รีวิว.....คิวบา .....คอมมิวนิสต์ลอยน้ำ ของขวัญจากพี่ชายสู่น้องชายที่รัก.... (ตอนที่ ๒)

ตอนที่ ๒ กันต่อเลยครับ.................

  แผนที่ประเทศคิวบา.... 



                ประวัติศาสตร์โดยสังเขปของสาธาณรัฐคิวบา.....

                  .... ชาวสเปนเดินทางมาถึงเกาะคิวบาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๕ แต่ไม่ได้สนใจเกาะนี้มากนักในระยะแรกเพราะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและมีชาว อินเดียนอยู่น้อย จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในเฮติเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๓๓ คิวบาจึงกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมน้ำตาลของสเปนแทนที่เฮติ

                  .... คิวบาเป็นดินแดนสุดท้ายในทวีปอเมริกาที่เป็นอาณานิคมของสเปน โฮเซ่ มาตี จัดตั้งพรรคปฏิวัติคิวบาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ เพื่อเรียกร้องเอกราชจนถูกฆ่าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ การเรียกร้องเอกราชของคิวบาได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเรือของสหรัฐเกิดระเบิดในอ่าวของกรุงฮาวานาเมื่อ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่งกลายเป็นชนวนให้สหรัฐประกาศสงครามกับสเปน ผลของสงครามทำให้คิวบาได้รับเอกราชและอาณานิคมอื่นของสเปนกลายเป็นของสหรัฐ

               .... หลังจากได้รับเอกราช คิวบาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐมาก ในบางช่วงเช่น พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๖๖ คิวบาถูกสหรัฐยึดครองและเข้ามาบริหารโดยตรง ทั้งนี้เพราะสหรัฐมีผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำตาลของคิวบา อิทธิพลของสหรัฐสิ้นสุดลงเมื่อ ฟิเดล คาสโตร เข้ายึดอำนาจจากประธานาธิบดี ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา และบริหารประเทศด้วยระบอบสังคมนิยมเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ เมื่อถูกสหรัฐตัดความสัมพันธ์และปิดกั้นทางการค้า และสหรัฐสนับสนุนชาวคิวบาโพ้นทะเลให้ก่อกบฏล้มรัฐบาลของคาสโตรจนเกิดวิกฤต การณ์เบย์ออฟฟิกส์เมื่อ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๔ แต่ไม่สำเร็จ รัฐบาลของคาสโตรจึงหันไปสร้างความสัมพันธ์กับโซเวียตและจีนแทน ปัจจุบันคิวบาเป็น ๑ ใน ๕ ประเทศคอมมิวนิสต์ในโลก (อีก ๔ ประเทศคือ จีน เวียดนาม ลาว และเกาหลีเหนือ) และเป็นประเทศเดียวในทวีปอเมริกาที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ .....

              - ความเป็นคอมมิวนิสต์ของคิวบายังมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมกับชายร่างเล็กคนนี้ ราอูล คาสโตร...
ชมเมืองฮาวาน่ากันซักหน่อยนะครับ....
ในความหลากหลาย การหยุดนิ่งแลความคลาสสิค....แห่งฮาวานา

อาคารเอล คาปิโตลิโอ หรืออาคาร National Capitol .....
         สถาปัตยกรรมและความสวยงามด้านในก็ใช่ย่อย......

                  รูปปั้นในตัวอาคารที่ได้ชื่อว่าใหญ่เป็นอันดับสามของโลกที่เดียว....ลา เอสตาตัว เดอ ลา รีปูบลีกา ....
พิพิธภัณฑ์แห่งการปฏิวัติ....
             บัลเลย์....ก็มี
 สนามบินนานาชาติโฮเซ มาติ ในกรุงฮาวานา
มหาวิทยาลัยฮาวาน่า.......
 แม่กะลูก........ในกรุงฮาวานา
 ............ฮาวานา
 สิ่งที่พวกเรานึกออกเมื่อพูดถึงคิวบา....นั่นคือซิการ์ ...สาวน้อยสองท่านนี้กะลังสูบซิการ์กันเปรมเชียว
                   ส่วนใครอยากได้รถฟอร์ดหรือสะสมรถเก่า ๆ ซักปี ๕๗ หรือเก่ากว่านั้นประเทศนี้มีเกลื่อนเลย เพราะบนท้องถนนในคิวบากว่า ๕๐ ปีแล้วที่ยังไม่มีการนำเข้ารถใหม่ ๆ มาวิ่ง....

                  ในภาพเป็นรถฟอร์ด ปี ๕๗ ถ้าคนสะสมคงยิ้มไม่หุบถ้าไว้ในครอบครองแต่คนคิวบาคงละเหี่ยใจ อยากได้รถใหม่ ๆ บ้างง่ะ
  บริเวณที่เรียกว่าปาเซโอ เดล ปราโด ในใจกลางกรุงฮาวานา
 ข้ามฝั่งไปเที่ยวที่เกาะฮูเวนตุด.....
 ....ไปเที่ยวกวนตานาโม....ตรงไป
 ยามเย็นที่กวนตานาโม....
         สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ......

                  คิวบามีทรัพยากร ธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ เหล็ก ทองแดง นิเกิล แมงกานีส เกลือ ไม้ มีอุตสาหกรรม น้ำตาล อาหารแปรรูป เหล็ก ปูน เคมีภัณฑ์ ด้านการเกษตรกรรมได้แก่ อ้อย ยาสูบ ผลไม้ประเภทส้ม (Citrus) กาแฟ ผัก ถั่ว เนื้อ

                  - สินค้านำเข้า อาหาร เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร

                  - สินค้าส่งออก น้ำตาล นิเกิล ยาสูบ อาหารทะเล เหล้ารัม

                  - ประเทส่งศคู่ค้าที่สำคัญ เนเธอร์แลนด์ เวเนซูเอลา แคนาดา จีน สเปน สหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

                  - นโยบายเศรษฐกิจหลัก สังคมนิยม แต่เริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในบางภาคธุรกิจ อาทิ การท่องเที่ยว โรงแรม เพื่อดึงดูดเงินตราต่างประเทศ คิวบาได้เปิดประเทศและปรับโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

                  - ชาวคิวบาประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ๒๐ % ภาคอุตสาหกรรม ๑๙.๔ % ภาคบริการ ๖๐.๖ %

                  - หน่วยเงินตรา คิวบาเปโซ (๒๔ คิวบาเปโซ = 1 ดอลลาร์สหรัฐ) หมายเหตุดป็นอัตราภายใน (ปี ๒๕๔๙)

                  ................................................................................................

                  คิวบาให้เกียรติเช เกบารา ปรากฎบนธนบัตรฉบับละ ๓ คิวบา เปโซ
 สายการบินแห่งชาติคูบานา เดอ อาเวียซิออง .....
 ไปชมสิ่งสวย ๆ งาม ๆ ทางธรรมชาติกันบ้างนะครับ....

               ....ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐคิวบา ...

                  - การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต

                  .... ไทยและคิวบาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๑ โดยในปัจจุบันรัฐบาลไทยแต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโกเป็นเอกอัครราชทูตประจำคิวบา อีกตำแหน่งหนึ่ง และในปี ๒๕๔๖ ได้เปิดสถานกงสุลกิตติศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐคิวบาขึ้น ส่วนรัฐบาลคิวบาได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตคิวบาประจำประเทศไทย โดยเริ่มเปิดทำการตั้งแต่วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗

                  .... เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก ซิตี้ ดำรงตำแหน่งเอคอัครราชฑูตราชอาณาจักรไทยประจำคิวบา ฯพณฯ ร้อยโทระวี หงส์ประภาส

                  .... เอกอัครราชทูตคิวบาประจำประเทศไทย นาง มาเรีย หลุยซ่า เฟอร์นัลเดซ เอควิลาซ

                  - ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

                  .... ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังมีโอกาสขยายความร่วมมือในด้านนี้ให้มากขึ้นได้ ความสัมพันธ์ที่เพิ่มพูนระหว่างกันนั้น อาจมองได้ว่าเป็นความพยายามของคิวบาที่จะกระชับความสัมพันธ์กับไทยให้มาก ขึ้น เนื่องจากหวังการสนับสนุนจากไทยในคณะกรรมาธิการสิทธิ-มนุษยชน รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการจากประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาการท่องเที่ยวและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากไทย

                  .... สำหรับประเทศไทย ไทยสามารถใช้คิวบาเป็นฐานขยายการลงทุนโดยกลุ่มธุรกิจรายใหญ่และเป็นตลาดใหม่ รายย่อยสำหรับสินค้าไทย อาทิ ข้าว ยางพารา อุปกรณ์ไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ การร่วมมือทางการแพทย์และเภสัชกรรมเป็นอีกหนทางหนึ่งที่น่าจะได้รับการส่ง เสริม รวมทั้งความร่วมมือด้านผู้ฝึกสอนกีฬาประเภทต่างๆจากคิวบา ....

                  - ความตกลงระหว่างไทย – คิวบา

                  ความตกลงที่ได้ลงนามกันแล้ว

                      ๑. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและคิวบา ลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๓
                      ๒. ความตกลงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับคิวบา ลงนามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
                      ๓. ความตกลงระหว่างสภาหอการค้าไทยและคิวบา ลงนามเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๗
                      ๔. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๙

                  ความตกลงที่อยู่ในการพิจารณา

                      ๑. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างไทยกับคิวบา
                      ๒. บันทึกความเข้าใจด้านการประมงระหว่างไทยกับคิวบา
                      ๓. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทย-คิวบา

                  การค้าไทย-คิวบา

                  - สินค้าที่ไทยส่งออก ๑) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ๒) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ๓) ผลิตภัณฑ์ยาง ๔) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ๕) เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น ๖) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ๗) เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ๘) หม้อแบตเตอรีและส่วนประกอบ ๙) ก็อก วาล์ว และส่วนประกอบ ๑๐) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป

                  - สินค้าที่ไทยนำเข้าจากคิวบา ๑) ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ๒) ผักผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ ๔) เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา

                  ................................................................................................

                  ในภาพ : ป๋าเมียดกะท่านคาสโตรผู้น้องเมื่อไปเยือนมอสโคว์ อากาศคงหนาวมากดูแลกันอย่างดีเชียว อิอิ...


จบตอนที่ ๒ ครับ เหลืออีก ๑ ตอนครับ ต่อไปจะเป็นเรื่องเกี่ยวกกับสัญลักษณ์และนกสวยงาม เชิญต่อได้เลยครับ>>>>>>>>รีวิว...คิวบา ตอนที่ ๓ (จบ) <<<<<<<<<

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ads Inside Post