....ซา อุดิอาระเบีย ....เป็นประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง (เอเชียตะวันตกเฉียงใต้) บนคาบสมุทรอาหรับ ทิศเหนือติดประเทศอิรัก (แนวพรมแดน ๘๑๔ กม.) และจอร์แดน (แนวพรมแดน ๗๔๔ กม.) ทิศตะวันออกติดคูเวต (แนวพรมแดน ๒๒๒ กม.) กาตาร์ (แนวพรมแดน ๖๐ กม.) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (แนวพรมแดน ๔๕๗ กม.) บาห์เรน (อ่าวเปอร์เซียขั้นกลาง) ทิศตะวันตกอียิปต์ (ทะเลแดงขั้นกลาง) ทิศใต้ติดเยเมน (แนวพรมแดน ๑,๔๕๘ กม.) ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดโอมาน (แนวพรมแดน ๖๗๖ กม.) ติดอ่าวอาหรับ (อ่าวเปอร์เซีย) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลแดงทางทิศตะวันตก. .....
....ซาอุ ดิอาระเบีย เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค คือ ๑,๙๖๐,๕๘๒ ตารางกิโลเมตร แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นส่วนของผืนทะเลทรายสุดสายตา ประชาการทั้งประเทศ ๒๗ ล้านคนเศษ กว่าร้อยละ ๙๐ เป็นเผ่าอาหรับ ร้อยละ ๑๐ เป็นแอฟริกัน ทั้งนี้รวมคนต่างชาติประมาณ ๕.๕ ล้านคน (ปี ๒๕๔๙)
.....ผู้คนส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งประเทศนับถือศาสนาอิสลาม (ส่วนใหญ่นับถือสุหนี่ มีชีอะห์ประมาณ ๕ แสนคน) ใช้ภาษาอาหรับ เป็นภาษาราชการ
เมืองสำคัญของประเทศ ได้แก่ เมืองเจดดาห์, มักกะห์, ทาอีฟ, เมดินะห์ และดัมมัม .... มีริยาดห์ เป็นเมืองหลวงของประเทศ
ที่ตั้งประเทศซาอุดิอาระเบีย....
ภูมิอากาศ มี ๒ ฤดู คือ- ฤดูร้อน (มี.ค. - ต.ค.) อุณหภูมิ ๓๒-๕๐ องศาเซลเซียส อากาศร้อน แห้งแล้ง มีพายุทรายพัดในวันที่อากาศร้อนจัด ช่วงเปลี่ยนฤดูจะมีฝนตกเล็กน้อย
- ฤดูหนาว (พ.ย.-ก.พ.) อุณหภูมิ ๒-๒๐ องศาเซลเซียส
สภาพภูมิประเทศ...พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย โอเอซิสและเนินเขา
การแบ่งเขตการปกครองภายในราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย.....
....ซา อุดิอาระเบีย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๓ เขตการปกครอง (เขตการปกครองเรียกว่า มินฏอเกาะห์ ในกรณีที่มี ๑ เมือง หากมีหลาย ๆ เมืองจะเรียกว่า มินฏอกอต)
เขตการปกครองต่าง ๆ ทั้ง ๑๓ แห่งประกอบไปด้วย
๑. นครอัลบาฮะห์ (Al Bahah) - เมืองหลวง อัล บาฮะห์ ซิตี้ (Al Bahah City)
๒. นครอัลฮุดูด อัช ชะมาลียะห์ (Al Hudud ash Shamaliyah) - เมืองหลวง อัรอาร์ ('Ar'ar)
๓. นครอัลเญาฟ์ (Al Jawf) - มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๔. อัลมะดีนะห์ (Al Madinah) - มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน
๕. นครอัลกอซิม (Al Qasim) - เมืองหลวง บุไรย์ดา (Buraidah)
๖. นครอัรริยาด (Ar Riyad) - เป็นเขตนครหลวงของซาอุดิอาระเบียและเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากนครอัชชัรกิยะห์ เมืองหลวงของเขตนี้คือ ริยาด ซิตี้ (Riyadh city)
๗. นครอัชชัรกิยะห์ (Ash Sharqiyah, Eastern Province) - เป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดของซาอุดิอาระเบีย เมืองหลวง ดัมมัม (Dammam)
๘. นครอะซีร์ ('Asir) - เมืองหลวง อับฮะ (Abha)
๙. นครฮาอิล (Ha'il) - เมืองหลวง ฮาอิล ซิตี้ (Ha'il City)
๑๐.นครญีซาน (Jizan) - เมืองหลวง ญีซาน ซิตี้ (Jizan City)
๑๑.นครมักกะห์, นครเมกกะ (Makkah) - เมืองหลวง มักกะห์ (Mecca) คนไทยมักเรียกว่า นครเมกกะ
๑๒. นครนัจญ์รอน (Najran) - เมืองหลวง นครนัจญ์รอน ซิตี้ (Najran City)
๑๓. นครตะบูก (Tabuk) - เมืองหลวง ตะบูก ซิตี้ (Tabuk City)
...............................................................................................
บรรยากาศที่เมืองนัจญ์รอน ซิตี้ เมืองหลวงของเขตการปกครองนครนัจญ์รอน ซิตี้
เมืองสำคัญ ๆ ต่างของซาอุดิอาระเบีย....
- เมืองสำคัญเมืองแรกครับ นครเจดดาห์ (JEDDAH) เป็นเมืองหลวงเก่า ปัจจุบันเป็นเมืองท่า และศูนย์การพาณิชย์ทางฝั่งตะวันตก ริมทะเลแดง
...รีวิว เจดดาห์
นครมักกะห์ (MAKKAH)
- เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมไปประกอบพิธีฮัจญ์ มีวิหารกะบะห์ซึ่งถือเป็นสุเหร่าแห่งแรกของโลกและ เป็นเมืองที่ประสูติของศาสดามูฮัมหมัด ซึ่งอนุญาตให้เข้าเมืองได้เฉพาะชาวมุสลิมเท่านั้น .....
นครมะดีนะห์ (MADINAH)
- เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ฝังพระศพของศาสดามูฮัมหมัด อนุญาตให้เข้าได้เฉพาะชาวมุสลิมเช่นกัน
วิหารกะบะห์ คืออะไร .....
ย้อนกลับมาที่นครมักกะ ห์ อีกซักหน่อยครับ.....คิดว่าชาวมุสลิมทั่วโลก หมายจะมาประกอบพิธีฮัจญ์ที่นี่ซักครั้งในชีวิตเพราะถือว่าเป็นเมือง ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเมืองประสูติของศาสดามูฮัมหมัด ......ที่นี่มีวิหารรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดำ อยู่ใจกลาง....เรียกว่า กะบะห์ ......แล้วกะบะห์มีความสำคัญอย่างไร.....
กะบะห์ เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ลูกบาศก์ ตั้งอยู่ในใจกลาง มัสยิดฮะรอม ในนครมักกะห์ เป็น กิบลัต (ชุมทิศ, จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมยามนมาซ และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีอุมเราะห์และฮัจญ์.....
.....มีคำบันทึกบอกเล่าว่า อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยนบีอาดัมมนุษย์คนแรกเพื่อใช้เป็นสถานที่เคารพ สักการะอัลลอห์ในโลก แต่หลังจากนั้นก็พังทลายลงเมื่อเกิดเหตุการณ์ อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ จนน้ำท่วมโลกในสมัยศาสดานูฮ์
.....คัมภีร์อัล กุรอาน (๒:๑๒๗ และ ๒๒:๒๖-๒๗) ระบุว่า กะบะห์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนบีอิบรอฮีมและ อิสมาอีล บุตรชายของท่านตามคำบัญชาของอัลลอห์ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเคารพ สักการะพระองค์ หลังจากนั้นอัลลอห์ก็ได้บัญชานบีอิบรอฮีมให้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้มา เคารพสักการะพระองค์ ณ ที่บ้านหลังนี้ นับตั้งแต่นั้นมา ผู้คนที่ศรัทธาในอัลลอห์ตามคำเชิญชวนของนบีอิบรอฮีมจากทั่วสารทิศก็ได้ทยอย กันเดินทางมาสักการะอัลลอห์ต่อเนื่องกันมาโดยมิได้ขาด เนื่องจากกะบะห์เป็นบ้านแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการ เคารพสักการะอัลลอห์ ดังนั้น กะบะห์จึงได้รับการขนามว่า บัยตุลลอห์ บ้านแห่งอัลลอห์
.......หลังจากนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีลเสียชีวิต ผู้คนในแผ่นดินอาระเบียได้ละทิ้งคำสอนของท่านทั้งสอง และได้นำเอาเทวรูปต่าง ๆ มาเคารพสักการะแทนอัลลอห์ หรือไม่ก็ตั้งเทวรูปขึ้นเป็นพระเจ้าควบคู่ไปกับอัลลอห์ จนกระทั่งมีเทวรูปรอบกะบะห์เป็นจำนวนมากมายถึงสามร้อยกว่ารูป ตั้งเรียงรายทั้งในและนอกกะบะห์ แต่หลังจากที่นบีมุฮัมมัดได้เข้ายึดนครมักกะห์แล้ว ท่านก็ได้สั่งให้ทำลายเทวรูปทั้งหมดที่อยู่ข้างในและรอบกะบะห์ ตั้งแต่นั้นมาแผ่นดินฮะรอมก็เป็นเขตปลอดเทวรูป ไม่มีการเคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอห์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในตอนที่ท่านมุฮัมมัดยังไม่ได้เป็นศาสดา ชาวนครมักกะห์ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันซ่อมแซมกะบะห์ที่สึกหรอเหนื่องจาก อุทกภัย แต่เนื่องจากทุนในการบูรณะอันเป็นทรัพย์สินที่บริสุทธิ์ที่เรี่ยไรมามีไม่ เพียงพอ ชาวนครมักกะห์จึงสามารถซ่อมแซมได้ไม่เหมือนกับอาคารดั้งเดิม ปล่อยให้ส่วนที่เรียกว่า ฮิญรุ อิสมาอีล (ห้องและที่ฝังศพของท่านนบีอิสมาอีล) ว่างอยู่ เพียงแต่เอาหินก่อขึ้นเป็นกำแพงกั้นไว้ ในเวลาต่อมาท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า หากมิเพราะ ยุคญาหิลียะห์เพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน ฉันก็คงจะต่อเติมกะบะห์ให้เป็นเช่นแบบเดิม
......ในสมัยที่อับดุล ลอห์ อิบนุซซุเบร หลานตาคอลีฟะห์ อะบูบักร์ แข็งเมืองต่อ อับดุลมะลิก บินมัรวาน คอลีฟะห์ (กษัตริย์) ซีเรีย ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองมักกะห์ งานชิ้นหนึ่งที่ท่านทำก็คือการบูรณะต่อเติมผนังกะบะห์ออกไปสองด้านจนถึง กำแพง ฮิจญ์รุ อิสมาอีล ให้อาคารกะบะห์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทว่าเมื่ออับดุลลอห์แพ้ศึกและถูกสังหาร พวกทหารซีเรียกเผาและถล่มทำลายกะบะห์ที่อับดุลลอห์ทำไว้ แล้วให้สร้างขึ้นมาใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเหมือนเดิมอีกครั้ง
....... กะบะห์ที่มีอยู่ในวันนี้ เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ ๔๐ ฟุต และสูงประมาณ ๕๐ ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ หินดำ (อัลฮะญัร อัลอัสวัด) ซึ่งในอดีตเป็นพลอยสีดำเม็ดใหญ่ แต่ต่อมาที่ได้แตกออกเป็นชิ้นเล้กชิ้นน้อย แต่ก็ยังตั้งอยู่ที่มุมข้างประตู ปกปิดด้วยแก้วและครอบทับด้วยเงิน ประตูของกะอฺบะหฺที่เปลี่ยนเมื่อเวลา ๒๐ ปีมานี้ ทำด้วยโลหะปิดด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนักประมาณ ๕๐ กิโลกรัม โดยมีข่าวออกมาว่า ช่างทองที่ทำประตูเป็นชาวไทยมุสลิม
.......มุมที่ ติดตั้งพลอยสีดำนี้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดครบรอบของการเวียนรอบกะอฺบะ หฺซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งของการประกอบพิธีอุมเราะห์และฮัจญ์
....... ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รัฐบาลผู้ปกครองมหานครมักกะห์จะมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลกะอฺบะหฺและจัดเตรียม ความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาทำฮัจญ์ สิ่งที่ต้องทำทุกปีคือการเปลี่ยนมุ้งกะบะห์
....... ในซาอุดีอาระเบียจะมีโรงงานทอมุ้งนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีช่างผู้มีฝีมือจากต่างประเทศมาทำมุ้งนี้โดยเฉพาะ มุ้งกะบะห์นี้ทอด้วยด้ายไหมสีดำ แล้วประดับด้วยการปักดิ้นทองเป็นตัวอักษรภาษาอาหรับวิจิตรงดงาม ตัวอักษรที่เขียนคือโองการจากอัลกุรอานและพระนามของอัลลอห์ เมื่อถึงเทศกาลฮัจญ์จะมีการเปลี่ยนมุ้งใหม่และยกขอบมุ้งขึ้นจนจนเห็นฝาผนัง ทั้งสี่ด้าน
.......เนื่องจากมุ้งนี้มีสีดำ จึงทำให้คนเข้าใจว่าหินดำคือตัวกะบะห์ แต่ความจริงแล้วหินดำคือพลอยสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมกะบะห์ต่างหาก อีกอย่างกะบะห์เป็นชุมทิศ เวลานมาซจะมีการหันไปทางกะบะห์นี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากะบะห์คือหินดำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพ บูชา ซึ่งความจริงแล้ว กะบะห์เป็นเพียงจุดศูนย์รวมและจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่ว โลกเท่านั้น
พิธีฮัจญ์ (Hajj)
.........การประกอบพิธีทำฮัจญ์ หรือ การทำฮัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะห์ ตามวันเวลา และสถานที่ต่าง ๆที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ ในช่วงฮัจญ์ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่อาระเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิฮ์รอม นั่นคือการตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินฮะรอม (แผ่นดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฏของฮัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินฮะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน แล้วต่างก็จะมาชุมนุมกันที่ ทุ่งอะร็อฟะห์ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่เก้าของเดือนซุลฮิจญะห์
........แล้วพอตกค่ำ ซึ่งตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะเป็นคืนที่สิบ เหล่านักแสวงบุญจะเดินทางผ่าน ทุ่งมุซดะลิฟะห์ พักชั่วครู่หนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ ทุ่งมีนา ก่อนเที่ยงของวันต่อไป
........ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประ กอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดุลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ (รายาฮาญี) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงก็คือ วันใหญ่ นั่นเอง
........นักแสวงบุญจะพัก อยู่ที่ ทุ่งมีนา เป็นเวลาสามวัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นจึงเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะบะห์ หรือที่เรียกว่า บัยตุลลอห์ อันเป็นเสมือนเสาหลักของชุมทิศ ซึ่งตั้งอยู่ใน มัสญิด ฮะรอม (มัสยิดต้องห้าม) หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะห์ ซึ่งมีระยะทาง ๔๕๐ เมตร ไปมาจนครบเจ็ดเที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะ อิฮ์รอม
.........การทำฮัจญ์เป็น พิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอฮได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้เป็นลูกชายร่วมกันสร้าง บัยตุลลอห์ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะบะห์ เพื่อบูชาในระหว่างการทำฮัจญ์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ
........จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมมัด สิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะบะห์จนหมด สิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้
ข้อมูลจากสารานุกรมเสรี
ในกรุงริยาดห์..... บริเวณคิงด้อมเซนเตอร์ มีหอคอยสูงตระหง่านเห็นแต่ไกลชื่อว่า เบิร์จ อัล-มัมละกะ (Burj Al-Mamlaka) ....เป็นหอคอยทรงทันสมัย...นำยุค ผิดกับสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ของประเทศที่มักเป็นรุปทรงที่อิงตามแบบอิสลาม...
ถนนคิงฟาฮัดในกรุงริยาดห์...
ไปชมสุเหร่าสวย ๆ งาม ๆ กันครับ...
สุเหร่าอัล-อัรอาร์ ....แห่งเมืองอัรอาร์ |
Tarut Island Mosque. สุเหร่าทาลัท... |
สุเหร่ากูบะห์ แห่งเมืองเมดินะห์ .... |
.................................................................................................................................................................................................................................................................................
+ ประวัติศาสตร์พอสังเขปของราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย
ประวัติศาสตร์ประเทศซาอุดีอาระเบียเริ่มขึ้นประมาณปี ๑๘๕๐ ในใจกลางคาบสมุทรอาระเบีย เมื่อ มูฮัมหมัด บิน ซาอุดผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมมือกันกับ มูฮัมหมัด บิน อับดุลวาฮับ ผู้นำลัทธิวะฮาบีย์ ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีแรก โดยแยกออกจากอาณาจักรออตโตมัน แต่ประเทศที่เป็นซาอุดีอาระเบียในปัจจุบันนั้นสถาปนาขึ้นเป็นครั้งที่สองโดย กษัตริย์อับดุลอาซีซ อัล-ซาอุด (หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ อิบนูซาอุด) ในปี ๑๙๐๒ อิบนูซาอุด ได้ยึดริยาดซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของราชวงศ์สะอูด คืนมาจากตระกูลอัลรอชีด ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของราชวงศ์สะอูด ต่อจากนั้น ก็ได้กรีฑาทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ มาได้ ได้แก่ อัลฮะสาอ์, นะญัด และ ฮิญาซ อันเป็นที่ตั้งของนครมักกะห์ และ นครมะดีนะห์ ในปี ๑๙๓๒ อิบนูซาอุด ได้ทำการรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
การเจรจาทำสนธิ สัญญาแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับจอร์แดน อิรัก และคูเวต มีขึ้นช่วงทศวรรษ ๑๙๒๐ และได้มีการจัดตั้ง "neutral zones" ขึ้นด้วยกัน ๒ เขตคือระหว่างซาอุดีอาระเบีย กับอิรัก และซาอุดีอาระเบีย กับคูเวต ในปี ๑๙๗๑ ได้มีการแบ่งเขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบีย และคูเวต โดยให้แต่ละฝ่ายแบ่งทรัพยากรน้ำมันกันอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการแบ่งขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบีย กับอิรักได้เสร็จสิ้นลงในปี ๑๙๘๓ ทางด้านเขตแดนตอนใต้ที่ติดกับเยเมนนั้น มีการเจรจาแบ่งเขตแดนโดยสนธิสัญญาฏออิฟ ในปี ๑๙๓๔ แต่ก็สิ้นสุดลงด้วยการสู้รบระหว่างสองประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบีย และเยเมนในบางพื้นที่ก็ยังมิได้แบ่งลงไปอย่างแน่ชัด ส่วนเขตแดนที่ติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นสามารถตกลงกันได้ในปี ๑๙๗๔ สำหรับเขตแดนกับกาตาร์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่
อิบนูซาอุด สิ้นพระชนม์ในปี ๑๙๕๓ และพระราชโอรสองค์โตคือเจ้าชายซาอุด ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก ๑๑ ปี ในปี ๑๙๖๔ กษัตริย์สะอูด ได้สละราชสมบัติให้กับเจ้าชายไฟซาล ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาและดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่ด้วย กษัตริย์ไฟซาล เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียพัฒนาไปสู่ระบบที่ทันสมัย
ซา อุดีอาระเบีย มิได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบในสงครามหกวันระหว่างอาหรับและอิสราเอล แต่ได้ให้เงินช่วยเหลือรายปีแก่อียิปต์ จอร์แยเหลือเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี ๑๙๗๓ ซาอุดีอาระเบีย ได้เข้าร่วมการคว่ำบาตรทางน้ำมันต่อสหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ ในฐานะสมาชิกของ โอเปก (OPEC) ซาอุดีอาระเบีย ได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ขึ้นราคาน้ำมันในปี ๑๙๗๑ ภายหลังสงครามปี ๑๙๗๓ ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากนำความมั่งคั่งและอิทธิพลทางการเมืองมาสู่ ซาอุดีอาระเบีย ในปี ๑๙๗๕ กษัตริย์ไฟซาล ถูกลอบสังหารโดยหลานชายของพระองค์เอง เจ้าชายคาลิด พระอนุชาต่างมารดาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อมาและยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย กษัตริย์คาลิด ได้แต่งตั้งเจ้าชายฟาฮัด น้องชายต่างมารดาของพระองค์เป็นมกุฎราชกุมาร และมอบหมายให้มีอำนาจให้ดูแลกิจการภายในประเทศและต่างประเทศ ในรัชสมัยของ กษัตริย์คาลิด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและซาอุดีอาระเบีย ได้มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีการเมืองในภูมิภาคและในเวทีเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ ในปี ๑๙๘๒ กษัตริย์ฟาฮัด ได้ขึ้นครองราชย์และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน กษัตริย์คาลิด ซึ่งสิ้นพระชนม์ลง กษัตริย์ฟาฮัด ได้แต่งตั้งเจ้าชายอับดุลเลาะห์ น้องชายต่างมารดาซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ Saudi National Guard ขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร ส่วนเจ้าชายสุลต่าน รัฐมนตรีกลาโหมซึ่งเป็นน้องชายแท้ ๆ ของกาตริย์ฟาฮัดได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่สอง
ภาย ใต้รัชสมัยของพระราชาธิบดีฟาฮัดเศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย ได้ปรับสภาพให้เข้ากับรายได้จากน้ำมันซึ่งมีราคาตกต่ำลงอย่างมากอันสืบ เนื่องมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งตกต่ำลงในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้มีการหยุดยิงระหว่างอิรัก-อิหร่านในปี ๑๙๘๘ และในการก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่าง ประเทศรัฐริมอ่าว ๖ ประเทศ
ในระหว่างปี ๑๙๙๐-๑๙๙๑ สมเด็จพระราชาธิบดีฯ มีบทบาทสำคัญทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงครามอ่าว (Gulf War) โดยพระองค์ได้ช่วยเป็นจุดศูนย์กลางในการระดมความสนับสนุนความช่วยเหลือ และได้ใช้อิทธิพลของพระองค์ในฐานะผู้พิทักษ์มัสญิดต้องห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสอง ชักชวนให้ประเทศอาหรับและอิสลามเข้าร่วมในกองกำลังผสม
...............................................................................................
ในภาพ : สมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกของราชวงศ์ซาอุด ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย กษัตริย์อับดุลอาซิส อัล-ซาอุด (อิบนูซาอุด) ...
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๒ ....กษัตริย์ซาอุด บิน อับ อาซิส ... |
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๓ ....กษัตริย์ไฟซาล อิบบิน อับดุล อาซิส อัล-ซาอุด ครองราชย์ ช่วงปี ๑๙๖๔-๑๙๗๕ |
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๔ ....กษัตริย์คาลิด บิน อับดุล อาซิส ครองราชย์ ช่วงปี ๑๙๗๕-๑๙๘๒ |
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๕ ....กษัตริย์ฟาฮัด บิน อับดุล อาซิส อัล-ซาอุดครองราชย์ ช่วงปี ๑๙๘๒-๒๐๐๕ |
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๖ องค์ปัจจุบัน
กษัตริย์อับดุลเลาะห์ บิน อับดุล อาซิส บิน อับดุลเราะห์มาน บิน ไฟซาล บิน ตุรกี บิน อับดุลเลาะห์ บิน โมฮัมเหม็ด บิน ซาอุด
ครองราชย์ตั้งแต่ปี ๒๐๐๕ - ปัจจุบัน
ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล (นายกรัฐมนตรี)
การเมืองการปกครอง
- เดิมซาอุดีอาระเบีย มีการเมืองการปกครองตามหลักกฎหมายอิสลาม (Sharia) กษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดในการบริหารประเทศ ต่อมาหลังสงครามอิรัก-คูเวต ในปี ๒๕๓๔ มีความเคลื่อนไหวของประชาชนบางส่วนเรียกร้องการมีส่วนร่วมในทางการเมือง จึงได้มีการประกาศใช้กฎหมายพื้นฐาน (basic law) ซึ่งเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญของประเทศ กำหนดให้มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งสภาที่ปรึกษา เรียกว่าสภาชูร่า (Shoura Council) โดยในการดำเนินนโยบายที่สำคัญบางด้านจะทรงปรึกษาหารือฝ่ายศาสนา ทหาร สมาชิกราชวงศ์ ภาคธุรกิจและประชาชนด้วย
- ปัจจุบันรัฐบาลซาอุดีอาระเบียกำลังดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหาร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากการเลือกสมาชิกสภาเทศบาลตามเมืองต่างๆ จำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด การส่งเสริมการปรึกษาหารือระหว่างทุกภาคส่วนของสังคม (national dialogue) เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการเมืองการปกครองในอนาคต
- รัฐบาลซาอุดีอาระเบียเน้นนโยบายในการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพภายใน ประเทศ ในขณะเดียวกันก็พยายามเสริมสร้างบทบาทความเป็นผู้นำในโลกมุสลิมและกลุ่ม อาหรับและให้ความสำคัญกับความร่วมมือในกรอบคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าว อาหรับ (Gulf Corporation Council-GCC) เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและความมั่นคงของกลุ่มอาหรับและกลุ่มประเทศ GCC นอกจากนั้น ปัจจุบันกษัตริย์อับดุลเลาะห์ยังเร่งดำเนินการต่อต้านการก่อการร้าย โดยเสนอให้จัดตั้งศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายสากล (International Center for Combating Terrorism) และการเพิ่มพูนความสัมพันธ์และความร่วมมือในประเทศในเอเชีย
:: สภาที่ปรึกษา Majlis Ash-Shura (Consultative Council) ประธานสภาคนปัจจบัน ฯพณฯ อับดุลเลาะห์ อัล-เชค
:: คณะรัฐบาลปัจจุบันของซาอุดีอาระเบีย
- สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ บิน อับดุล อาซิส บิน อับดุลเราะห์มาน บิน ไฟซาล บิน ตุรกี บิน อับดุลเลาะห์ บิน โมฮัมเหม็ด บิน ซาอุด องค์ประมุขและนายกรัฐมนตรี
- รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เจ้าชายสุลต่าน บิน อับดุล อาซิส อัล-ซาอุด
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เจ้าชายซาอุด อัล-ไฟซาล บิน อับด์ อัล-อาซิส อัล ซาอุด
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฯพณฯ อิบราฮิม อับด์ อัล-อาซิส อัล-อัสซาฟ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เจ้าชายนาเยฟ บิน อับด์ อัล-อาซิส อัล ซาอุด
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ฯพณฯ มูฮัมหมัด บิน อับด์ อัล-คาริม บิน อับด์ อัล-อาซิส อัล-อิซา
................................................................................................
ในภาพ : สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบัน
นโยบายด้านการต่างประเทศของซาอุดิอาระเบีย
:: ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจในโลกอิสลาม กลุ่มอาหรับและภูมิภาคตะวันออกกลาง เป็นศูนย์กลางของโลกมุสลิมและเป็นที่ตั้งขององค์กรมุสลิมที่สำคัญ อาทิ Organization of Islamic Conference (OIC), GCC, Islamic Development Bank (IDB) ซาอุดีอาระเบียให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อประเทศในกลุ่ม GCC ประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มอาหรับในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ซาอุดีอาระเบียเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียพยายามขยายบทบาทของตนในกระบวนการสันติภาพตะวันออก กลาง โดยเมื่อเดือน มีนาคม 2545กษัตริย์อับดุลเลาะห์ (ขณะทรงเป็นมกุฎราชกุมาร) ได้เสนอแผนสันติภาพ (Abdullah Peace Initiative) ตามหลักการ Land for Peace โดยขอให้อิสราเอลถอนจากดินแดนอาหรับที่ถูกยึดครองทั้งหมด เพื่อแลกกับการที่กลุ่มประเทศอาหรับทั้งหมดจะทีความสัมพันธ์เป็นปกติกับ อิสราเอล ทั้งนี้ ต่อมาแผนสันติภาพดังกล่าวได้รับการับรองจากสันนิบาตอาหรับ (League of Arab States) ให้เป็นแผนสันติภาพของประเทศอาหรับ
:: นอกจากนั้น ในระยะปัจจุบันซาอุดีอาระเบียได้เร่งดำเนินนโยบายปราบปรามและต่อต้านการก่อ การร้ายโดยเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาในสงครามการต่อต้านการก่อการ ร้าย (war on terror) การปราบปรามและการตัดช่องทางการเงินของกลุ่มก่อการร้ายโดยเฉพาะกลุ่มอัล-เค ด้า และเครือข่าย
:: ในขณะเดียวกัน ซาอุดีอาระเบียก็กำลังดำเนินนโยบาย “มุ่งตะวันออก” เพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์ ความร่วมมือและสร้างหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศในเอเชีย โดยกษัตริย์อับดุลเลาะห์ ได้เสด็จเยือนประเทศในเอเชีย ได้แก่ จีน, อินเดีย, มาเลเซีย และปากีสถาน ซึ่งนับเป็นการเสด็จต่างประเทศครั้งแรกของพระองค์ภายหลังการขึ้นครองราชย์
:: ทั้งนี้ ในการเยือนเอเชียของกษัตริย์อับดุลเลาะห์นี้ ทรงมุ่งขยายความร่วมมือด้านพลังงาน (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ) กับจีน เพิ่มพูนความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมกับอินเดีย การส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมกับมาเลเซีย ในส่วนของการเยือนปากีสถานนั้น ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรม ข้ามชาติ
ทางด้านเศรษฐกิจ
- ซาอุดีอาระเบียมีระบบเศรษฐกิจแบบมีรัฐเป็นผู้นำ (State-led Economy) มีทรัพยากรน้ำมันเป็นพื้นฐานและเป็นตัวนำในการพัฒนา ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันอันดับ ๑ ของโลก และมีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุด (๑ ใน ๔ ของโลก) อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญใน OPEC และในการรักษาเสถียรภาพราคาและระดับอุปทานน้ำมันในตลาดโลก ในแต่ละปี ผลผลิตภาคน้ำมันของซาอุดีอาระเบียคิดเป็นประมาณร้อยละ ๔๐ ของ GDP รายได้จากการส่งออกน้ำมันคิดเป็นร้อยละ ๙๐-๙๕ ของรายได้การส่งออกทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๐-๘๐ ของรายได้รัฐบาล เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียจึงมีลักษณะพึ่งพาภาคน้ำมันสูง (oil dependence)
- ภาวะเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๙ อยู่ในระดับที่ดีมาก (GDP เติบโตร้อยละ ๕.๙) ทำการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น (เฉลี่ยวันละ ๑๐.๔ ล้านบาร์เรล) กอปรกับการที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น (เฉลี่ยตลอดปีอยู่ในระดับ ๓๕ ดอลลาร์สรอ/บาร์เรล) ทำให้มีรายได้จากการส่งออกน้ำมัน ๑๐๖ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ของซาอุดีอาระเบีย (ในช่วง ๕ ปีก่อนหน้านี้ มีรายได้โดยเฉลี่ยปีละ ๖๙ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และทำให้รัฐบาลมีงบประมาณเกินดุล ๗๐.๖ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกินดุลร้อยละ ๒๓.๖ ซึ่งเกินดุลเป็นปีที่ ๔ ติดต่อกัน ในขณะที่ปี ๒๕๔๘ ซาอุดีอาระเบียทำการผลิตน้ำมันได้เฉลี่ยวันละ ๙.๖ ล้านบาร์เรล ทำให้รัฐบาลมีรายได้ในปี ๒๕๔๘ ประมาณ ๑๔๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ GDP มีมูลค่ารวมประมาณ ๓๑๐.๒ พันล้านดอลลารสหรัฐ และปริมาณสำรองเงินตราต่างประเทศ ๙๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เศรษฐกิจภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน (non-oil) ในปี ๒๕๔๗ มีการขยายตัวร้อยละ ๕.๗ สูงที่สุดในรอบ ๒๒ ปี ภาคที่เติบโตสูงได้แก่ โทรคมนาคม การก่อสร้าง ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing) นับว่าซาอุดีอาระเบียมีเศรษฐกิจเข้มแข็งมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับ ในปี ๒๕๔๗
- ภาวะเศรษฐกิจที่ดีในระยะปัจจุบัน และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้น และการมีสภาพคล่องในระบบน่าจะทำให้เศรษฐกิจ มีเสถียรภาพและแนวโน้มที่ดีในปี ๒๕๔๙ ซึ่งน่าจะทำให้รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย มุ่งผลักดันการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การเพิ่มงบประมาณด้านการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสวัสดิการสังคม เช่น กษัตริย์อับดุลลาห์ได้ทรงประกาศเพิ่มงบลงทุนเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็น ๕.๕ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันก็คาดว่าจะเพิ่มงบประมาณด้านความมั่นคงและการทหารไปพร้อมกัน ด้วย
- นอกจากนั้น ภาวะเศรษฐกิจที่ดีทำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ จัดให้ซาอุดีอาระเบีย มีระดับความน่าเชื่อถือสูง กล่าวคือ Standard & Poors (S&P) จัดให้อยู่ในระดับ A Fitch Ratings จัดให้อยู่ในระดับ A และ Moody’s Investors Services จัดให้อยู่ในระดับ Baa๒
- อย่างไรก็ดี ซาอุดีอาระเบียก็ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญปัญหาหนึ่ง คือ ปัญหาการว่างงาน โดยเฉพาะหลังจากที่รัฐบาลต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านการทหารและความมั่นคง เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในต้นปี ๒๕๔๖ รัฐบาลซาอุดีอาระเบียจึงประกาศเริ่มดำเนินนโยบาย Saudization เพื่อส่งเสริมให้กำลังแรงงานชาวซาอุดีอาระเบียมีงานทำมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคนซาอุดียังไม่นิยมทำงานหนักหรืองานที่ต้องใช้ทักษะความรู้เฉพาะ ด้าน ทำให้รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะจำกัดจำนวนให้มีแรงงานต่างชาติไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของประชากรซาอุดีอาระเบีย ทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ ๒๕ ล้านคน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.กาซี อัล-กูไซยบี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานซาอุดีอาระเบีย ได้กล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๗ ว่า ได้กำหนดเป้าหมายที่จะเร่งลดจำนวนแรงงานต่างชาติให้เร็วยิ่งขึ้น คือจะลดลงปีละ ๑๐๐,๐๐๐ คน เพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานชาวซาอุดีอาระเบียเข้ามาแทนที่
:: หน่วยเงินตราของซาอุดิอาระเบีย ริยาล (๑ ดอลลาร์สหรัฐ = ๓.๗๕ ริยาล / ๑ ริยาล ประมาณ ๑๐.๕ บาท)
:: สินค้าส่งออกของไทย รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและส่วนประกอบ ข้าว อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งผลิตภัณฑ์ยาง
:: สินค้านำเข้าจากซาอุดีฯ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันสำเร็จรูป เหล็ก เหล็กกล้าและส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ
:: ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ
:: อุตสาหกรรมหลัก น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเคมี
:: สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
:: ตลาดส่งออกที่สำคัญ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน
:: สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อาหารแปรรูป สิ่งทอ
:: ตลาดนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐฯเยอรมนี ญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศส
ทางด้านสังคม
- ซาอุดีอาระเบียนับเป็นประเทศที่มีลักษณะอนุรักษ์ทางสังคม ศาสนา และวัฒนธรรมมากที่สุด ประเทศหนึ่งในโลกอาหรับ ประชาชนชาวซาอุดีอาระเบียจะยึดมั่นในคำสอนของศาสนาอิสลาม รัฐบาลไม่อนุญาตให้จำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สตรีจะได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับสตรีด้วยกันเองโดย ตรง เช่น แพทย์ พยาบาลที่ดูแลรักษาคนไข้สตรี ครูสอนโรงเรียนสตรี เป็นต้น ไม่อนุญาตให้สตรีเป็นพนักงานขายทุกประเภท และไม่อนุญาตให้ขับรถอีกด้วย ในขณะที่ในทางการเมืองสตรีไม่มีสิทธิ์ออกเสียงและลงสมัครรับเลือกตั้ง
- อย่างไรก็ดี ขณะนี้รัฐบาลมีแนวคิดที่จะทำการปฏิรูปทางสังคม รวมทั้งการให้สิทธิแก่สตรีมากขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ความสัมพันธ์ทั่วๆ ไป
- ซาอุดีอาระเบีย นับเป็นประเทศอาหรับประเทศแรกๆ ที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย (๑ ตุลาคม ๒๕๐๐) ในชั้นแรกยังไม่มีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต คงมีเพียงการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางกงสุลระหว่างกัน โดยไทยเปิดสถานกงสุลใหญ่ที่เมืองเจดดาห์ และซาอุดีอาระเบียเปิดสถานกงสุลใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร
- เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๐๙ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตระหว่างกัน โดยยกฐานะสถานกงสุลใหญ่ของแต่ละฝ่ายขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต ซาอุดีอาระเบียได้ตั้งกงสุลใหญ่ซึ่งประจำการในประเทศไทยอยู่แล้ว คือเชค อับดุลเราะห์มาน อัล-โอมรัน เป็นเอกอัครราชทูตคนแรก ส่วนไทยได้แต่งตั้งอุปทูตไปประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ เมืองเจดดาห์
- ต่อมาเมื่อ ๔ มิถุนายน ๒๕๑๘ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำซาอุดีอาระเบีย (เอกอัครราชทูตประสงค์ สุวรรณประเทศ) และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ซาอุดีอาระเบียได้ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงริยาด คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๕๒๘ ย้ายสถานเอกอัครราชทูตไปยังกรุงริยาด และเปิดสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์
ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
- ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับต่างๆ โดยต่อเนื่อง จนกระทั่งการเกิดคดีโจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด คดีฆาตกรรมนักการทูตซาอุดีอาระเบีย (๓ คดี รวม ๔ ศพ) และคดีการหายสาบสูญของนักธุรกิจซาอุดีอาระเบียในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๓
- ก่อนการเกิดคดีต่างๆ ข้างต้น ซาอุดีอาระเบียมีความสำคัญต่อไทยในหลายด้าน ได้แก่
๑) เป็นตลาดแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของไทยในตะวันออกกลาง โดยจากสถิติของกรมแรงงาน (กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในขณะนั้น) ในบางช่วงเคยมีแรงงานไทยสูงถึง ๓๐๐,๐๐๐ คน นำรายได้เข้าประเทศโดยเฉลี่ยปีละ ๙,๐๐๐ ล้านบาท ขณะที่ในปัจจุบัน(ปี ๒๕๕๑) มีคนไทยอาศัยอยู่ในซาอุดีอาระเบียประมาณ ๑๖,๘๙๖ คน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานเก่าก่อนเกิดปัญหาความสัมพันธ์ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานฝีมือหรือกึ่งฝีมือ และคนงานในภาคบริการ เช่น ประกอบกิจการร้านอาหารไทย พนักงานธนาคาร และบริษัทห้างร้านต่างๆ เป็นต้น
๒) แม้ความสัมพันธ์จะได้รับผลกระทบจากคดีที่เกิดขึ้น แต่จนถึงปัจจุบันซาอุดีอาระเบียก็ยังคงเป็นแหล่งพลังงานอันดับต้นๆ ของไทย โดยในช่วงปี ๒๕๔๓-๒๕๔๖ ไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากซาอุดีอาระเบียมากเป็นอันดับสาม (รองจาก UAE และโอมาน) เฉลี่ยปีละ ๘๐๐-๑,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
๓) เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับสองของไทยในตะวันออกกลาง และเป็นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ที่สุดของไทยในตะวันออกกลาง
๔) เป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลาม มีศาสนสถานศักดิ์สิทธ์ของชาวมุสลิมที่เมืองมักกะห์ และมาดีนะ ในแต่ละปีมีผู้แสวงบุญชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ประมาณปีละ ๑ หมื่นคน (ในปี ๒๕๔๘ มีชาวไทยมุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ๑๐,๔๕๑ คน และปี ๒๕๔๙ ประเทศไทยได้โควต้า ๑๑,๐๐๐ คน)
๕) เป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือไทยในด้านต่าง ๆ เช่น Saudi Fund or Development ได้ให้เงินกู้ เพื่อการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเมื่อปี ๒๕๒๔ และ Islamic Development Bank ของซาอุดีอาระเบียได้ให้เงินช่วยเหลือในการก่อสร้างอิสลามวิทยาลัย จังหวัด ยะลา เป็นจำนวน ๓๒ ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘
- คดีต่างๆ ข้างต้น มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์เป็นอย่างมาก โดยเป็นผลให้ซาอุดีอาระเบียมีมาตรการตอบโต้ไทย ประกอบด้วย การห้ามมิให้คนซาอุดีอาระเบียเดินทางมาไทย การไม่ออกวีซ่าให้คนไทยไปทำงานในซาอุดีอาระเบียเพิ่มขึ้น การไม่ให้การตรวจลงตราไป-กลับ ( Exit-re-entry Visa) แก่คนงานไทยในซาอุดีอาระเบียที่ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศ และการลดระดับตัวแทนทางการทูตเป็นระดับอุปทูต
การปรับความสัมพันธ์
- ในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างกันอยู่ในภาวะถดถอย กระทรวงการต่างประเทศได้พยายามรักษาการติดต่อและประคับประคองมิให้ความ สัมพันธ์เสื่อมทรุดลงอีก โดยการดำเนินนโยบายคู่ขนาน (dual track policy) ได้แก่ การพยายามสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับคดี ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้า วัฒนธรรม (ศาสนา กีฬา) และการส่งเสริมความสัมพันธ์ในกรอบพหุภาคี เช่น อาศัยกรอบ ASEAN และ GCC (Gulf Cooperation Council) เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อกับฝ่ายซาอุดีอาระเบีย การเชิญนักวิชาการมาประชุมทางวิชาการในไทย การใช้บุคคล กลไก ช่องทางต่างๆ ทุกทางที่เป็นไปได้เพื่อช่วยรักษาสัมพันธ์ ซึ่งความพยายามต่างๆ ดังกล่าวเป็นผลให้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น อาทิ
.....นับแต่ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ซาอุดีอาระเบีย ได้ยินยอมให้วีซาแก่นักธุรกิจไทยที่จะเดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าที่กรุง ริยาด และเมืองเจดดาห์
....ฝ่ายซาอุดีอาระเบีย มีท่าทีผ่อนคลายลงในด้านแรงงาน โดยนับแต่ปี ๒๕๔๓ เป็นต้นมาแรงงานไทยในซาอุดีอาระเบีย สามารถขอรับการตรวจลงตราประเภทไป-กลับ ( Exit re-entry Visa) ได้เช่นเดียวกับแรงงานชาติอื่นๆ
- ในด้านการสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับคดี นั้น การปรับสัมพันธ์เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลังจากที่รัฐบาล พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร ได้รื้อฟื้นคดีนี้ขึ้นใหม่ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ได้แก่ คณะกรรมการกำกับดูแล เร่งรัด ติดตามผลการดำเนินการและการสืบสวนคดีฆาตกรรมเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต และนักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ เมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ พัฒนาการทางบวกที่สำคัญ ได้แก่
.....รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ได้ส่งทีมงานสืบสวนมาทำงานร่วมกับทีมสืบสวนของไทยซึ่งมี พล.ต.ท. ชิดชัย วรรณสถิตย์ (ยศในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าทีม ๒ ครั้ง ระหว่าง ๑๓-๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ และระหว่างวันที่ ๒๙-๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
.....ความคืบหน้าในการ สืบสวนและการทำงานร่วมกัน ทำให้ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สุรเกียรติ์ เสถียรไทย) ได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๗ ตามคำเชิญของเจ้าชายซาอุด อัล-ไฟซาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบีย และได้เข้าเฝ้ามกุฎราชกุมารอับดุลเลาะห์ รองนายกรัฐมนตรีคนที่ ๑ และผู้สำเร็จราชการของซาอุดีอาระเบีย (ตำแหน่งในขณะนั้น)
- ในระยะปัจจุบัน คดีต่างๆ เกี่ยวกับซาอุดีอาระเบียถือเป็นคดีพิเศษ และอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตั้งแต่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นมา กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการขยายผลการการสืบสวนจากทีมสืบสวนที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายที่จะนำทุกคดีเข้าสู่การพิจารณาชั้นศาล ทั้งนี้ ในคดีฆาตกรรมนักการทูตนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษได้พยายามหาหลักฐานใหม่ สอบสวนพยานบุคคลต่างๆ เพิ่มเติม และสามารถนำตัวผู้ต้องสงสัย ๑1 ราย ซึ่งหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศกลับประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๙
- ในส่วนของคดีการหายไปของนักธุรกิจ นั้น ขณะนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษมีแนวทางที่จะให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลสั่งให้เป็น บุคคลสาบสูญ เพื่อให้ครอบครัวและญาติสามารถจัดการทรัพย์สินและมรดกได้ โดยฝ่ายไทยได้ขอทราบท่าทีและความประสงค์ของฝ่ายซาอุดีอาระเบียในเรื่องนี้ แล้ว ขณะที่ในส่วนของคดีเพชร นั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษยังคงติดตามเพชรที่สูญหาย และจะรวบรวมหลักฐานเพื่อให้สามารถยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อริบทรัพย์ผู้ครอบครอง เพชร
- การสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับคดีนับแต่มีการรื้อฟื้นคดีเมื่อปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมา ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากฝ่ายซาอุดีอาระเบียเพิ่มมากขึ้น โดยทีมสอบสวนทั้งสองฝ่ายตกลงจะจัดประชุมร่วมครั้งที่ ๓ ในปีนี้ (๒๕๔๙) โดยฝ่ายซาอุดีฯ ได้เชิญฝ่ายไทยไปประชุมที่ริยาด และฝ่ายไทยกำลังพิจารณากำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสม
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
- แม้จะมีปัญหาความสัมพันธ์ต่อกัน ที่ผ่านมาฝ่ายซาอุดีอาระเบีย ก็มิได้ปิดกั้นการติดต่อทางการค้า และธุรกิจระหว่างเอกชนทั้งสองฝ่าย แต่ก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนหรือส่งเสริม คงเพียงปล่อยให้มีการดำเนินการไปตามปกติ ในขณะที่ภาคเอกชนซาอุดีอาระเบียต้องการขยายการติดต่อกับไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังเหตุการณ์ ๙/๑๑ ซึ่งมีการต่อต้านสินค้าตะวันตกในระดับประชาชนในซาอุดีอาระเบีย ได้ปรากฏแนวโน้มที่ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการซาอุดีอาระเบีย มีความต้องการติดต่อกับประเทศในเอเชีย รวมทั้งการนำเข้าจากประเทศไทยมากขึ้น
- ในด้านการส่งออกนั้น สินค้าของไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ที่สำคัญได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลแปรรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน สินค้าไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีและได้รับการยอมรับในตลาดซาอุดีอาระเบีย จากการมีราคาที่แข่งขันได้ และมีคุณภาพทัดเทียมสินค้าของประเทศอุตสาหกรรมใหม่อื่นๆ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน สินค้าที่มีการขยายตัวและมีอนาคตเชิงธุรกิจในตลาดซาอุดีอาระเบียสูง ได้แก่ อุปกรณ์ โทรคมนาคม อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์การกลั่นน้ำทะเล อะไหล่รถยนต์ สินค้าที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย สินค้าเกษตร ผักผลไม้สด อาหารฮาลาล เครื่องดื่ม และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
- ปัญหาสำคัญในการติดต่อการค้าระหว่างกันได้แก่ ข้อจำกัดในการให้ตรวจลงตรา แก่นักธุรกิจไทย ทำให้การขยายช่องทางการติดต่อ การเพิ่มพูนมูลค่าการค้าทำได้ไม่กว้างขวางพอ ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยได้หาทางขยายตลาดในซาอุดีอาระเบีย โดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเมืองเจดดาห์และที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่จะได้รับการตรวจลงตราจากฝ่ายซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตาม ต่อมา ซาอุดีอาระเบียได้ผ่อนคลายมาตรการเกี่ยวกับการตรวจลงตรา ซึ่งเป็นผลให้มี การเยือนของภาคเอกชนมากขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่
- ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ประพัฒน์ โพธิวรคุณ) ได้เดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบีย ได้พบหารือกับผู้บริหารองค์กรภาคเอกชน (กึ่งราชการ) ที่สำคัญของซาอุดีอาระเบีย ได้แก่ Saudi Arabia General Investment Authority (SAGIA) และ Saudi Arabian Basic Industries Corporation (SABIC) และ Saudi Chambers of Commerce and Industry โดยได้มีหนังสือเชิญนาย Abdulrahman Al Jeraisy ประธาน Saudi Chambers of Commerce and Industry มาเยือนไทย ซึ่งนาย Abdulrahman ตอบรับจะมาเยือนไทยในปี ๒๕๔๙
- การเยือนซาอุดีอาระเบียของผู้บริหารธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อแสวงหาความร่วมมือกับธนาคารซาอุดีอาระเบีย เช่น National Commercial Bank
ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ด้านการท่องเที่ยว
- ก่อนเกิดปัญหาระหว่างกัน ชาวซาอุดีอาระเบีย เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ชาวซาอุดีอาระเบียจำนวนมากยังคงต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวไทย แม้รัฐบาลจะยังมีนโยบายห้าม ทั้งนี้ จากสถิติของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในช่วงปี ๒๕๔๔-๒๕๔๗ มีนักท่องเที่ยวจากซาอุดิอาระเบียเฉลี่ยประมาณปีละ ๗,๐๐๐ คน และในปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙ มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากกว่า ๑ หมื่นคนและในปี ๒๕๕๑ มีนักท่องเที่ยวซาอุดีอาระเบียมาไทย ๑๖,๘๙๖ คน
- อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันทางการซาอุดีมีท่าทีผ่อนปรนสำหรับบุคคลชั้นสูงและนักธุรกิจ ที่ต้องการเดินทางมาประเทศไทย โดยปรากฏแนวโน้มในระยะหลังว่าสมาชิกราชวงศ์มีความนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว ประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
ด้านทุนศึกษา
รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาไทยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ซาอุดีอาระเบียเริ่มก่อ ตั้งมหาวิทยาลัยเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมา โดยนักศึกษาไทยจะได้รับทุนการศึกษาปีละ ๓-๕ คน เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านศาสนาอิสลาม และภาษาอาหรับหลักสูตร ๒ ปี
ด้านกิจการฮัจญ์
ไทยได้รับความ ร่วมมือจากทางการซาอุดีอาระเบียเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการไปประกอบพิธีฮัจญ์ ของชาวไทยมุสลิมมาโดยต่อเนื่อง ทั้งในการเตรียมการและการประสานงาน โดยในทุกปี กรมการศาสนา จะส่งคณะผู้แทนฮัจย์ไทยไปประชุมกับกระทรวงฮัจญ์ (Ministry of Haj) ของซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือในด้านการเตรียมที่พัก การขนส่ง การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์
ความตกลงที่สำคัญ
- ความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (๒๕๓๗)
- ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีกิจการขนส่งทางอากาศ (Agreement for theReciprocal Exemption of Taxes on the Activities of Air Transport Enterprises)
- เอกสารพิธีการ (Proces-Verbal) เพื่อการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารความตกลง เพื่อการเว้นการเก็บภาษีจากกิจการขนส่งทางอากาศ (เมษายน ๒๕๓๙)
- ความตกลงการบิน (ได้มีการเจรจาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงบริการขนส่งทางอากาศระหว่างกันที่ เมืองเจดดาห์ โดยฝ่ายซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘ เป็นผลให้ บริษัทการบินไทย ตกลงจะทำการบินไปซาอุดีอาระเบียอีกหลังจากหยุดดำเนินการมาเป็นเวลา ๑๔ ปี รวมทั้งเพิ่มสิทธิ์การบินไปยังเจดดาห์ (จากเดิมที่มีสิทธิ์การบินไปกรุงริยาด เมืองดัมมัม และเมืองดาห์ราน เท่านั้น) ขณะที่lสายการบิน Saudi Arabian Airlines ได้ตกลงจะทำการบินมาไทยอีกครั้ง หลังหยุดมา ๓ ปี และจะมีการใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน หรือ Code Sharing ระหว่างทั้งสองสายการบิน )
ธงชาติซาอุดิอาระเบีย....
.....ธงซาอุดิอาระเบีย เป็นสัญลักษณ์ของประชาชนอาหรับในทะเลทราย ซึ่งใช้อยู่หลายรุปแบบมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๑๙ สีเขียวเป็นสีที่นิกายชาฮาดานิยม อาจเพราะเชื่อว่าสีเขียวเป็นสีโปรดของศาสดามูฮัมหมัด
.....ชาฮาดา ปี ๑๙๐๑ มีการเพิ่ม "ชาฮาดา-ถ้อยคำแห่งศรัทธาของมุสลิม" เข้าไว้ในผืนธงด้วยตัวอักษรสีขาว ทำให้ผืนธงของซาอุดิอาระเบียเป็นธงเดียวที่บรรจุถ้อยคำจารึก ...ตามกฎแล้วมันจะต้องสามารถอ่านจากขวาไปซ้ายจากทั้งสองด้านของธงดาบ สัญลักษณ์ดาบของ อบัด อัล-อาซิส ผู้ปกครองส่วนหนึ่งของอาระเบียในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ มันปรากฎในรูปแบบต่าง ๆ ในอดีตรวมทั้งบางทีก็เป็นดาบไขว้เช่นกัน
.....ความหมาย
- จารึกที่ปรากฎบนผืนธงแปลความหมายได้ว่า
"ลัล ลาฮา ฮัลลาห์ มูฮัมมาดูน ราซูลูลลาห์"
"ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระอัลเลาะห์และมูฮัมหมัดคือศาสดาพยากรณ์ของพระองค์"
- ดาบ เพิ่มมาในปี ๑๙๘๑ สื่อถึงดาบที่พระบิดาประทานให้ อับดุล อัล-อาซิส
ตราแผ่นดิน....
เพลงชาติซาอุดีอาระเบีย :: อัส-ซะลาม อัล มะละกี (Aash Al Maleek)
....แปล เทียบเป็นภาษาไทยได้ว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมี" เป็นเพลงชาติประจำราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย เนื้อหาเป็นการสรรเสริญพระเจ้า (อัลลอห์) และถวายพระพรกษัตริย์แห่งซาอุดิอาระเบีย เนื้อร้องประพันธ์โดย อิบราฮิม คาฟาจี (Ibrahim Khafaji - เกิด พ.ศ. ๒๔๗๘8) ทำนองโดย อับดุล เราะห์มัน อัล-คาตีป (Abdul Rahman Al-Khateeb - เกิด พ.ศ. ๒๔๖๕) เริ่มใช้ในฐานะเพลงชาติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓
ถอดความได้ดังนี้ครับ...
....ขอความรุ่งเรืองและความยิ่งใหญ่จงมาเร็วไว
....ขอสรรเสริญต่อพระผู้สร้างแดนสรวง !
....และจงชูธงสีเขียว
....อันประทับด้วยสัญลักษณ์แห่งแสงสว่าง
....กล่าวย้ำว่า อัลลอหฺทรงยิ่งใหญ่ที่สุด
....โอ้ ประเทศของข้า !
....ประเทศของข้า จงยืนยงคู่เกียรติแห่งชาวมุสลิมเถิด!
....ขอองค์ราชาจงทรงพระเจริญ ขอธงชาติและประเทศชาติจงเจริญยิ่งยืนนาน!
ความยาว ๒๙ วินาที...
http://www.youtube.com/watch?v=mErlXflbxq8&feature=player_embedded
ขอขอบคุณ...
...ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ
...อิงวิกิเปเดีย
...ไทยวิกิเปเดีย
...คอสมอส..ธงนานาชาติ
...ไอพียู.คอม
...ฟริค เคอาร์
...และสุดท้ายชาวหน้าต่างโลกทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาทักทายกันครับ
...ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ
...อิงวิกิเปเดีย
...ไทยวิกิเปเดีย
...คอสมอส..ธงนานาชาติ
...ไอพียู.คอม
...ฟริค เคอาร์
...และสุดท้ายชาวหน้าต่างโลกทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาทักทายกันครับ
Cradit: คุณนกสุโขทัย http://worldwindow.pantipmember.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น