ในความเป็นดินแดนหรือรัฐประเทศที่ มีที่ตั้ง....ท่ามกลางทะเลล้อมรอบไม่ว่าที่ไหน ก็มักเป็นที่ต้องตาต้องใจสำหรับนักท่องเที่ยว..... เป็นยุทธศาสตร์ที่เป็นต่อที่เดียวสำหรับชาติประเทศเหล่านี้....เฉกเช่น ประเทศแห่งนี้ ที่มีที่ตั้งในส่วนของทะเลที่ถือว่างดงามอีกแห่งของโลก.....ณ ทะเลคาริเบียน
เกรนาดา......ประเทศชื่อแปลกแห่งนี้ แต่แฝงไว้ซึ่งความงามเหนือแผ่นดินและแผ่นน้ำ...
... เกรนาดาเป็นประเทศเกาะภูเขาไฟเล็ก ๆ ในทะเลคาริบเบียน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตรินิแดดและโตเบโก และเวเนซุเอลา และอยู่ทางทิศใต้ของเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ....พวกชื่อแปลก ๆ เหล่านี้ชื่อประเทศทั้งนั้นแหละครับ อิอิ.....มีพื้นที่ทั้งประเทศแค่ ๓๔๔ ตารางกิโลเมตร ...พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ปกคลุมด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และมีชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ล้อมรอบเกาะ ความยาวประมาณ ๑๒๑ กิโลเมตร....มีสภาพภูมิอากาศ แบบร้อนชื้น (tropical) ตั้งอยู่ในแนวมรสุม โดยฝนจะตกชุกระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ....
... ประชากรทั้งประเทศมีเพียง ๙ หมื่นคนหน่อย ๆ มีเชื้อสายแอฟริกัน ร้อยละ ๘๒ รองลงมาได้แก่ เชื้อสายอินเดีย ชาวยุโรป และชาวพื้นเมืองเผ่า อาราวัคและคาริบ..นับถือศาสนาที่สำคัญคือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (ประมาณร้อยละ ๕๓) นอกจากนั้นเป็นนิกายโปรเตสแตนส์ และนิกายแองลิกัน...ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และมีภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ใช้อย่างแพร่หลายรองลงมา...
... เมืองหลวงของประเทศชื่อ เซนต์จอร์เจส( St. George’s )...
... เกรนาดามีเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น (parishes)ทั้งสิ้น ๖ เขต คือ เขตเซนต์ แอนดรูว์, เซนต์ เดวิด, เซนต์ จอร์จ, เซนต์ จอห์น, เซนต์ มาร์ก และเขตเซนต์แพทริค ....
... แต่ถึงแม้จะเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กมากแต่ก็มีเมืองขึ้นนะครับ ขอบอก..อิอิ..คือ เกาะกาเรียกัวและเกาะเปอตี มาร์ตินิก ...ในหมู่เกาะเกรนาดีนส์...
ระบบการเมือง การปกครอง ...และความหลังครั้งอดีต...
... ในอดีตเกรนาดาเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าคาริบและอาราวัคส์ ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๔๙๘( พ.ศ. ๒๐๓๒ ) โคลัมบัสได้ค้นพบดินแดนแห่งนี้ โดยในระยะแรกถูกเรียกว่า Concepcion จนในประมาณศตวรรษที่ ๑๘ จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น " เกรนาดา " อย่างไรก็ดี แม้ว่าเกรนาดา จะถูกค้นพบโดยโคลัมบัส แต่ก็มิได้เป็นอาณานิคมของสเปนนานนัก โดยใน ค.ศ. ๑๖๕๐( พ.ศ.๒๑๙๓) ตกไปอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๗๖๓( พ.ศ.๒๓๐๖ ) อังกฤษก็ได้เข้าปกครองเกรนาดา ภายหลังจากที่มีชัยชนะต่อฝรั่งเศสในสงคราม ๗ ปี เกรนาดามีฐานะเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนถึง ค.ศ. ๑๙๗๔( พ.ศ. ๒๕๑๗ ) เมื่อได้รับเอกราชในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ของปีนั้น ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลในปี ค.ศ.๑๙๕๓( ๒๔๙๖ ) สหรัฐฯ และประเทศในแคริบเบียนก็ได้ส่งกองทัพเข้าแทรกแซงเพื่อสร้างเสถียรภาพใน เกรนาดา.....
ในภาพ : ผู้สำเร็จราชการ คาร์ลิล กลีน วันเข้ารับตำแหน่ง |
... รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข( สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบ็ธ ที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร )
... รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๔
... ประมุขของประเทศ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ ๒ ทรงใช้พระราชอำนาจ โดยผ่านทางผู้สำเร็จราชการ (Governer-General) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีเกรนาดา ผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบัน คือ ฯพณฯ คาร์ลีล อาร์โนลด์ กลีน ( ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน )
ผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบัน...ฯพณฯ คาร์ลีล อาร์โนลด์ กลีน |
... ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภาประกอบด้วย ๒ สภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิกมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๓ คน โดย ๑๐ คนมาจากการเสนอชื่อของพรรครัฐบาลและ และอีก ๓ คนมาจากการเสนอชื่อของหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๕ คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๕ ปี
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ฯพณฯ ทิลแมน โจเซฟ โธมัส |
... ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลแพ่ง ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา (Eastern Carribean Supreme Court) ในบางกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ อาจส่งให้คณะองคมนตรี (Privy Council) ที่กรุงลอนดอนเป็นผู้พิจารณา
เอาแผนที่ประเทศไปแปะไว้ซักหน่อยละกันครับ....แบบแบ่งเขตปกครอง
ชมเมืองหลวงกันซักหน่อยครับ.....เซนต์ จอร์เจส ...
อีกมุม...แห่งอ่าวเกรนาดา
มุมหนึ่งของเขตปกครองตนเองเกาะกาเรียกัว....
อีกช็อต...ริมหาด...
และอีกส่วน....เปอตี มาร์ตินิก
...................PMภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจ .....
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ ๐.๙
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ๔๕๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- โครงสร้างของ GDP ภาคบริการ ร้อยละ ๔๙.๕ ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ ๔๐.๓ และภาคเกษตรกรรม ร้อยละ ๑๐.๒
- อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ ๓
- อัตราว่างงาน ร้อยละ ๑๒.๕
- หนี้สินต่างประเทศ ๓๔๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๒๕๔๗)
- ผลผลิตการเกษตรที่สำคัญ nutmeg (เครื่องเทศชนิดหนึ่ง) ดอกจันทน์เทศ กล้วย มะพร้าว ผลไม้จำพวกส้ม อ้อย อะโวคาโดและผักต่าง ๆ
- อุตสาหกรรมสำคัญ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ การท่องเที่ยว และการก่อสร้าง
- สินค้าเข้า เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และเชื้อเพลิง
- สินค้าออก Nutmeg (เกรนาดาผลิตได้เป็นอันดับ ๒ ของโลกรองจากอินโดนีเซีย) กล้วย มะพร้าว ดอกจันทน์เทศ ผลไม้ และสิ่งทอ
- ตลาดส่งออกสำคัญ (เรียงตามลำดับ) กลุ่ม CARICOM สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา
- ตลาดนำเข้าสำคัญ (เรียงตามลำดับ) สหรัฐอเมริกา กลุ่ม CARICOM สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น
- นโยบายเศรษฐกิจหลัก ระบบเศรษฐกิจของเกรนาดาพึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออก nutmeg และมะพร้าว รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดเงินตราต่างประเทศ และในปัจจุบัน รัฐบาลเกรนาดาก็มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี โดยเน้นการลงทุนจากภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะในภาคพลังงานไฟฟ้าซึ่งให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมบริหารมากขึ้น
ในภาพ : Nutmeg สินค้าส่งออกที่สำคัญของเกรนาดา ถึงขนาดนำไปปรากฎในผืนธงชาติอีกด้วย...
.......จบตอนที่ ๑ ครับ .........>>>>>ตอนที่ ๒ จบ <<<<<
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น