:: รีวิว..มอลตา ..ไข่มุกสีน้ำตาลแห่งเมดิเตอร์เรเนียน ::

ณ แผ่นดินลอยน้ำ....มอลตา ..ไข่มุกสีน้ำตาลแห่งเมดิเตอร์เรเนียน ...

ผม ว่ากิตติศัพท์ความงดงาม เป็นที่เรื่องลือเกี่ยวกับดินแดนแห่งนี้ เพื่อน ๆ คงพอจะได้รับรู้กันมาบ้าง...แล้ว ...วันนี้เราจะมารู้จักประเทศแห่งนี้กันครับ...ประเทศที่มีลักษณะแบนราบ เนืนนูนได้ด้วยเนินดินริมฝั่ง..ไม่มีแม้กระทั่งภูเขาและแม่น้ำ....และนี่คง เป็นเหตุผลสืบเนื่องว่า...น้ำจืด ปัจจัยการดำรงชีวิตหลักของผู้คน ...จะแพงมากมายตามไปด้วย....กับปัจจัยที่มีอยู่อย่างจำกัด....

มอลตา...เป็น ประเทศที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง เกาะที่มีขนาดใหญ่และมีประชาชนอาศัยอยู่ ได้แก่ มอลตา, โกโซ, โคมิโน, โคมินอตโต และฟิลฟลา... เกาะมอลตา
เป็นเกาะ ที่ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ห่างจากเกาะซิซิลีของอิตาลีไปทางใต้ ๙๓ กิโลเมตร และห่างจากชายฝั่งประเทศลิเบีย (ประเทศในแอฟริกาตอนเหนือ) ๒๙๐ กิโลเมตร ......

พื้นที่ทั้งประเทศมีเพียง ๓๑๖ ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ..ประชากรทั้งประเทศ ๔ แสนคน มีทั้งเชื้อชาติอาหรับ, อิตาเลียนและฝรั่งเศส...ผู้คนใช้ภาษามอลติส เป็นภาษาราชการ และรองลงมาก็ใช้ภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย...เพราะรายได้หลักของประเทศคือการ ท่องเที่ยว ในทุก ๆ ปี จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวเกาะมอลตามากกว่าจำนวนประชากรทั้ง ประเทศของมอลตาซะอีก กว่า ๕ ถึง ๖ เท่า.....ภาษาอังกฤาจึงเป็นภาษาที่สำคัญมากทีเดียว.....คนส่วนใหญ่หรือเกือบ ทั้งประเทศนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก .....

เมืองสำคัญของ ประเทศได้แก่ ..เมืองวัลเล็ตต้า เป็นเมืองหลวงของประเทศตั้งอยู่บนเกาะมอลตา, เมืองใหญ่ที่สุดคือเมือง บีร์คีร์คารา ..ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะมอลตา....นอกเหนือจากนี้จะมีเมืองซลิมา, โคร์มี, ราบัทและวิคตอเรีย.....


เมืองหลวงวัลเล็ตต้า..ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองมรดกโลกที่มีความสำคัญมากอีกแห่งในยุโรปใต้...













  สภาพทางภูมิศาสตร์ของสาธารณรัฐมอลตา.....

            ..มอลตา เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในทวีปยุโรป (ในส่วน Eastern Basin) ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอิตาลี (เกาะซิซิลี) ในทวีปยุโรปทางด้านเหนือ และประเทศลิเบีย ทวีปแอฟริกาทางด้านใต้ ...

            สภาพภูมิประเทศของมอลตา ประกอบไปด้วยเนินเขาต่ำ ๆ ที่ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้า จุดสูงที่สุดของประเทศมีชื่อว่า " ตา ดเมจเร็ค " ตั้งอยู่ที่เกาะมอลตา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียง ๒๕๓ เมตร (๘๓๐ ฟุต) ...ใกล้กับเมืองดิงลี ถึงแม้จะมีลำธารเล็ก ๆ ในบางครั้งเมื่อมีฝนตกลงมา แต่ก็ไม่ได้ทำให้มีแม่น้ำหรือทะเลสาบที่มีอยู่ถาวรสำหรับประเทศมอลตา ......




 มอลตาแบ่งเขตการปกครองออกเป็นทั้งสิ้น ๖๘ เขตการปกครอง (ดูตามแผนที่)...ตั้งอยู่บนเกาะมอลตา ๕๔ เมือง และตั้งอยู่บนเกาะโกโซอีก ๑๔ เมือง....
            โดยที่เกาะโกโซจะมีรัฐมนตรีแห่งโกโซ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลมอลตา ดูแลโดยเฉพาะ...








ถนนหนทางในทั้งสองเกาะ. 
รีวิว...มอลตา ขั้นเวลา...
 + การเมืองการปกครองของสาธารณรัฐมอลตา....

มอลตามีระบบการเมือง เป็นแบบสาธารณรัฐ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ..



   + ภูมิหลังการเมืองการปกครองและนโยบายด้านการต่างประเทศ

            ....มอลตา เป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่ปี ๒๓๔๔ และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๐๗ โดยได้รับความช่วยเหลือด้านการป้องกันประเทศและการเงินตามข้อตกลงที่มีกับ อังกฤษเป็นระยะเวลา ๑๐ ปี มอลตาเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ในปีเดียวกัน และยังอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ อย่างไรก็ดี ในช่วงสงครามเย็น มอลตามีรัฐบาลที่มาจากพรรคแรงงาน นำโดยนายโดมินิค มินทอฟฟ์... ซึ่งมีแนวทางสังคมนิยม-ชาตินิยม จึงดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-alignment) อย่างจริงจัง และได้ขอยกเลิกความตกลงที่ทำไว้กับอังกฤษฉบับปี ๒๕๐๗ และปี ๒๕๑๕ โดยขอทำความตกลงฉบับใหม่ซึ่งมีเนื้อหาที่จะรักษาอธิปไตยของประเทศและเพื่อ เป็นหลักประกันว่า มอลตาจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่จากการที่มีฐานทัพนาโตประจำ อยู่ในมอลตา ความตกลงฉบับใหม่มีระยะเวลา ๗ ปี (ปี ๒๕๑๕-๒๕๒๒) สาระสำคัญโดยสรุปคืออังกฤษต้องจ่ายค่าเช่าในการคงฐานทัพในมอลตา ๑๔ ล้านปอนด์ต่อปี ต่อมา ในเดือนมีนาคม ๒๕๒๒ รัฐบาลมอลตาได้ขอยกเลิกการต่อสัญญาให้เช่าพื้นที่สำหรับเป็นฐานทัพ ทำให้กองกำลังอังกฤษต้องถอนกำลังออกจากมอลตาตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ รัฐบาลมอลตายังมีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการค้ากับหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อิตาลี สหภาพโซเวียต จีน กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก ลิเบีย ตูนิเซีย และตกลงรับความช่วยเหลือด้านวิชาการจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะลิเบีย อีกทั้งได้ลงนามในความตกลงรับรองความเป็นกลางและการร่วมมือทางการค้ากับ ประเทศต่างๆ ผลของการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอย่างจริงจังทำให้ใน ปี ๒๕๒๔ สหภาพโซเวียตและอิตาลีได้ตกลงรับรองความเป็นกลางของมอลตา โดยเฉพาะอิตาลี ได้ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเงินแก่มอลตาเป็นระยะเวลา ๕ ปี นอกจากนั้น มอลตายังมีความตกลงร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในปี ๒๕๑๓ ซึ่งได้ต่ออายุความตกลงมาจนถึงปัจจุบันในเวทีระหว่างประเทศ

            ...ปัจจุบัน มอลตาเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญหลายองค์การ อาทิ สหประชาชาติ กลุ่ม ๗๗ IAEA OSCE UNCTAD UNESCO เป็นต้น

เซอร์ แอนโธนี โจเซฟ มาโม
            ....มอลตา ได้ถอนตัวจากการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ มอลตาได้เพิ่มบทบาทของตนเองในนโยบาย EU-Mediterranean ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม ระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศอื่นๆ (โมรอโค อัลจีเรีย ตูนิเซีย อียิป อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย และ ตุรกี) ในเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กระทรวงการต่างประเทศมอลตาเสนอนโยบายด้านการต่างประเทศซึ่งเน้น การเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ระหว่างมอลต้ากับประเทศอื่นที่ชาวมอลต้าได้ย้ายถิ่นฐานไป .....
 มอลตา เป็นประเทศสาธารณรัฐในปี ๒๕๑๗ และมีประธานาธิบดีคนแรกของประเทศในปีเดียวกัน ชื่อว่า เซอร์ แอนโธนี โจเซฟ มาโม (ในภาพ)...


                  พักชมความงดงามของมอลตากันหน่อย....

สะพานหินธรรมชาติ....ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่เกาะโกโซ
ความงดงามภายในโบสต์เซนต์ จอห์นที่วัลเล็ตต้า ...
 น้ำทะเลสีมรกตที่อ่าวเซนต์ จอร์จ...
เมืองหลวงวัลเล็ตตา...
 อาคารรัฐสภาของมอลตา (House of Representatives of Malta) ...ปัจจุบัน ในอดีตเป็นพระราชวังของแกรนด์ มาสเตอร์แห่งมอลตาครับ... ปัจจุบันตำแหน่งนี้ที่มอลตาไม่มีแล้ว ....แต่สำหรับที่ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาในอิตาลียังคงตำแหน่งนี้อยู่....

 ในภาพคือสภาพภายในอาคาร
  ว่าด้วยเรื่อง....ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา .....นิดหน่อย...

            ก่อน ที่จะมีประเทศมอลตาในปัจจุบัน.....หากย้อนไปในอดีตก่อนการได้รับเอกราชของ สาธารณรัฐมอลตา ปี ๒๕๐๗ ....ย้อนไปอีก ๑๖๖ ปี เมื่อปี ๒๓๔๑ (ค.ศ.๑๗๙๘) ...เกาะมอลตาในขณะนั้นถูกยึดครองโดยพระเจ้านโปเลียน โบนาปาร์ต แห่งฝรั่งเศส ...ส่งผลให้ชาวมอลติสต้องลี้ภัยเข้ายุโรปไปรัสเซียก่อนที่จะกลับมาปักหลัก ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลีในอีก ๓๖ ปีต่อมา กระทั่งปัจจุบัน....

            ภูมิหลัง....

            ออร์เดอร์ ออฟมอลตา (Order of Malta) เป็นหนึ่งในสี่นิกายของ โรมันคาทอลิก ที่เก่าแก่ที่สุด (Basilians, Angustinians และ Benedictines) มีลักษณะคล้ายกับองค์กรศาสนา เช่นเดียวกับนิกาย (order) อื่น ๆ อีก ๔ สาขา คือ Order of Teutonic, Order of Temple, Order of St. Lazare และ Order of St. Thomas A. Bucket of Acre Order of Malta ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๑๖๔๒ (ค.ศ. ๑๐๙๙) โดยภราดาเจอราร์ด ซึ่งก่อตั้งสถานพยาบาลขึ้นที่กรุงเยรูซาเล็ม เพื่อรักษาพยาบาลกลุ่มผู้แสวงบุญ (Pilgrims) ที่เดินทางมาเยรูซาเล็ม และขยายสาขาออกไปตามเส้นทางการแสวงบุญ ต่อมา เมื่อมีสงครามครูเสด สมาชิกนิกายนี้ต้องติดอาวุธป้องกันตนเองและทำหน้าที่ช่วยสู้รบไปในตัวด้วย จึงเกิดตำแหน่งอัศวิน (Knight) ขึ้นในสมัยของผู้นำที่ชื่อฟรา เรอมองด์ ดู ปุย ในปี ค.ศ. ๑๑๒๖ ในที่สุดเมื่อฝ่ายมุสลิมมีชัยชนะเหนือคริสเตียนในเยรูซาเล็มและดินแดน ปาเลสไตน์ ในช่วงปี ค.ศ. ๑๑๘๗ - ๑๒๙๑ ทำให้ฝ่ายคริสเตียนต้องถอยไปตั้งมั่นอยู่ที่ไซปรัสประมาณ ๑๔๐ ปี และไปยึดเกาะโรเดส ไว้เป็นที่มั่นแห่งใหม่ได้ในปี ค.ศ. ๑๓๑๐ และสร้างความรุ่งเรืองแข็งแกร่งเป็นปึกแผ่นอยู่ที่เกาะโรเดส ได้อีก ๒๑๔ ปี จึงพ่ายแพ้แก่กองทัพของออตโตมันภายใต้การนำของสุลต่านสุไลมานและย้ายไปตั้ง มั่นอยู่ที่เกาะมอลตาในปี ค.ศ. ๑๕๓๒ และยังถูกกองทัพเรือเติร์กรุกรานต่อไป แต่ต้านทานไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี ค.ศ. ๑๕๗๑ ซึ่งมีสงครามทางทะเลครั้งใหญ่ (Battle of Lepanto) ซึ่งแกรนด์ มาสเตอร์ ฟรา ฌอง เดอ ลา วัลเล็ตเต้ สามารถนำทัพทำลายกองเรือตุรกีแตกพ่ายไป และอาณาจักรออตโตมันเริ่มอ่อนกำลังลง (ต่อมาเมืองหลวงของมอลตาได้ใช้ชื่อของ Grand Master ผู้นี้)......

            ในภาพ

            - หมายเลข ๑ คือ ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ที่ลี้ภัยมาอยู่กรุงโรมตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๘๓๔ กระทั่งปัจจุบัน

            - หมายเลข ๒ คือ สาธารณรัฐมอลตา ปัจจุบันที่ยังคงหลงเหลือความเป็นมอลตาในอดีตไว้มากมาย...




         มารู้จักรัฐอธิปไตยทหารมอลตา...กันหน่อยครับ

            ...รัฐ อธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า The Sovereign Military Order of Malta (SMOM) หรือรู้จักกันในชื่อย่อว่า ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา (Order of Malta) จริง ๆ แล้ว มีชื่อเต็มที่ยาวเหยียดว่า The Sovereign Military Hospitaller Order of Saint John of Jerusalem of Rhodes and of Malta ถือเป็นรัฐอธิปไตยที่มิได้มีคุณสมบัติตามหลักรัฐศาสตร์ตามนิยามที่เป็นที่ ยอมรับกันทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาลที่ปกครองตนเอง แต่เป็นองค์กรทางศาสนาซึ่งเป็นฆราวาส (lay religious order) ของนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งรักษามรดกอธิปไตยสืบทอดมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันมีสถานะคล้ายกับนครรัฐ วาติกัน....

            เมืองหลวง... ตั้งอยู่ที่พระราชวังมากิสทราล กรุงโรม ประเทศอิตาลี

            ภาษาราชการ... ใช้ภาษาอิตาเลียน

            ประมุขสูงสุดดำรงตำแหน่งแกรนด์มาสเตอร์.. ฟรา แมธธิว เฟสติง

            หัวหน้าคณะผู้บริหาร.. นายกรัฐมนตรีฌอม ปิแอร์ มาเซรี

            + สถานะของรัฐอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา

            .....รัฐ อธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา เป็นมิตรกับทุกประเทศ โดยมุ่งให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในประเทศต่าง ๆ จึงไม่มีปัญหาทางการเมืองกับประเทศใด ๆ และได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับกว่า ๘๐ ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทยด้วย) แม้รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา จะไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแต่ก็ได้รับสถานะเป็น Permanent Observer ในองค์การสหประชาชาติ เมื่อ ๒๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๔ ในฐานะ "Hospitaller Organization" และ SMOM แต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมประชุมและสังเกตการณ์ในองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ปัจจุบันรัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา มีองค์กรสาขาหลัก (Grand Priories) ๖ แห่ง สาขารอง (Sub Priories) ๓ แห่ง และสมาชิกในเครือประจำประเทศต่าง ๆ (National Associations) ๔๑ แห่งใน ๓๗ ประเทศ โดยมีที่ทำการใหญ่ (Headquaters) อยู่ที่กรุงโรมตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๘๓๔ SMOM มีสมาชิกประมาณ ๑๒,๐๐๐ คนทั่วโลก สมาชิกภาพของ SMOM ๓ ประเภท คือ

            - Knights of Justice and Conventual Chaplains เป็นกลุ่มที่จะต้องผ่านการสาบานตน (solemn vows) ที่จะยึดมั่นต่อหลักการสำคัญ ๓ ประการของนิกาย คือ poverty, charity และ obedience

            - Knights and Dames in Obedience หรือ Knights and Dames of Magistral Grace สมาชิกต้องตั้งมั่นว่าจะเป็นคริสตศาสนิกชนที่เคร่งครัดตามแนวทางของนิกาย (สมาชิกส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ เป็นกลุ่มนี้)

            สมาชิกกลุ่มที่ ๓ ประกอบด้วยหลายตำแหน่ง คือ

            - Knights and Dames of Honor and Devotion
            Conventual Chaplains, ad honorem
            - Knights and Dames of Grace and Devotion
            Magistral Chaplains
            - Knights and Dames of Magistral Grace
            Donats of Devotion

            อยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้ตามไปอ่านที่เว้บกระทรวงการต่างประเทศได้เลยจ้า....

            http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=440

            เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ SMOM ..

            http://www.orderofmalta.org/italiano

   กลับมาเรื่อง....ประเทศมอลตากันต่อครับ...

            สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจของมอลตา....

            + สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง

            + สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักร อาหารและสัตว์ ผลิตภัณฑ์เคมี แร่ธาตุ เครื่องดื่มและยาสูบ

            + ประเทศคู่ค้าสำคัญ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เยอรมนี อังกฤษ อิตาลี

            + ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ หินปูน เกลือ พื้นดินที่เหมาะกับการเพาะปลูก

            + อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ การต่อและซ่อมเรือ การก่อสร้าง อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ รองเท้าและอุปกรณ์ ยาสูบ

            + สกุลเงิน ปัจจุบันใช้สกุลเงินยูโร...เหมือนกับอีกหลาย ๆ ชาติในสหภาพยุโรปครับ...

            บริเวณท่าขนส่งอคารา...

ชมวัลเล็ตตายามค่ำคืนไปพลาง ๆ นะ
 
          ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐมอลตา....

            + ความสัมพันธ์ทางการทูต

            .....ประเทศ ไทยและมอลตาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๗ โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน รับผิดชอบดูแลประสานงานและติดต่อกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่มอลตาประจำกรุง ลอนดอน ต่อมา เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๓๕ ไทยได้ปรับเปลี่ยนให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรมมีเขตอาณาครอบคลุมมอลตา ต่อมา ในปี ๒๕๔๐ ไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์มีเขตอาณาครอบคลุมมอลตามาจนถึงปัจจุบัน

            + ความสัมพันธ์ทางการเมือง

            ....แม้ ไทยและมอลตาจะอยู่ห่างไกลกัน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดำเนินมาโดยราบรื่น ไม่มีปัญหาทางการเมืองใดเป็นการเฉพาะระหว่างกัน

            + ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ

            ๑. สินค้าออกสำคัญของไทย ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป รถยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งทออื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น

            ๒. สินค้านำเข้าสำคัญจากมอลตา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม้แปรรูป วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ส่วนประกอบ รวมทั้งโครงรถและตัวถัง เป็นต้น

            ...ความตกลงทวิภาคีที่อยู่ระหว่างการเจรจา/จัดทำ

            อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย-มอลตา (Agreement for the Avoidance of Double Taxation)

            - การท่องเที่ยว

            นัก ท่องเที่ยวชาวมอลตาที่เดินทางมาไทยในปี ๒๕๔๓ มีจำนวน ๗๗๗ คน ในปี ๒๕๔๔ มีจำนวน ๘๗๗ คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒.๘๗) สำหรับปี ๒๕๔๕ มีจำนวน ๑,๐๖๘ คน

            - ร้านอาหารไทยในมอลต้า

            ปัจจุบันมีร้านอาหารไทย ๒ ร้านในมอลต้า ทั้งสองร้านมีเจ้าของชาวต่างชาติและพ่อครัวและแม่ครัวเป็นชาวไทย
 

   ในด้านการคมนาคมขนส่งมอลตาก็ไม่แพ้ใคร...

            บนฟ้ามี...สายการบินแอร์มอลตา...


  ฐานบัญชาการที่สนามบินนานาชาติมอลตา หรือ สนามบินลูกา หรือจะเรียกว่าสนามบินนานาชาติวัลเล็ตตาก็ได้....
 ภายในตัวอาคาร....
 การคมนาคมขนส่งภาคพื้นดิน....

  ลักษณะบ้านเรือน, อาคาร สถาปัตยกรรมแบบบาร็อค...

             ธงชาติและตราแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐมอลตา....

            + ธงชาติ....

            ....ธง ชาติสาธารณรัฐมอลตา เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน ภายในแบ่งครึ่งตามแนวตั้ง ครึ่งซ้ายเป็นพื้นสีขาว ครึ่งขวาเป็นพื้นสีแดง ที่มุมซ้ายบนของพื้นสีขาวมีภาพดวงตราเครื่องราชอิสรยาภรณ์กางเขนจอร์จ...

            พื้น สีขาวและสีแดงในธงนี้มาจากสีตราแผ่นดินของมอลตา ซึ่งมีที่มาจากสีธงที่เคานท์โรเจอร์แห่งซิซีลี (Count Roger of Sicily) กำหนดให้เป็นธงของมอลตาในปี พ.ศ. ๑๖๓๔ โดยธงนั้นเป็นธงลายตราหมากรุกสีขาวสลับแดง อย่างไรก็ตาม หลายคนก็กล่าวว่าที่มานี้เป็นเพียงตำนานที่ได้รับการต่อเติมเสริมแต่งมาตาม กาลเวลาเท่านั้น ส่วนตราเครื่องราชอิสรยาภรณ์จอร์จครอสที่มุมธงด้านคันธงนั้น หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร ได้พระราชทานแก่ชาวมอลตาทั้งมวลเพื่อแสดงถึงความกล้าหาญจากการเข้าร่วมรบใน สงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๖ นับได้ว่ามอลตาเป็นชาติเดียวที่มีภาพดวงตราอิสริยาภรณ์ต่างประเทศประกอบในธง ชาติ ซึ่งในที่นี้ได้แก่สหราชอาณาจักร

            ธงชาติมอลตาที่ปรากฏในปัจจุบันนี้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๗ อันเป็นวันประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร

                - ธงพลเรือนและธงเรือพลเรือนของมอลตา กำหนดให้ใช้ธงอีกแบบหนึ่งซึ่งต่างจากธงชาติโดยสิ้นเชิง โดยธงนี้เป็นสีแดงมีขอบสีขาว ที่กลางธงมีเครื่องหมายกางเขนมอลตา

            - กางเขนมอลตา หรือ กางเขนอามาลฟี เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของลัทธินักรบคริสเตียนที่เรียกว่าอัศวินฮอสพิทา ลเลอร์ หรือ อัศวินแห่งมอลตา ที่กลายมาเป็นชื่อของกางเขนตามชื่อเกาะมอลตาในทะเลเมดิเตอเรเนียน กางเขนมอลตาปรากฏบนธงชาติมอลตาและถือว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของมอลตา กางเขนมอลตาปรากฏบนเหรียญของมอลตา และในปัจจุบันปรากฏบนด้านหลังของเหรียญหนึ่งและสองยูโรที่เริ่มใช้เมื่อ เดือนมกราคม ค.ศ. ๒๐๐๘ นอกจากนั้นก็ยังใช้เป็นสัญลักษณ์ของอามาลฟีซึ่งเป็นสาธารณรัฐเล็กของอิตาลี ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑

            แฉก ๘ แฉกบนกางเขนกล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญแปดข้อ..

            - ความภักดี
            - ความเคร่งครัดในศาสนา
            - ความมีใจกว้าง
            - ความกล้าหาญ
            - ความมีเกียรติยศ
            - ความชังความตาย
            - ความมีความเผื่อแผ่ต่อคนยากจนและคนเจ็บป่วย
            - ความนับถือในศาสนา


    ธงสำหรับพลเรือน...

ธงประธานาธิบดีเคียงคู่อยู่กับธงชาติมอลตาเหนือทำเนียบประธานาธิบดี...



 


ตราแผ่นดิน.....

            ปรากฎโล่มอลตา ..เหนือโล่มีประตูค่ายและหอรบทั้งแปดทำเป็นรูปมงกุฎทอง แทนป้อมปราการวัลเล็ตตา มีช่อชัยพฤกษ์ใบมะกอกและกิ่งปาล์มขนาบข้างตราโล่ว้ายขวาแทนสันติ ....











 เพลงชาติมอลตา... L-Innu Malti

ตามลิงค์นี้เลยครับสำหรับเนื้อร้องและความหมาย...


   


    ขอขอบคุณ...

            ...ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ
            ...อิงวิกิเปเดีย
            ...ไทยวิกิเปเดีย
            ...คอสมอส..ธงนานาชาติ
            ...ไอพียู.คอม
            ...ฟริค เคอาร์

  อิล เลซ ลิท ตาฮยา .....ราตรีสวัสดิ์ครับ....

Cradit: คุณนกสุโขทัย http://worldwindow.pantipmember.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ads Inside Post