกับชื่อของเพลงชาติเกาหลีใต้ มีความหมายว่า " บทเพลงของผู้รักชาติ " เพลงนี้รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งตามวรรคแรกของเพลงว่า " อาชิมุน ปินนารา " แปลว่า " ขอให้อรุณรุ่งส่องสว่าง "
.... ก่อนการก่อตั้งประเทศ เกาหลีภาคเหนือยังคงใช้เพลงเอกุกกา ซึ่งเป็นเพลงชาติของประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบัน เป็นเพลงชาติ เมื่อเกาหลีเหนือแยกตัวเป็นประเทศใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงได้มีการประพันธ์เพลงนี้ขึ้นเป็นเพลงชาติของเกาหลีเหนือแทนที่ เนื้อร้องโดย ปัก เซ ยอง ทำนองโดย คิม วอน คยุน .....
ความหมาย....
Let morning shine on the silver and gold of this land,
Three thousand leagues packed with natural wealth.
My beautiful fatherland.
The glory of a wise people
Brought up in a culture brilliant
With a history five millennia long.
Let us devote our bodies and minds
To supporting this Korea forever.
Embracing the atmosphere of Mount Paektu,
Nest for the spirit of labour,
The firm will, bonded with truth,
Will go forth to all the world.
The country established by the will of the people,
Breasting the raging waves with soaring strength.
Let us glorify forever this Korea,
Limitlessly rich and strong.
เนื้อร้อง....
http://en.wikipedia.org/wiki/Aegukka
สัตว์ประจำชาติเกาหลีเหนือ.....
- เสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรีย ...The Siberian tiger (Panthera tigris altaica)
ธงชาติเกาหลีเหนือ......
เกาหลีเหนือเริ่มมีการ นำธงมาใช้ในปี ๑๙๔๘ เมื่อเกาหลีเหนือกลายเป็นสาธารณรัฐแบบคอมมิวนิสต์เอกราชตามธรรมเนียม ธงเกาหลีเหนือจะเป็นสีแดง ขาว และฟ้า และรัฐบาลใหม่ก็เอาสีพวกนี้มาใช้ โดยเพิ่มจำนวนสีแดงให้มากขึ้นเพิ่มดาวแดงบนวงกลมสีขาวลงไปด้วย วงกลมนี้อาจมาจากเครื่องหมาย หยินหยางของจีน ซึ่งก็พบในธงชาติเกาหลีใต้เช่นกัน หยินหยางเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นธาตุตรงกันข้ามในธรรมชาติ ส่วนแถบสีแดงแสดงให้เห็นวัฒนธรรมการปฏิวัติขณะที่ดาวแดงแทนลัทธิคอมมิวนิสต์
.......
แถบสีฟ้าสองแถบ ....แทน เอกราช สันติภาพและมิตรภาพ
แถบสีขาวสองแถบ ...แทน ความบริสุทธิ์
แถบสีแดง ....แทน การปฏิวัติคอมมิวนิสต์
ดวงดาวสีแดง เป็นสัญลักษณ์ของคอมมิวนิสต์....
ตราแผ่นดิน.....
..... นอกจากดาวแดง เกาหลีเหนือยังรับแบบอย่างของดวงตรามาจากโซเวียตด้วย ดวงตราของเกาหลีเหนือจึงออกแนวที่มีภาพอุตสาหกรรม โดยเสาไฟฟ้าแรงสูงและเขื่อนใหญ่ประกอบอยู่ .....
ดวงดาว ........ลัทธิคอมมิวนิสต์
ในภาพประกอบด้วยอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น
ตัวอักษรจารึกชื่อประเทศอย่างเป็นทางการเป็นภาษาเกาหลี ....
ขอขอบคุณ...
...ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ
...อิงวิกิเปเดีย
...ไทยวิกิเปเดีย
...คอสมอส..ธงนานาชาติ
...ไอพียู.คอม
...ฟริค เคอาร์
...และสุดท้ายเพื่อน ๆ สมาชิกที่แวะเวียนเข้ามาให้กำลังใจกันครับ
ไม่ ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชาวเกาหลีเหนือหรือแม้แต่เกาหลีใต้ มีทุกสิ่งที่เป็นของตัวเอง มีตราแผ่นดินมีธงชาติ เพลงชาติของตัวเอง ....มีระบบการปกครองของตัวเอง ..... มีพื้นที่ในส่วนของตัวเอง ของใคร ของมันแต่ในความเป็นจริงลึก ๆ ในจิตใจของคนเกาหลีทั้งสองแล้ว.... แทบไม่สามารถแยกจากความเป็นเครือญาติที่ฝังลงลึกมาตั้งแต่อดีตกาลกระทั่ง ปัจจุบันหรือแม้แต่อนาคต.......ธงผืนใหม่ที่มีการจัดทำขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าเกาหลี ไม่มีเหนือหรือใต้ แต่มีเพียงเกาหลีเดียวเท่านั้น ......
ไม่รู้ว่าจะมีวันนั้นหรือไม่ วันที่จะชักธงผืนนี้ขึ้นสู่ยอดเสา ในแผ่นดินโชซอนโบราณแห่งนี้ แผ่นดินแห่งบรรพบุรุษเกาหลี.....
Cradit: คุณนกสุโขทัย http://worldwindow.pantipmember.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น