เขตการปกครองของสาธารณรัฐมาดากัสการ์ ....
มี การแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัด(faritany mizakatena) ต่าง ๆ ๖ แห่ง และแต่ละจังหวัดก็แบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ อีกรวมทั้งสิ้น ๒๒ เขต(faritra) ...ได้แก่
๑. จังหวัดอันตานานาริโว( Antananarivo ) อยู่ตอนกลางของประเทศ ประกอบด้วยทั้งสิ้น ๔ เขตปกครอง
- เขตอนาลามังกา( Analamanga )
- เขตบ็องโกลาวา( Bongolava )
- เขตอิตาซี( Itasy )
- เขตวาคินันคาราตรา( Vakinankaratra )
๒. จังหวัดอันต์ซิรานานา( Antsiranana ) อยู่ตอนบนของประเทศ ประกอบด้วยทั้งสิ้น ๒ เขตปกครอง
- เขตดิอานา( Diana )
- เขตซาวา( Sava )
๓. จังหวัดฟิอานารันต์เซา( Fianarantsoa ) อยู่ตอนใต้ด้านตะวันออกของประเทศ ประกอบด้วยทั้งสิ้น ๕ เขตปกครอง
- เขตอามารอน อี มาเนีย( Amoron'i Mania )
- เขตอัทซิโม-อัทซินานานา( Atsimo-Atsinanana )
- เขตเฮาตี-มัทซิอาตรา( Haute-Matsiatra )
- เขตอิโฮรอมเบ( Ihorombe )
- เขตวาโตวาวี-ฟิโตวินานี( Vatovavy-Fitovinany )
๔. จังหวัดมาฮาจังกา( Mahajanga ) อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ประกอบด้วยทั้งสิ้น ๔ เขตปกครอง
- เขตเบทซิโบกา( Betsiboka )
- เขตโบเอนี( Boeny )
- เขตเมลากี( Melaky )
- เขตโซเฟีย( Sofia )
๕. จังหวัดโทอามาซินา( Toamasina ) ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของประเทศ ประกอบด้วย ๓ เขตปกครอง
- เขตอาเลาตรา มังโกโร( Alaotra Mangoro )
- เขตอนาลันจิโรโฟ( Analanjirofo )
- เขตอัทซินานานา( Atsinanana )
๖. จังหวัดโทลีอารา( Toliara ) อยู่ทางด้านตะวันตกตอนใต้ ประกอบด้วย ๔ เขตปกครอง
- เขตอันดรอย( Androy )
- เขตอาโนซี( Anosy )
- เขตอัทซิโม-อันเดรฟานา( Atsimo-Andrefana )
- เขตเมนาเบ้( Menabe )
มี การแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัด(faritany mizakatena) ต่าง ๆ ๖ แห่ง และแต่ละจังหวัดก็แบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ อีกรวมทั้งสิ้น ๒๒ เขต(faritra) ...ได้แก่
๑. จังหวัดอันตานานาริโว( Antananarivo ) อยู่ตอนกลางของประเทศ ประกอบด้วยทั้งสิ้น ๔ เขตปกครอง
- เขตอนาลามังกา( Analamanga )
- เขตบ็องโกลาวา( Bongolava )
- เขตอิตาซี( Itasy )
- เขตวาคินันคาราตรา( Vakinankaratra )
๒. จังหวัดอันต์ซิรานานา( Antsiranana ) อยู่ตอนบนของประเทศ ประกอบด้วยทั้งสิ้น ๒ เขตปกครอง
- เขตดิอานา( Diana )
- เขตซาวา( Sava )
๓. จังหวัดฟิอานารันต์เซา( Fianarantsoa ) อยู่ตอนใต้ด้านตะวันออกของประเทศ ประกอบด้วยทั้งสิ้น ๕ เขตปกครอง
- เขตอามารอน อี มาเนีย( Amoron'i Mania )
- เขตอัทซิโม-อัทซินานานา( Atsimo-Atsinanana )
- เขตเฮาตี-มัทซิอาตรา( Haute-Matsiatra )
- เขตอิโฮรอมเบ( Ihorombe )
- เขตวาโตวาวี-ฟิโตวินานี( Vatovavy-Fitovinany )
๔. จังหวัดมาฮาจังกา( Mahajanga ) อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ประกอบด้วยทั้งสิ้น ๔ เขตปกครอง
- เขตเบทซิโบกา( Betsiboka )
- เขตโบเอนี( Boeny )
- เขตเมลากี( Melaky )
- เขตโซเฟีย( Sofia )
๕. จังหวัดโทอามาซินา( Toamasina ) ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของประเทศ ประกอบด้วย ๓ เขตปกครอง
- เขตอาเลาตรา มังโกโร( Alaotra Mangoro )
- เขตอนาลันจิโรโฟ( Analanjirofo )
- เขตอัทซินานานา( Atsinanana )
๖. จังหวัดโทลีอารา( Toliara ) อยู่ทางด้านตะวันตกตอนใต้ ประกอบด้วย ๔ เขตปกครอง
- เขตอันดรอย( Androy )
- เขตอาโนซี( Anosy )
- เขตอัทซิโม-อันเดรฟานา( Atsimo-Andrefana )
- เขตเมนาเบ้( Menabe )
ตัวเมืองฟิอานารันต์เซา ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ.. |
ในภาพแสดงที่ตั้งของเกาะมาดากัสการ์ ในทวีปแอฟริกา... |
แผนที่แสดงที่ตั้งของเมืองหลวง อันตานานาริโว และเมืองสำคัญต่าง ๆ |
แผนที่แสดงเป็นภาพถ่ายดาวเทียม... |
แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของมาดากัสการ์... |
ประวัติศาสตร์มาดากัสการ์......
+ + + ปรากฏหลักฐานว่ามีคนอาศัยอยู่ในมาดากัสการ์มาเป็นเวลา ๒๐๐ ปีแล้ว และต่อมามีคนเชื้อสายแอฟริกันและอินโดนีเซียมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้ในศตวรรษ ที่ ๑๖ ภายใต้การนำของดิเอโก ดิอาซ นักบุกเบิกชาวโปรตุเกส ดินแดนในเกาะมาดากัสการ์รวมตัวกันภายใต้ระบอบกษัตริย์ในช่วงปี ๒๓๔๐ - ๒๔๐๔ แต่ฝรั่งเศสได้เข้าอ้างสิทธิ์ในการ ปกครองในปี ๒๔๓๘ และต่อมาในปี ๒๔๓๙ ระบอบกษัตริย์ได้ถูกทำลายซึ่งยังผลให้มาดากัสการ์ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๓๙ และต่อมาในปี ๒๕๐๑ มีการลงประชามติประกาศให้สาธารณรัฐมาลากาซีมีอำนาจปกครองตนเองในประชาคม ฝรั่งเศส และได้รับเอกราชอย่างแท้จริงเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๐๓ ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ พันเอกริชาร์ด รัทซิมานดราวาซึ่งเป็นประมุขของประเทศถูกลอบสังหาร จึงได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการทหารแห่งชาติ (National Military Directorate) ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ และต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายนได้โอนอำนาจให้แก่สภาปฏิวัติสูงสุด (Supreme Revolutionary Council) ภายใต้การนำของนายดิเดียร์ รัทซิราก้า ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๑๘ ที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ เป็นต้นมา มาดากัสการ์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ซึ่งก่อให้เกิดการขาดเสถียรภาพทางการเมือง การขาดแคลนอาหารทำให้มีการก่อความไม่สงบขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ในขณะที่ชาวนาที่เดือดร้อนก็พากันละทิ้งไร่นาของตน
+ + + ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ มีการยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับการมีพรรคการเมืองหลายพรรคในระบอบการเมือง แต่ฝ่ายต่อต้านต้องการรัฐธรรมนูญใหม่ และหลังจากมีการนัดหยุดงานและประท้วงเป็นเวลา ๖ เดือนประธานาธิบดีรัทซิราก้า ก็ได้มอบอำนาจหลายส่วนให้แก่รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของนายแอลเบิร์ต ซาฟี ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๔ และในการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ นายซาฟี ได้รับเลือกโดยเสียงส่วนใหญ่ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในปี ๒๕๓๙ แต่ต่อมาถูกรัฐสภามาดากัสการ์ลงมติไม่ไว้วางใจอันเป็นผลมาจากค่าครองชีพที่ สูงขึ้นบวกกับการฉ้อราษฎร์บังหลวงในวงราชการ จนเป็นเหตุให้ประธานาธิบดีซาฟี ต้องลาออกไป ในการเลือกตั้งปลายปี ๒๕๓๙ นายดิเดียร์ รัทซิราก้า ได้รับเลือกตั้งให้กลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงมากกว่านายซาฟี เพียงเล็กน้อย ต่อมา ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๔ มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่ขึ้น แต่เกิดปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งระหว่างนายรัทซิราก้า และนายมาร์ซ ราวาโลมานานา คู่แข่งคนสำคัญ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีในขณะนั้น ความขัดแย้งดังกล่าวนำมาสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นเวลาหลาย เดือน จนในที่สุด วิกฤตการณ์ดังกล่าวคลี่คลายลงเมื่อประชาคมระหว่างประเทศได้ให้การรับรองนาย ราวาโรมานานา ในฐานะประธานาธิบดีและรัฐบาลชุดใหม่ โดยสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ประกาศท่าทีให้การรับรองและไทยเป็นประเทศ แรกในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ให้การรับรอง ......
ประธานาธิบดีคนแรกของมาดากัสการ์ ฯพณฯ ฟิลิเบิร์ต ทซิรานานา อยู่ในตำแหน่งระหว่างปี ๒๕๐๒-๒๕๑๕ .. |
อดีตประธานาธิบดีดิเดียร์ รัทซิราก้า ดำรงตำแหน่งระหว่างปี ๒๕๑๕-๒๕๓๕, ๒๕๓๕-๒๕๓๖ และ ๒๕๔๐-๒๕๔๕ .... |
ต่อไปนี้เป็นช่วงชมเมือง......
โรงแรมดูหรูหราในเมืองอันต์ซิราเบ้.... |
คน
มาดากัสการ์ ซักผ้าริมแม่น้ำ ไม่เห็นจะแปลก....แต่ที่แปลกคือ
เขาตากผ้าผึ่งบนสนามหญ้าแถวนั้นแหละครับ พอแห้งก็เก็บ แต่ต้องเก็บพวกเห็บ
ไร ต่าง ๆ ออกด้วยเพราะติดไปกับผ้า( ทำไมไม่ตากกับราวไม้หว่า ??? )
เอาไปอีกชุดครับ +_^
1 สถานีรถไฟในกรุงอันตานานาริโว....
2 ภูมิทัศน์แสนงดงามที่อุทยานแห่งชาติอันดริงกิตร้า ...
3 ริมแม่น้ำมานัมโบโล....
4 บ้านดินตามชนบท....
5 ทรัพยากรธรรมชาติของมาดากัสการ์มีครบถ้วน ทั้งภูเขาและทะเลมีทะเลก็ต้องมีไม้ทะเล พวกป่าโกงกาง ป่าชายเลน...
4 บ้านดินตามชนบท....
5 ทรัพยากรธรรมชาติของมาดากัสการ์มีครบถ้วน ทั้งภูเขาและทะเลมีทะเลก็ต้องมีไม้ทะเล พวกป่าโกงกาง ป่าชายเลน...
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
++เมือง
หลวงของมาดากัสการ์ กรุงอันตานานาริโว หรือกรุงตานานี้
เป็นเมืองขนาดเล็กมีคนแค่ ๑ ล้านกว่าคน .....
บ้านเรือนของเขาจะมีลักษณะคล้าย ๆ แถว ๆ บ้านเรามากกว่ายุโรปหรือแอฟริกา
....สร้างด้วยอิฐโบกปูน ชั้นเดียว
หลังคาปูด้วยกระเบื้องมีลักษณะเป็นหน้าจั่วเหมือนหลังคาในบ้านเรา
คือมุงหลังคาด้วยกระเบื้องและที่เป็นจุดเด่นคือที่หลังคาจะมีไม้ยื่นขึ้นไป
คล้ายบ้านทรงไทยอย่างไรอย่างนั้น .....
บ้านเรือน ความเบียดเสียดในตัวเมืองหลวง สร้างไล่ระดับตามไหล่เขา.....
++สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจของมาดากัสการ์ +++
+ + ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของมาดากัสการ์ได้แก่ กราไฟท์ โครเมียม ถ่านหิน
+ + ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ข้าว ปศุสัตว์ กาแฟ วนิลา น้ำตาล ฝ้าย ถั่ว ยาสูบ
+ + อุตสาหกรรมที่สำคัญ แปรรูปอาหาร สิ่งทอ เหมืองแร่ กระดาษ กลั่นน้ำมัน ประกอบรถยนต์ ก่อสร้าง
+ + สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ
+ + ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ส่งออก ไปยังฝรั่งเศส สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอิตาลี นำเข้า จากฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และสหรัฐฯ
+ + สกุลเงินมาลากาซี อาเรียรี อัตราแลกเปลี่ยน ๑ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๑,๙๔๓ อาเรียรี ....
+ + มาดากัสการ์มีโรงแรมชั้นเยี่ยมดี ๆ ๒ แห่งได้แก่ โรงแรมฮิลตันและโคลแบร์ของฝรั่งเศส ราคาประมาณ คืนละ ๑๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป ...
+ + แผ่นดินของมาดากัสการ์นั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติเรียกว่าทั้ง ทรัพย์ในดินและบนดิน อย่างเช่น ทรัพย์ในดินที่สำคัญที่สุดในขณะนี้คืออัญมณีซึ่งมีมากเหลือเกินโดยเฉพาะทาง ตอนใต้ของประเทศ ผลผลิตบนดินทางเกษตรที่สำคัญที่ส่งออกคือกาแฟ วานิลา กานพลู ไม้ สัตว์ทะเลมีเปลือก(กุ้ง หอย ปู) น้ำตาลทราย รวมทั้งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม นี่ยังไม่นับทรัพย์ในทะเลที่มีมากเหมือนกันอัญมณีที่ประเทศไทยต้องการจาก มาดากัสการ์นั้นก็มีมาก โดยเฉพาะโทปาซและแซฟไฟรส์ รวมทั้งพลอยหลากหลายชนิด ซึ่งไทยใช้วัตถุดิบเหล่านี้เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่อง ประดับ เป็นที่รู้กันว่าผู้ค้าพลอยจันทบุรีของไทย ขุดพลอยในจังหวัดจนหมดเกลี้ยง ครั้นจะไปขุดที่ประเทศข้างเคียงซึ่งก็พอมี เช่นกัมพูชา หรือพม่า ก็เอาแน่ไม่ได้ ด้วยปัญหาชายแดน และปัญหาภายในประเทศของเขาเอง ทำให้ชาวจันทบุรีต้องคิดแล้วว่าจะหาอัญมณีจากที่ใดที่จะทำให้อุตสาหกรรม อัญมณีเครื่องประดับอยู่รอดต่อไป คำตอบอยู่ที่มาดากัสการ์ ผู้เชี่ยวชาญอัญมณีจันทบุรีบอกผมว่า พลอย โทปาซ และพลอยแดงที่มาดากัสการ์นั้นคุณภาพดีมาก และมีแหล่งพลอยที่อุดมสมบูรณ์ ขุดอีกหลายสิบปีก็ไม่หมด และด้วยเหตุนี้ ผู้ค้าพลอยไทยจึงไปแสวงโชคที่อันตานานาริโวเป็นจำนวนหลายร้อยคนเป็นเวลานับ สิบปีมาแล้ว( บทความนี้โดยพลเดช วรฉัตร )
+ + การเดินทางเข้าออกมาดากัสการ์ ที่สนามบินในกรุงตานา ....สนามบินแห่งชาติอิวาโต กับสายการบินแห่งชาติแอร์ มาดากัสการ์
+ + ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของมาดากัสการ์ได้แก่ กราไฟท์ โครเมียม ถ่านหิน
+ + ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ข้าว ปศุสัตว์ กาแฟ วนิลา น้ำตาล ฝ้าย ถั่ว ยาสูบ
+ + อุตสาหกรรมที่สำคัญ แปรรูปอาหาร สิ่งทอ เหมืองแร่ กระดาษ กลั่นน้ำมัน ประกอบรถยนต์ ก่อสร้าง
+ + สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ
+ + ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ส่งออก ไปยังฝรั่งเศส สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอิตาลี นำเข้า จากฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และสหรัฐฯ
+ + สกุลเงินมาลากาซี อาเรียรี อัตราแลกเปลี่ยน ๑ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๑,๙๔๓ อาเรียรี ....
+ + มาดากัสการ์มีโรงแรมชั้นเยี่ยมดี ๆ ๒ แห่งได้แก่ โรงแรมฮิลตันและโคลแบร์ของฝรั่งเศส ราคาประมาณ คืนละ ๑๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป ...
+ + แผ่นดินของมาดากัสการ์นั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติเรียกว่าทั้ง ทรัพย์ในดินและบนดิน อย่างเช่น ทรัพย์ในดินที่สำคัญที่สุดในขณะนี้คืออัญมณีซึ่งมีมากเหลือเกินโดยเฉพาะทาง ตอนใต้ของประเทศ ผลผลิตบนดินทางเกษตรที่สำคัญที่ส่งออกคือกาแฟ วานิลา กานพลู ไม้ สัตว์ทะเลมีเปลือก(กุ้ง หอย ปู) น้ำตาลทราย รวมทั้งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม นี่ยังไม่นับทรัพย์ในทะเลที่มีมากเหมือนกันอัญมณีที่ประเทศไทยต้องการจาก มาดากัสการ์นั้นก็มีมาก โดยเฉพาะโทปาซและแซฟไฟรส์ รวมทั้งพลอยหลากหลายชนิด ซึ่งไทยใช้วัตถุดิบเหล่านี้เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่อง ประดับ เป็นที่รู้กันว่าผู้ค้าพลอยจันทบุรีของไทย ขุดพลอยในจังหวัดจนหมดเกลี้ยง ครั้นจะไปขุดที่ประเทศข้างเคียงซึ่งก็พอมี เช่นกัมพูชา หรือพม่า ก็เอาแน่ไม่ได้ ด้วยปัญหาชายแดน และปัญหาภายในประเทศของเขาเอง ทำให้ชาวจันทบุรีต้องคิดแล้วว่าจะหาอัญมณีจากที่ใดที่จะทำให้อุตสาหกรรม อัญมณีเครื่องประดับอยู่รอดต่อไป คำตอบอยู่ที่มาดากัสการ์ ผู้เชี่ยวชาญอัญมณีจันทบุรีบอกผมว่า พลอย โทปาซ และพลอยแดงที่มาดากัสการ์นั้นคุณภาพดีมาก และมีแหล่งพลอยที่อุดมสมบูรณ์ ขุดอีกหลายสิบปีก็ไม่หมด และด้วยเหตุนี้ ผู้ค้าพลอยไทยจึงไปแสวงโชคที่อันตานานาริโวเป็นจำนวนหลายร้อยคนเป็นเวลานับ สิบปีมาแล้ว( บทความนี้โดยพลเดช วรฉัตร )
+ + การเดินทางเข้าออกมาดากัสการ์ ที่สนามบินในกรุงตานา ....สนามบินแห่งชาติอิวาโต กับสายการบินแห่งชาติแอร์ มาดากัสการ์
ตัวอย่างธนบัตรฉบับละ ๑๐,๐๐๐ มาลากาซี อาเรียรี... |
ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐมาดากัสการ์....
+ + ด้านการเมืองและการทูต
..... ไทยและมาดากัสการ์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียมี สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เขตอาณาครอบคลุมมาดากัสการ์ ต่อมา ในปี ๒๕๔๗ ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งส่วนแยก (Outpost) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เพื่อดูแลสาธารณรัฐมาดากัสการ์ และมาดากัสการ์ให้สถานเอกอัครราชทูตมาดากัสการ์ ณ กรุงโตเกียวมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย
+ + ด้านเศรษฐกิจและการค้า
..... สินค้าที่ไทยส่งไปขาย ๑๐ อันดับแรกคือ
๑. ยานพาหนะ อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบ
๒. ผลิตภัณฑ์พลาสติก
๓. เสื้อผ้าสำเร็จรูป
๔. ข้าว
๕. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
๖. หมวกและส่วนประกอบ
๗. หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ
๘. รองเท้าและชิ้นส่วน
๙. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และ
๑๐. ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด
..... สินค้าที่ไทยนำเข้า ๑๐ อันดับแรกได้แก่
๑. ปลาทูน่าสด แช่เย็น และแช่แข็ง
๒. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
๓. เมล็ดพืชน้ำมัน
๔. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
๕. กุ้งสด แช่เย็นและแช่แข็ง
๖. เส้นใยไช้ในการทอ
๗. เคมีภัณฑ์
๘. ผลิตภัณฑ์พลาสติก
๙. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และ
๑๐. ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม
+ + ความตกลงระหว่างไทย-มาดากัสการ์
๑.วัน ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๘ ได้มีพิธีลงนามความตกลงการบินระหว่างไทย -มาดากัสการ์ โดยผู้แทนคณะทูตถาวร ณ นครนิวยอร์ก และในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๓๙ รัฐสภาของมาดากัสการ์ได้ให้สัตยาบันความตกลงว่าด้วยการเดินอากาศระหว่างไทย กับมาดากัสการ์
๒. บันทึกความเข้าใจทางการค้าไทย-มาดากัสการ์ ลงนามเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๓
๓. เมื่อวันที่ ๒๓ ส.ค. ๒๕๔๙ ได้มีการลงนามย่อร่างข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ ไทย-มาดากัสการ์ และร่างความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ระหว่างการเยือนไทยของ รมว. กต. มาดากัสการ์
+ + ด้านการเมืองและการทูต
..... ไทยและมาดากัสการ์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียมี สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เขตอาณาครอบคลุมมาดากัสการ์ ต่อมา ในปี ๒๕๔๗ ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งส่วนแยก (Outpost) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เพื่อดูแลสาธารณรัฐมาดากัสการ์ และมาดากัสการ์ให้สถานเอกอัครราชทูตมาดากัสการ์ ณ กรุงโตเกียวมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย
+ + ด้านเศรษฐกิจและการค้า
..... สินค้าที่ไทยส่งไปขาย ๑๐ อันดับแรกคือ
๑. ยานพาหนะ อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบ
๒. ผลิตภัณฑ์พลาสติก
๓. เสื้อผ้าสำเร็จรูป
๔. ข้าว
๕. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
๖. หมวกและส่วนประกอบ
๗. หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ
๘. รองเท้าและชิ้นส่วน
๙. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และ
๑๐. ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด
..... สินค้าที่ไทยนำเข้า ๑๐ อันดับแรกได้แก่
๑. ปลาทูน่าสด แช่เย็น และแช่แข็ง
๒. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
๓. เมล็ดพืชน้ำมัน
๔. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
๕. กุ้งสด แช่เย็นและแช่แข็ง
๖. เส้นใยไช้ในการทอ
๗. เคมีภัณฑ์
๘. ผลิตภัณฑ์พลาสติก
๙. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และ
๑๐. ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม
+ + ความตกลงระหว่างไทย-มาดากัสการ์
๑.วัน ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๘ ได้มีพิธีลงนามความตกลงการบินระหว่างไทย -มาดากัสการ์ โดยผู้แทนคณะทูตถาวร ณ นครนิวยอร์ก และในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๓๙ รัฐสภาของมาดากัสการ์ได้ให้สัตยาบันความตกลงว่าด้วยการเดินอากาศระหว่างไทย กับมาดากัสการ์
๒. บันทึกความเข้าใจทางการค้าไทย-มาดากัสการ์ ลงนามเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๓
๓. เมื่อวันที่ ๒๓ ส.ค. ๒๕๔๙ ได้มีการลงนามย่อร่างข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ ไทย-มาดากัสการ์ และร่างความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ระหว่างการเยือนไทยของ รมว. กต. มาดากัสการ์
ธงชาติมาดากัสการ์ ....
+ + มาดากัสการ์ถูกฝรั่งเศสยึดเมื่อปี ๒๔๓๘ และราชวงศ์เดิมที่เคยปกครองที่นี่ก็ถูกล้มล้างในอีกสองปีต่อมา ที่นี่ได้รับเอกราชเมื่อปี ๒๕๐๓
+ + ธงเริ่มนำมาใช้เมื่อที่นี่เริ่มมีการปกครองตัวเองในปี ๒๕๐๑ และภายหลังก็ได้รับเอกราช สีแดงกับสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรมารีนาโบราณ ซึ่งธงทั้งผืนใช้แต่เฉพาะสีแดงและขาว สีเขียวมาเพิ่มขึ้นเพื่อ " โฮวา " ชนชั้นชาวนาดั้งเดิม
+ + มาดากัสการ์ถูกฝรั่งเศสยึดเมื่อปี ๒๔๓๘ และราชวงศ์เดิมที่เคยปกครองที่นี่ก็ถูกล้มล้างในอีกสองปีต่อมา ที่นี่ได้รับเอกราชเมื่อปี ๒๕๐๓
+ + ธงเริ่มนำมาใช้เมื่อที่นี่เริ่มมีการปกครองตัวเองในปี ๒๕๐๑ และภายหลังก็ได้รับเอกราช สีแดงกับสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรมารีนาโบราณ ซึ่งธงทั้งผืนใช้แต่เฉพาะสีแดงและขาว สีเขียวมาเพิ่มขึ้นเพื่อ " โฮวา " ชนชั้นชาวนาดั้งเดิม
ตราแผ่นดิน ...
+ + ตราแผ่นดินของมาดากัสการ์มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตั้งแต่ได้รับเอกราช ดวงตราในช่วงที่เป็นสาธารณรัฐในปัจจุบันเริ่มรู้จักกันเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๖ แสดงให้เห็นแผนที่ของเกาะ มีใบไม้ทราเวลเลอร์พุ่งเป็นรัศมีที่ดวงตราด้านบน ข้างใต้เป็นทุ่งข้าว มีหัวเซบู( Zebu ) วางอยู่ คำขวัญของมาดากัสการ์ " Fatherland, Liberty, Justice " แผ่นดินพ่อ, เสรีภาพ, ยุติธรรม เหนือชื่อประเทศ
+ + ตราแผ่นดินของมาดากัสการ์มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตั้งแต่ได้รับเอกราช ดวงตราในช่วงที่เป็นสาธารณรัฐในปัจจุบันเริ่มรู้จักกันเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๖ แสดงให้เห็นแผนที่ของเกาะ มีใบไม้ทราเวลเลอร์พุ่งเป็นรัศมีที่ดวงตราด้านบน ข้างใต้เป็นทุ่งข้าว มีหัวเซบู( Zebu ) วางอยู่ คำขวัญของมาดากัสการ์ " Fatherland, Liberty, Justice " แผ่นดินพ่อ, เสรีภาพ, ยุติธรรม เหนือชื่อประเทศ
เพลงชาติมาดากัสการ์ Ry Tanindrazanay malala o | ! |
ไปฟังกันครับ เพลงชาติมาดากัสการ์.....
...
แสงสุดท้าย....
ขอขอบคุณ...
...ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ
...อิงวิกิเปเดีย
...ไทยวิกิเปเดีย
...คอสมอส..ธงนานาชาติ
...ไอพียู.คอม
...ฟริค เคอาร์
...และสุดท้ายเพื่อน ๆ สมาชิกที่แวะเวียนเข้ามาให้กำลังใจกันครับ
ภาพสุดท้าย.....ร่ำลาด้วยสีสันแห่งชนมาดากัสการ์...
...ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ
...อิงวิกิเปเดีย
...ไทยวิกิเปเดีย
...คอสมอส..ธงนานาชาติ
...ไอพียู.คอม
...ฟริค เคอาร์
...และสุดท้ายเพื่อน ๆ สมาชิกที่แวะเวียนเข้ามาให้กำลังใจกันครับ
ภาพสุดท้าย.....ร่ำลาด้วยสีสันแห่งชนมาดากัสการ์...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น